เหตุการณ์กราดยิงที่โคราช Root cause คือวัฒนธรรมอำนาจ ที่บิดเบี้ยว


เหตุการณ์กราดยิงที่โคราช   Root cause คือวัฒนธรรมอำนาจ ที่บิดเบี้ยว

เศร้าสลดกันไปทั้งประเทศจากเหตุการณ์กราดยิงที่โคราช    ตามมาด้วยคำถาม เรื่องร้ายขนาดนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?”   

บทความถอดปมเดือด จ่าคลั่ง ปัญหาสะสมยาวนานผลประโยชน์ทับซ้อนในกองทัพ ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ ๑๔ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ไว้ดีมาก    พร้อมกับภาพปก น้ำตาเสธฯแดง ที่ผมเชื่อว่ามาจากความสะเทือนใจแท้จริง   ไม่ใช่น้ำตาการเมือง   

ด้วยความเคารพและเห็นคุณค่าสถาบันทหาร    และเชื่อสนิทใจว่านายทหารส่วนใหญ่เป็นคนดี     ที่ผมมีประสบการณ์ตรงตอนไปเรียน วปอ. รุ่น ๓๕๕เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒๕๓๖    แต่ก็ตกใจที่วงการนี้มีการวิ่งเต้นสูงมาก   

ด้วยความเชื่อว่าพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ มีเจตนาจริงจังต่อการจัดระบบใหม่ในกองทัพ   ไม่ให้พลังความชั่วร้ายภายในตัวมนุษย์เข้ามาบ่อนทำลายสถาบันทหารได้อีกต่อไป    และเชื่อว่าฝ่ายต่างๆ ภายในกองทัพและภายในบ้านเมืองคงจะร่วมกันสนับสนุนการจัดระบบใหม่นี้ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง    

สถาบันทหารมีเป้าประสงค์(agenda)หลักเพื่อปกป้องความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมือง    เมื่อไรก็ตามที่มี agenda   สิ่งที่เรียกว่า hidden agenda (เป้าหมายแฝง) ก็ตามมา    agenda มีหลายระดับ   และ hidden agenda ก็มีหลายระดับด้วย   ตั้งแต่ระดับสถาบันทหาร  ไปจนถึงระดับทหารรายบุคคล    นี่คือธรรมชาติของมนุษย์และสังคม   

และเจ้า hidden agenda นี้มันซ่อนตัวอยู่อย่างโจ่งแจ้งก็มี  อย่างลับๆ ล่อๆ หรืออย่าง มัวๆ มั่วๆ ก็มี    รวมทั้งมีที่ซ่อนอยู่อย่างมิดชิด    โดยที่เจ้าของ hidden agenda ก็ไม่รู้ตัว   นี่คือสิ่งที่เรียกว่า รากเหง้า (root cause) ของปัญหา

ผมขอเสนอว่าhiddenagenda ระดับรากเหง้า ที่เป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์กราดยิงที่โคราชคือ วัฒนธรรมอำนาจ ที่บิดเบือน    ไม่ใช่วัฒนธรรมอำนาจเพื่อการสงคราม หรือการทำหน้าที่หลักของทหาร    รวมทั้งเป็นวัฒนธรรมอำนาจที่ล้าหลัง    ไม่เหมาะสมต่อยุคสมัย   

เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมอำนาจเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หลักของทหารผมของเสนอให้พิจารณาเรื่อง วินัยทหาร ที่ทั้งทหารระดับล่างและระดับบังคับบัญชาต่างก็ต้องยึดถือร่วมกัน    รวมทั้งพิจารณาเรื่อง คุณธรรมจริยธรรมของผู้บังคับบัญชา    ที่การออกคำสั่งต้องมีการทบทวน (review)ในภายหลัง   เพื่อประโยชน์ด้านการเรียนรู้   และเพื่อการตรวจสอบ   ผมขอให้ข้อสังเกตว่าเครื่องมือ AAR – After Action Review อันทรงพลังในกระบวนการจัดการความรู้ (KM – Knowledge Management) เกิดขึ้นจากการรบภาคสนามของกองทัพอเมริกันในสงครามเวียดนาม)  

Absolute power corrupts absolutely (Lord Acton)

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.พ. ๖๓

หมายเลขบันทึก: 675586เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท