การให้เหตุผลทางคลินิก เมธาพร บุหงาเรือง


กรณีศึกษา: คุณจันทร์(นามสมมุติ)   

Occupational Profile

ชื่อ : จันทร์(นามสมมุติ) เพศ : หญิง อายุ : 90  

ศาสนา : พุทธ สถานะ:โสด มือข้างถนัด : ขวา

ลักษณะภายนอก(GA): รูปร่างผอม ผมหงอกสั้น ผิวขาวเหี่ยวย่น แสดงสีหน้าเหมาะสม ให้ความร่วมมือดี

โรคประจำตัว(Dx) : โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ประวัติการศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 3 

ประวัติครอบครัว : ลูกคนสุดท้อง ไม่ได้แต่งงาน  ไม่ได้ทำงานเพราะมีหน้าที่ดูแลพ่อแม่เป็นหลัก ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลี่ยน หลานมาเยี่ยมทุกวันหยุด พาไปโรงพยาบาลทุกเดือนตามวันที่หมอนัด และเที่ยวช่วงเทศกาล

Interest : ผู้รับบริการมีความสนใจและชอบทำกิจกรรมทางศาสนาพุทธ (สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน บริจาคเงินในวันพระ)

Value : ผู้รับบริการมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ นำหลักคำสอนทางพุทธสาสนามาปรับใช้ในชีวิต

need: ผู้รับบริการต้องการใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายได้อย่างมีความสุข

Strengths and concerns in relation to performing occupations and daily life activities: 

  • ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดีในชีวิต ต้องการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด รู้จักขอความช่วยเหลือ รู้ระดับความสามารถตนเอง ข้อควรทำไม่ควรทำสำหรับผู้สูงอายุเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ศาสนา ทำให้มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เข้าใจในความเป็นไปของชีวิต 
  • ผู้รับบริการมีกำลังกล้ามเนื้อแขนและขาระดับ 4 มีปัญหาการมองเห็น และการทรงตัว ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการล้มขณะเคลื่อนย้ายตัว หากล้มเกิดแผลอาจส่งผลให้แผลหายช้า เนื่องจากโรคเบาหวาน

Areas of potential occupational disruption, supports and barriers:

  • ผู้รับบริการมีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจสัญญาณชีพ เช่น วัดความดันทุกวันวันละครั้ง และมีพยาบาลประจำบ้านพัก
  • ผู้รับบริการมีแม่บ้านประจำบ้านพักผู้สูงอายุช่วยดูแลเรื่องการทำบุญในวันสำคัญที่บ้านพัก
  • บ้านพักผู้สูงอายุเป็นสถาบันคริสเตียน มีกิจกรรมทางพุทธศาสนาเพียงวันสำคัญ ซึ่งผู้รับบริการมีความสนใจในการทำกิจกรรมทางศาสนามากกว่าที่บ้านพักมี เช่น ต้องการจัดชุดบิณฑบาตด้วยตนเอง และบิณฑบาตทุกเช้า(spiritual)
  • บ้านพักผู้สูงอายุ มีสิ่งแวดล้อมที่อำนวยให้เคลื่อนไหวได้ปลอดภัย เช่น ราวจับตามทางเดิน ห้องน้ำ และมีทางลาดสำหรับWheel chair ผู้รับบริการวางของที่จำเป็นในการอาบน้ำไว้ระดับพื้นส่งผลให้ต้องก้มหยิบ ซึ่งมีความเสี่ยงทำให้ล้ม (mobility)

Priority and identified ลำดับความสำคัญในการวางแผนการรักษาจากความต้องการของผู้รับบริการ ความสามารถของผู้รับบริการที่นักศึกษาประเมิน :

  • ความต้องการทำกิจกรรมทางศาสนา(spiritual activity)
  • ความสามารถในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว(Mobility)

Diagnostic Reasoning

DX: Diabetes Mallitus Hypertension ภาวะผู้สูงอายุ มีอาการมือชา หูตึง สายตาพร่ามัว มีปัญหาการทรงตัว มีความเสี่ยงล้ม ใน 1 ปีล้มไปแล้ว 3 ครั้ง ส่งผลให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ใช้สายตา และการทรงตัวขณะยืน เดิน 

วินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด: Occupational imbalance เนื่องจากสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง ต้องระวังในเรื่องการทรงตัว ไม่มีกิจกรรมยามว่างเพื่อผ่อนคลาย

Interactive Reasoning 

นักศึกษานั่งพูดคุยกับผู้รับบริการในระดับเดียวกัน สบตา ชวนพูดคุยโดยใช้คำกระชับ เข้าใจง่าย เสียงโทนต่ำดังชัดเจน เนื่องจากผู้รับบริการมีอาการหูตึง 

เริ่มจากพูดคุยในเรื่องทั่วไปขณะทำกิจกรรมกลุ่มทำก๋วยเตี๋ยวลุยสวน และฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ตัดสิน เช่น

OTs: “อาหารที่ชอบรับประทานที่สุดคะ”

Pt: “ชอบก๋วยเตี๋ยว แต่ต้องไม่เผ็ดนะคะ หมอไม่ให้กินอาหารรสหวาน มัน เค็ม”

ถามคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น

OTs: “ช่วงนี้อากาศหนาว สุขภาพเป็นอย่างไรบ้างคะ”

Pt: “แข็งแรงดี ทำอะไรได้เอง มีมือชาเท้าชา แล้วก็ล้มบ่อย ปีนี้ล้มมา 3 ครั้งแล้ว” 

OTs: “เพราะอะไรคุณยายถึงล้มบ่อย ล้มแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ”

Pt: “มือกับเท้ามันชา ล้มตอนเข้าห้องน้ำ จะก้มหยิบของ แต่ไม่มีแผลหรอก”

และถามถึงความเป็นอยู่ในบ้านผู้สูงอายุ ความต้องการของผู้รับบริการ

OTs: “อะไรคือความต้องการในชีวิตตอนนี้คะ”

Pt:“ไม่มี ตอนนี้ก็ใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ รอวันนั้นมาถึงค่ะ หนูต้องแต่งงานนะ จะได้ไม่เป็นแบบยาย”

OTs: “ที่บอกว่าใช้ชีวิตเรื่อยๆ ช่วยเล่าถึงความเป็นอยู่ที่บ้านพักให้ฟังเพิ่มได้ไหมคะ”

Pt: “ก็ใช้ไปเรื่อย รอไปวันๆ ตอนนี้แก่แล้ว ดีที่ทำอะไรเองได้ ลูกก็ไม่มีไม่ได้แต่งงาน พ่อหวงใครมาขอก็ไม่ให้ ต้องมาอยู่ที่นี่ ถ้ามีลูกก็ไม่ต้องเสียเงินทุกเดือน หนูรู้ไหมตั้ง 14,000 แต่งงาน มีลูกเถอะ ไม่ต้องเป็นภาระหลาน ให้ลูกดูแล ได้มีครอบครัวไปเที่ยว  ไปเล่น ทำอาหาร จัดชุดบิณฑบาต ทำบุญด้วยกัน”(Narrative Reasoning)

ขณะสนทนาผู้รับบริการขอให้ช่วยตัดเล็บมือให้ ผู้รับบริการกล่าวขอบคุณ และกอดลา

“ขอบคุณที่มาหา และทำกิจกรรมด้วยกัน หนูเป็นเด็กดี ขอให้สิ่งดี ๆ กลับมาหาหนู”

Procedural Reasoning :

สร้างสัมพันธภาพผ่านการพูดคุย หลังจากนั้นทำการประเมินความสามารถสูงสุดในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ โดยดูองค์ประกอบผู้รับริการทั้งตัวผู้รับบริการ(Person) สิ่งแวดล้อม(Environment) และกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เขาทำ(Occupation)

Person : 

  • ด้านร่างกาย ผู้รับบริการมีภาวะผู้สูงอายุ สายตาพร่ามัว ปัญหาการทรงตัว และมีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากผู้รับบริการมีประวัติการหกล้มจึงประเมินภายใต้กรอบอ้างอิงกลศาสตร์ (Biomechanical FoR)  เกี่ยวกับองค์ประกอบในการเดิน 
  1. การประเมินการเคลื่อนไหว โดยเป็นการประเมินผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตFunctional ADL assessment ดูถึงทักษะการหยิบจับ การเคลื่อนไหว กำลังกล้ามเนื้อในส่วนของมือ , แขน ผลการประเมินพบว่า มีแรงมือในการหยิบจับสิ่งของและคงไว้เพื่อทำกิจกรรม สามารถจับช้อนตักรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง บีบยาสีฟัน จับแปรงสีฟัน แปรงฟันได้เอง  และมีแรงจับราวจับเพื่อดึงตัวขึ้น
  2. การประเมินการเคลื่อนไหว โดยเป็นการประเมินผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ดูถึงทักษะการเดิน การทรงท่า กำลังกล้ามเนื้อขาในการเคลื่อนไหว ผลการประเมินพบว่า Good dynamic standing balance muscle strength in lower limbs grade 4 สามารถเดินได้แต่ยังไม่มั่นคง
  • ด้านจิตใจ ผ่านการสัมภาษณ์โดยใช้ Therapeutic use of self and relationship เพื่อดูสภาวะจิตใจและจิตวิญญาณ ผู้รับบริการไม่มีอาการกลัวล้ม(Fear falling) และใช้ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ(spiritual) ต้องการทำกิจกรรมทางศาสนา คือ การจัดชุดสังฆทานบิณฑบาตในทุกเช้าแต่ไม่มีโอกาสได้ทำอย่างเต็มที่ เนื่องจากอยู่ในบ้านพักผู้สูงอายุที่เป็นคริสตศาสนิกชน และมีความต้องการใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายของชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่า

Environment : 

  • ทางกายภาพ : บ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลี่ยน ห้อง 2 เตียง มีห้องน้ำในตัว ในห้องน้ำมีราวจับ สุขภัณฑ์มีลักษณะเป็นชักโครก วางเครื่องใช้ในห้องน้ำไว้บนพื้น ทำให้ต้องก้มหยิบทุกครั้งก่อนเข้า มีความเสี่ยงล้ม
  • ทางสังคม : 
  1. ในบ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลี่ยน มีผู้ดูแลจัดเตรียมอาหาร และทำความสะอาดห้องน้ำ มีกิจกรรมให้เข้าร่วมทั้งการออกกำลังกาย กิจกรรมทางศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นศาสนาคริสต์ มีกิจกรรมทางพุทธศาสนาเฉพาะวันสำคัญ เช่น การตักบาตรวันพระใหญ่ ผู้รับบริการไม่ค่อยได้เข้าร่วม มักให้เงินแม่บ้านบริจาคแทน เนื่องจากข้อจำกัดทางสถานที่ทำให้ไม่สามารถทำอาหารหรือซื้อของใส่ได้ด้วยตนเองเหมือนเคย
  2. ครอบครัว โสดไม่มีลูก หลานจะมาเยี่ยมทุกวันหยุด พาไปโรงพยาบาลทุกเดือน และไปเที่ยวทำบุญกันทุกปีใหม่

Occupation : โดยเป็นการประเมินผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตFunctional ADL assessment มีความสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง(independent) ทั้งการอาบน้ำ(bathing) เข้าห้องน้ำ(toileting) สวม-ถอดเสื้อปละผ้าถุง(Dressing) รับประทานอาหารด้วยช้อน(Eating) การดูแลของส่วนตัว(personal device care) เช่น ฟันปลอม การดูแลความสะอาดตนเองเช่น ล้างหน้า แปรงฟัน(grooming) แต่ไม่สามารถทำการดูแลที่ต้องใช้สายตา เช่น ตัดเล็บ ได้เองต้องมีคนทำให้และช่วยตรวจความเรียบร้อย ความสะอาด(maximal assistance) และสามารถเดิน(Mobility)ไปในที่ต่างๆภายในบ้านพักได้เองโดยจับราวจับ หรือเดินเข็นรถเข็น แต่ไม่มั่นคง(supervision)

Conditional Reasoning 

จากการสัมภาษณ์ และประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนินชีวิต(conditioning) พบว่า 

  1. ผู้รับบริการสามารถเดินได้เองแต่มีความเสี่ยงในการล้ม เนื่องจากความมั่นคงขณะเดินและการมองเห็นที่ไม่ชัด(Mobility)
  2. ผู้รับบริการมีความต้องการทำกิจกรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้นจากเดิมคือ สวดมนต์ก่อนนอน และบริจาคเงิน เป็นการจัดของบิณฑบาตในวันสำคัญทางศาสนาที่บ้านพักจัด และมีเพื่อนพูดคุยแลกเปลี่ยนทางศาสนา
กิจกรรมาทางศาสนา
Mobility(มีความเสี่ยงล้ม)
Conceptual FoR

โดยใช้กรอบอ้างอิง Psychospiritual integration FoR ในการมองและส่งเสริมเรื่องการเตรียมความพร้อมในระยะสุดท้ายของชีวิตเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกมีความสุขและมีคุณค่าในตนเองอย่างที่ผู้รับบริการต้องการ


Becoming : ผู้รับบริการทราบความเป็นไป ลักษณะอาการของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รู้ความต้องการของตนเอง

Meaning : ผู้รับบริการไม่มีโอกาสทำกิจกรรมทางศาสนา คือ การบิณฑบาต ซึ่งมีความหมายและตรงกับความสนใจของผู้รับบริการ

Centredness :ผู้รับบริการรู้สึกมีความสุข และรับรู้คุณค่าของตนเอง จากการสวดมนต์ บริจาคเงิน และถวายสังฆทาน วึ่งไม่มีโอากาสได้ทำอย่างเต็มที่

Connectedness : ผู้รับบริการอยู่ในสภาะแวดล้อมบ้านพักผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางศาสนาคริสต์เป็นหลัก ซึ่งผู้รับบริการนับถือศาสนาพุทธ

Transcendence : ผู้รับบริการไม่ได้ทำสิ่งที่มีความหมายและคุณค่าในช่วงสุดท้ายของชีวิต

ใช้กรอบอ้างอิง PEO model เพื่อมองภาพรวมในการเคลื่อนไหวให้ครบองค์ประกอบทั้งPerson Environment and occupation เนื่องจากผู้รับบริการมีประวัติการล้มขณะอยู่ที่บ้านผู้สูงอายุ และจากการประเมินด้านร่างกายยังมีความสามารถในการเดินได้เอง ใช้biomechanics FoR ในการมองและคงความสามารถทางร่างกายในการเคลื่อนไหวไว้ คือ ผู้รับบริการคงกำลังกล้ามเนื้อขา คงความสามารถในการทรงท่ามีความทนทานขณะเดินในบ้านผู้สูงอายุ และมีความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงในการล้ม ขณะเดิน

เป้าประสงค์ทางกิจกรรมบำบัด

(occupational goal)

ผู้รับบริการสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนาที่มีความหมายในชีวิต คือ การจัดของบิณฑบาต และมีเพื่อนพูดคุยแลกเปลี่ยนทางศาสนา


ผู้รับบริการสามารถเดินด้วยตนเองอย่างมั่นคงและปลอดภัยภายในบ้านพัก ผู้สูงอายุ โดยมีความเสี่ยงล้มน้อยลง
การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

ส่งเสริมให้ผู้รับบริการทำกิจกรรม ยามว่างทางศาสนาที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกมีคุณค่าและเป็นกิจกรรมที่มีความหมายกับผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมให้มีความสุขและความรู้สึกมีศักดิ์ศรีในช่วงสุดท้ายของชีวิต โดย

- สวดมนต์ให้ผู้บำบัดฟัง เพื่อดูว่าสามารถทำได้ และนำบทสวดมาปรับใช้ในชีวิตอย่างไร ทำอย่างไรให้มีความสุขและมีคุณค่า(meaning)

-ทำชุดบิณฑบาต สังฆทาน เพื่อส่งให้ผู้รับบริการได้ทำในสิ่งที่มีความหมาย และความสุขของตนเอง การขอความช่วยเหลือจากแม่บ้านในการซื้อของเพื่อจัดทำ ระลึกถึงสิ่งดี(Centredness)

-พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับศาสนา เช่น นำพุทธศาสนามาปรับในชีวิต อย่างไร ศีล 5 และ แลกเปลี่ยน ความต่างทางความเชื่อกับผู้บำบัดที่ นับถือศาสนาอิสลาม เรื่องการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้นับถือคนละศาสนาเป็นส่วนใหญ่ และจะทำอย่างไร ผู้รับบริการจึงได้มีการจัดห้องนอนใหม่ วางพระไว้หัวเตียงเพื่อความรู้สึกอุ่นใจ (connectedness)

-Functional activity ออกกำลังกายฝึกกล้ามเนื้อลำตัว hip extension and knee extension ซึ่งมีความสำคัญต่อการเดิน

- ฝึกPostural controlขณะเดิน ใช้ gait belt ป้องกันการล้มขณะฝึก(Ethical reasoning ใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ)ใช้ physical prompt และ verbal prompt feedback

- ฝึกใช้อุปกรณ์ช่วย Tripod แทนการจับตามเครื่องใช้ เพื่อเพิ่มความมั่นคง ลดอาการเหนื่อย เมื่อต้องเดินนานกว่าเดิม

-สอนให้ผู้รับบริการสังเกต อาการเหนื่อยของตนเอง และสอน energy consevation การนั่งพัก ระหว่างทางเมื่อเหนื่อย เพื่อป้องกันการล้มจากความเหนื่อยล้า

-บอกผู้รับบริการ ถึงปัจจัย เสี่ยงการล้มและวิธีลดปัจจัย เสี่ยง เช่น การปรับสภาพ บ้าน จัดของให้ไม่ขวางทาง เดิน ไม่นำของที่ใช้บ่อยวางไว้ที่พื้น ลดการก้มลงหยิบที่ จะทำให้ล้ม ซึ่งผู้รับบริการเคยล้มจากเหตุการณ์นี้


ซึ่งในการทำการรักษาจะมีอาจารย์อยู่ด้วยเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยเนื่อง

จากนักศึกษายังไม่มีใบประกอบโรคศิลป์(Ethical reasoning)

Pragmatic Reasoning 

ในเชิงปฏิบัติการได้มีอภิปรายวางแผนการรักษาระหว่างนักศึกษากับอาจารย์เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัย 

• การคงไว้ซึ่งความสามารถในการเดินและลดความเสี่ยงในการล้มจากบริบทที่ผู้รับบริการใช้ชีวิตอยู่จริง โยคำนึงถึงภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 

•แนะแนวทางการใช้กรอบอ้างอิง Psychospiritual integration FoR ในการวิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุให้เกิดความรู้สึกมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าในช่วงสุดท้ายของชีวิต ส่งเสริมให้มีการรับรู้ถึงความเป็นไปของตนเอง และดึงศาสนาซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและการใช้ชีวิต เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมที่มีความหมาย รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านพักผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่นับถือคริสต์ที่เขาจะอยู่ไปจนวาระสุดท้ายให้รู้สึกผ่อนคลายเสมือนบ้าน สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างสงบสุข

อ้างอิงจากวารสาร

Denise Donica. Spirituality and Occupational Therapy: The Application of the Psychospiritual Integration Frame of Reference, 2009‬.

Janet DeLany. The Role of Occupational Therapy in End-of-Life Care. American Journal of Occupational Therapy, 59, 671–675., 2005.

SOAP note

ครั้งที่ 1

S : หญิงสูงอายุ สีหน้าสดใส ยิ้มแย้ม พูดว่า “ขอบคุณที่มาหา และทำกิจกรรมด้วยกัน หนูเป็นเด็กดี ขอให้สิ่งดี ๆ กลับมาหาหนู” “ตอนนี้ก็ใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ รอวันนั้นมาถึง”

O : เริ่มทำกิจกรรมก๋วยเตี๋ยวลุยสวนได้เอง สามารถเลือก และหยิบ จดจำและทำได้ตามขั้นตอน มักก้มหน้าไปใกล้ๆจาน เนื่องจากสายตาพร่า และไม่ค่อยได้ยิน หากมีเสียงรบกวนหรือพูดเบา สบตา แสดงออกทางสีหน้าตรงเรื่องที่พูด สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้เอง แต่ไม่มั่นคงเวลาเดิน มีความเสี่ยงล้ม 

A : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มและเดี่ยว

- ADL independence ยกเว้น

Mobility: Supervision Grooming การตัดเล็บ : Maximal asistance

P : ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการล้ม ส่งเสริมการทำกิจกรรมทางศาสนาที่ผู้รับบริการต้องการทำ 

ครั้งที่ 2

S : หญิงสูงอายุ ถือยาดมในมือตั้งแต่เข้าไปในห้อง มักพูดว่า “วันนี้ไม่ไหว ไม่สบาย ปวดหัว”

O : ขณะทำกิจกรรมสวดมนต์ สามารถท่องบทสวดได้ สามารถตอบ และทำท่าออกกาลังกายตามได้จนจบ แสดงท่าที่ตนออกกาลังกายประจำสอนผู้บำบัด แต่ทำแค่ท่าละ 1 ครั้ง ใช้ tripod เดินภายในห้องจากเตียงไปโต๊ะด้วยตนเองได้ปลอดภัย แต่มีสีหน้าไม่มั่นใจ เมื่อถึงไม่ทำต่อ ขอนอนพัก

A : ไม่ให้ความร่วมมือในการกิจกรรมจะทำแค่ช่วงเริ่มต้นแล้วบอกเหนื่อย ขอไม่ทำต่อ ปฏิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม สามารถพูดคุยโต้ตอบได้ มีความไม่มั่นใจ เมื่อต้องเดินด้วยtripod แต่เมื่อสนทนาแลกเปลี่ยนเรื่องศาสนาสามารถสนทนาได้จนจบ

P : ฝึกตามแผนเดิมแต่ปรับความยากและซับซ้อนของกิจกรรมลง เตรียมสื่อการ สอนที่ชัดเจนทั้งขนาดและสีในการฝึก เสริมสร้างความมั่นใจในการฝึกเดิน

Story telling

     ครั้งแรกของการเป็นนักศึกษากิจกกรมบำบัดที่ได้ลงมือทำครบกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ตั้งแต่สัมภาษณ์ สังเกต ประเมิน และให้การรักษาด้วยตนเอง จากที่เคยทำร่วมกับเพื่อน ทำให้รู้สึกกังวลอย่างมาก จึงพยายามเตรียมความพร้อมเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด 

        จากกรณีศึกษาคุณจันทร์ (นามสมมุติ) อายุ 90 ปี เพศ หญิง อาศัยบ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลียน ผู้รับบริการให้ความร่วมมือดี ยิ้มแย้ม ทำให้การประเมินผ่านไปอย่างง่ายดาย สามารถประเมินได้ครบ นอกจากนี้ ยังได้รับกำลังใจ คำอวยพรจากผู้รับบริการ หลังจากนั้นได้ทำการวางแผนและอภิปรายร่วมกับอาจารย์เพื่อหาแนวทางการรักษา ทำให้เห็นกระบวนการที่ชัดเจนมากขึ้น เข้าใจกรอบอ้างอิง และเทคนิคการรักษาในผู้รับบริการสูงอายุ ที่ต้องคำนึงถึงความเหนื่อย เน้นการคงไว้ซึ่งความสามารถ เพื่อไปทำการบำบัดในครั้งถัดไป ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งแรก เนื่องจากผู้รับบริการไม่สบาย ทำให้ไม่สามารถทำการบำบัดได้ตามที่วางไว้ทั้งหมด แต่เมื่อพูดคุยเรื่องศาสนาผู้รับบริการสามารถพูดคุยและทำกิจกรรมได้จนจบ ทำให้เห็นความสำคัญของการนำสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสื่อในการรักษาและแรงจูงใจ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้อีกว่า อาจไม่สามารถทำตามแผนการรักษาได้ทั้งหมด จากปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นต้องสามารถยืดหยุ่นและปรับแผนให้ได้ตลอด

เมธาพร บุหงาเรือง

นักศึกษากิจกรรมาบำบัด     

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 675585เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2020 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2020 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท