QR_LIMS นวัตกรรมใหม่ของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์


มหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติด้านการพัฒนางานประจำ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2562 ณ สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

"พลังนวัตกรรม สร้างสรรค์อุดมศึกษาอย่างยั่งยืน"

มหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติ ด้านการพัฒนางานประจำ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยเรามาร่วมเสนอนวัตกรรม QR_LIMS ของหน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ 

และแล้วเราก็ได้รางวัลค่ะ อัลฮัมดูลิลละ ขอบคุณอัลเลาะห์ผู้อยู่เบื้องหลังค่ะ รางวัลนี้มอบแด่พวกเราหน่วยเครื่องมือกลางทุกคนค่ะ ขอบคุณคู่ชีวิต รศ.ดร.ชัยรัตน์ ศิริพัธนะ ผู้จุดประกายความคิด เมื่อ 14 ปีที่แล้ว ขอบคุณเพื่อนรัก ผศ.ดร.ลัดดา ปรีชาวีรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ที่ร่วมคิดร่วมทำอยู่เคียงข้างกันตลอดมา ขอบคุณน้องบ่าว ชีวิน ชนะวรรณโณ โปรแกรมเมอร์ผู้น่ารัก ที่ริเริ่มสร้างฐานข้อมูล สร้าง LIMS ขอบคุณ เนาวัล ศิริพัธนะ ที่ช่วยทำ QR_Code ขอบคุณน้องๆ นักศึกษา ComSci.อีกหลายคนที่ไม่อาจกล่าวนามหมด ที่ช่วยกันสร้าง และพัฒนา เกิดเป็นองค์ความรู้ จนกระทั่งเราได้ต่อยอดเป็นนวัตกรรม QR_LIMS มาจนถึงวันนี้ และท้ายสุด ต้องขอบคุณตัวเอง ที่อดทน มุ่งมั่นทำงานอย่างไม่ท้อถอย 

เราพัฒนา LIMS จาก open source ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งขณะนั้น LIMS ยังไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยเลยคะ เราพัฒนา และทดลองใช้งานจริง ปรับระบบให้เหมาะกับงาน โดยมีทีมพัฒนา ที่ประกอบด้วยดิฉัน ซึ่งเป็นผู้บริหารห้องปฏิบัติการที่มีประสบการณ์การเป็นนักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการมาไม่น้อยกว่า 25 ปี  ผศ.ดร.ลัดดา ที่มีความเข้าใจในด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ ที่สามารถถ่ายทอด work flow การทำงานของห้องปฏิบัติการออกมาเป็นระบบ LIMS ได้ ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการของลูกค้า การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน ตลอดถึงการรักษาความปลอดภัยของระบบ และเรามีนักวิชาการคอมพิวเตอร์ คุณโสรยา สิงสาโร ที่เข้าใจงานห้องปฏิบัติการ และสามารถเขียนออกมาเป็นโปรแกรมดังกล่าวให้ใช้งานได้ เรามีนักศึกษาทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ช่วยกันพัฒนา LIMS ในแต่ละด้านอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญสุด เรามีห้องปฏิบัติการที่รับตรวจวิเคราะห์/ทดสอบตัวอย่างที่หลากหลายชนิดตัวอย่าง หลากหลายรายการวิเคราะห์ สำหรับใช้งานจริงในการทดสอบระบบที่เราพัฒนาขึ้น เมื่อมีปัญหาเราก็ปรับ แก้ไข และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และปี 2552 ได้นำรหัส QR เข้ามาใช้ร่วมกับ LIMS และเราก็เรียกว่า QR_LIMS ตั้งแต่นั้นมา

นวัตกรรมจริงๆ คือ สิ่งใหม่ หรือองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งมีความเฉพาะตัว ไม่เหมือนใคร มีคุณค่าเกิดประโยชน์ต่อตัวเองหรือหน่วยงานอย่างยั่งยืนและสามารถขยายผลเป็นเชิงพาณิชย์ได้หรือพูดง่ายๆ ว่าขายได้นั่นเอง ซึ่งระบบ QR_LIMS ของหน่วยเครื่องมือกลาง คือนวัตกรรมที่เราพัฒนาดัดแปลง จนได้รูปแบบเป็นของเราเอง จะช่วยให้การทำงานของห้องปฏิบัติการได้ผลดีเยี่ยม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่สำคัญ ประหยัดเวลา และแรงงานได้อย่างดี จนกระทั่งสร้างรายได้ให้หน่วยงาน ได้ถึง 10,000,000.- บาท ด้วยจำนวนบุคลากรเพียง 9 คน เท่านั้นเอง ทำให้เรากลายเป็นหน่วยงาน ที่บริหารจัดการด้วยเงินรายได้ของหน่วยงาน 100%

รายละเอียดนวัตกรรม QR_LIMS http://ced.sci.psu.ac.th/km/do...


หมายเลขบันทึก: 674672เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2020 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2020 15:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท