สื่อทางกิจกรรมบำบัดเพิ่มทักษะการรู้คิด การคิดบวก อารมณ์ดี และการสื่อสารสังคมในผู้รับบริการโรคภาวะโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง(PTSD)


PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นภาวะทางจิตที่เกิดจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียด น่ากลัว หรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองโดยตรงหรือตนเป็นเพียงผู้เห็นเหตุการณ์ก็ตาม โดยโรคนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเห็นภาพในอดีตซ้ำ ๆ ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น หรือรู้สึกวิตกกังวลโดยไม่สามารถควบคุมได้จนอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

ซึ่งอาการสำคัญที่สังเกตได้ของโรคนี้  มีดังนี้

  •  เปลี่ยน      : แปลงทางร่างกายเช่น ช็อคทางจิตใจ ขาดการตอบสนองและมีอารมณ์แปรปรวน
  •  นึก              : ถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (Flash back)
  •  ตื่น              : ตัวและตกใจ เห็นเหตุการณ์นั้นๆ กำลังจะเกิดขึ้นกับเรา
  •  กลัว            : และหลีกเลี่ยงการเจอเหตุการณ์ซ้ำเดิมอีก

ซึ่ง ภาวะ PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder มีหลักการในการรักษาคือการทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและปรับทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ซึ่งผู้บำบัดมีหน้าที่ในการสังเกตพฤติกรรม, ทักษะพัฒนาการ, การสื่อสารและการแสดงออกในเรื่องเหตุการณ์นั้นๆของผู้ป่วย โดยหลักการที่สมาชิกในกลุ่มเลือกมาคือ Sensory strategies

การบำบัดด้วย Sensory strategies เป็นการบำบัดทางจิตซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้มีการรับรู้ความรู้สึก แยกแยะ จัดระเบียบข้อมูลความรู้สึกและให้ความหมายกับสิ่งเร้าความรู้สึก ส่งผลให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ แสดงออกเป็นพฤติกรรมตลอดจนเกิดการปรับตัวที่เหมาะสมกับสถานการณ์

  โดยเริ่มแรกสื่อทางกิจกรรมบำบัดที่สามารถส่งเสริมทักษะการรู้คิด ความคิดบวก อารมณ์ดีและการสื่อสารทางสังคม สำหรับผู้ที่มีภาวะเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงที่ทางสมาชิกเลือกมา คือ การสำรวจและพูดคุยกันในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Trauma-focused therapy) โดยให้ผู้รับบริการอยู่ในสิ่งเเวดล้อมที่เหมาะสมตามที่นักกิจกรรมบำบัดจัดไว้ พูดคุยในอิริยาบทที่สบาย เช่น นั่งคุยบนเก้าอี้ซึ่งสามารถวางเท้าลงบนพื้นได้เต็มฝ่าเท้า เพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะทำกิจกรรม จัดเก้าอี้ให้เอียงหากัน45องศา เพื่อคงความสนใจใส่ใจ เเต่ไม่รู้สึกเหมือนทำการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ การเริ่มพูดคุยของนักกิจกรรมบำบัดจะเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ เเละเริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ผู้รับบริการได้เล่าอย่างอิสระ ไม่คาดคั้น นักกิจกรรมบำบัดต้องตั้งใจฟัง ฟังอย่างเข้าใจเเละไม่ตัดสิน อาจสรุปสั้นๆได้ในบางครั้งหรืออาจถามซ้ำได้เพื่อยืนยันความชัดเจน ควรจัดกิจกรรมเเละควบคุมความเหมาะสมทางด้านเวลา ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการให้ผู้รับบริการได้เล่าเรื่องราวหรือประสบการณ์เลวร้ายที่ผ่านมา, มีความรู้สึกไว้วางใจในตัวนักกิจกรรมบำบัดและทำให้เราได้สังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการระหว่างการพูดคุย หลังจากจบกิจกรรมการพูดคุยแล้ว ก็ใช้การบำบัดด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้ตื่นกลัว (Exposure therapy)

อันดับแรกจะปรับความคิดโดยการเปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ผิดที่เกี่ยวกับอาการและกรอบความคิด ต่อมาจะให้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยกลัวโดยเริ่มจากเบาๆก่อน เมื่อผู้ป่วยรับไหว ก็จะค่อย ๆ เพิ่มระดับความรุนแรงของเหตุการณ์เข้าไป จนถึงในระดับที่ผู้ป่วยรับไหวได้มากที่สุด หลังจากนั้นจะให้ฝึกควบคุมความคิด  ความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมอาการต่างๆที่เกิดขึ้นและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สุดท้ายหลังจากที่ทำกิจกรรมที่ใช้ความคิดเยอะแล้วก็จะมาทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการผ่อนคลาย (Relaxation) โดยในที่นี้ทางสมาชิกกลุ่มเลือกกิจกรรมด้วยศิลปะ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะเตรียมสื่อกิจกรรมหลายๆแบบเช่น การวาดภาพระบายสีด้วยสีน้ำ, การปั้นดินเหนียว, กระบะทราย เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสเลือกในสิ่งที่ตนสนใจ จะทำให้เกิดความร่วมมือและสัมพันธ์ที่ดี เมื่อเริ่มต้นทำงานศิลปะชนิดต่างๆ นักกิจกรรมบำบัดควรเปิดโอกาสให้มีการเเสดงออกทางความคิดหรือความรู้สึกผ่านการทำงานศิลปะอย่างเต็มที่ ไม่ควรเเทรกเเทรงอาจมีการพูดกระตุ้นได้หากงานศิลปะมีความล่าช้าเเต่ไม่ควรเกินสองครั้ง หากกระตุ้นสองครั้งเเล้วให้ปล่อยผู้รับบริการได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ในขณะที่ทำกิจกรรมงานศิลปะต้องสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้รับบริการตลอดเวลาเเละใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้รับบริการ เมื่องานศิลปะใกล้เสร็จ อาจมีการสอบถามถึงผลงาน หรือให้เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับผลงาน ฟังอย่างตั้งใจ สุดท้ายนี้การใช้หลักการ Sensory Strategies นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถรับรู้ความรู้สึก แยกแยะ และจัดระเบียบข้อมูลความรู้สึกตลอดจนแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้เกิดการปรับตัวที่เหมาะสมกับสถานการณ์

สุดท้ายขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ที่ได้ให้ความรู้และข้อมูลด้านจิตเวชรวมถึงได้ให้นักศึกษามีการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้เข้าใจถึงบทเรียนมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตของพวกเรา นักกิจกรรมบำบัด ขอขอบพระคุณค่ะ

เอกสารอ้างอิง

POBPAD [อินเทอร์เน็ต].  Sanfrancisco :  ไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ;  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pobpad.com/ ptsd-หลังเด็กประสบเหตุการณ

กองบรรณาธิการHD. การรักษาโรค PTSD ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะช่วยบรรเทาอาการของโรคและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www.honestdocs.co/ptsd-treatment-2

ผศ.นพ.พนม   เกตุมาน. คู่มือแพทย์ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย Post-Traumatic Stress Disorder [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://www.psyclin.co.th/new_page_62.htm

สมาชิกกลุ่ม

1. นางสาวนัทธ์สิริกาญจน์  กลั่นกรอง  6123002

2. นางสาวอรจิรา  เชื้อนานนท์           6123012

3. นางสาวพชรดนัย  สงเจริญ            6123027 

หมายเลขบันทึก: 676283เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2020 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2020 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท