Innovation Management เพื่อ Global Health



วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ผมไปประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทางของกลุ่มภารกิจ สุขภาพโลกมหิดลที่สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ศาลายา    ในฐานะที่ปรึกษา       

ผมตีความว่า ภารกิจนี้คือการสร้างนวัตกรรม (innovation) ให้แก่ระบบสุขภาพโลก (Global Health)    โดยที่ระบบสุขภาพไทยได้รับยกย่องมากในด้านการคุ้มครองสุขภาพอย่างทั่วถึงประชากรทุกคน     เราจึงทำงานวิชาการเพื่อตีความ และ theorize กิจกรรมริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งหลายในระบบสุขภาพไทย ออกสู่โลก    แบ่งปันแก่โลก    ซึ่งในการนี้ เราจะเรียนรู้จากโลกได้อีกมาก นำมายกระดับระบบสุขภาพของเราเอง    

Assets ของระบบสุขภาพไทยคือ UHC (Universal Health Coverage – คุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า)     เป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก    และความลับที่คนมองไม่ค่อยเห็นคือ ภายในระบบสุขภาพไทย มีการริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ จากผู้ปฏิบัติเอง (โดยไม่มีใครสั่ง    หรือจริงๆ แล้ว มาจาก “คำสั่งภายใน” หรือจิตสำนึกของคนในระบบสุขภาพเอง) มากมาย     หากมีการวิจัย connect the dots จะเกิดพลังยิ่งใหญ่    ทั้งพลังพัฒนาระบบ และพลังยกระดับความเข้าใจ หรือพลังปัญญา     เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย และต่อโลก  

ฐานสำคัญเบื้องหลังความสำเร็จของ UHC ไทย คือ PHC – Primary Health Care (การสาธารณสุขมูลฐาน)     ที่มีโครงสร้างกระจายทั่วทุกอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน    ทั้งโครงสร้าง hardware (คือโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล - รพสต.)  และ peoplewear (คือบุคลากรสุขภาพหลายวิชาชีพ  และ อสม. - อาสาสมัครสาธารณสุข)    โดยจุดแข็งที่เป็นความลับคือ communitywear คือการที่ชุมชนเข้ามาเป็นเจ้าของกิจกรรมเพื่อสุขภาวะของคนในชุมชน    หรือ “ชุมชนเข้มแข็ง” นั่นเอง    

PHC จะไม่มีวันเข้มแข็งและยั่งยืน  หาก peoplewear ไม่เข้มแข็ง    การทำงานวิชาการเพื่อหนุน PHC และ peoplewear จึงมีความสำคัญยิ่ง    

Innovation ในระดับ PHC รวมทั้ง peoplewear ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นจุดๆ อย่างไม่เป็นทางการ มากมาย     จากการริเริ่มของคนในระบบ และนอกระบบ (สาธารณสุข)     หากมีการทำงานวิชาการเพื่อ “connect the dots”   หาทางพัฒนาวิธีจัดการ (organize) อย่างเป็นระบบ    ก็จะยกระดับนวัตกรรมเล็กๆ สู่นวัตกรรมเชิงระบบได้   

เรื่องราว หรือกระบวนการ สู่พัฒนาการเชิงระบบ ที่มีจุดริเริ่มจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในสนาม     จะเป็นข้อเรียนรู้อย่างดีแก่วงการสุขภาพโลก ที่ต้องการพัฒนาระบบสุขภาพของตนให้เป็นระบบเรียนรู้ (Learning Systems) 

นี่คือการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนา “ระบบเรียนรู้”    มองจากมุม KM  นี่คือกระบวนการ KM ในรูปแบบหนึ่ง    ที่จะทำได้ดี MUGH ต้องเข้าไป engage กับ “นวัตกร” ในระบบสุขภาพ

วิจารณ์ พานิช

๑๒ ก.พ. ๖๓

บนรถ เดินทางไปประชุมที่หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อาคาร สกอ.   


       

หมายเลขบันทึก: 676277เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2020 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2020 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท