@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

ประเภทของคน ตอนที่ 5. บัวสี่เหล่า ตามคำสอน พุทธศาสนา


5. บัว4เหล่า ตามคำสอน พุทธศาสนา คน ๆ นั้น กระทำผิดบาป แล้วกลับตัวกลับใจได้ไหม สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนให้ดีขึ้นได้ไหม ควรคบหาสมาคม หรือหลีกเลี่ยงไม่คบด้วย

แบ่งประเภทของบัว ตามคำสอนพุทธศาสนา

            บัว4เหล่า เปรียบเทียบ คน 4 ประเภท (แยกตามระดับในทางธรรมะคุณธรรมที่มีในจิตใจ)

บัวก้นบึง  คือ บัวที่ยังเป็นเหง้าหัว จมอยู่ในโคลน  ก็มีโอกาสที่จะถูกเต่า  ปลากินเป็นอาหาร  ไม่ค่อยรอดพ้นภัยจนได้เติบโตเป็นต้นบัวต่อไป จึงเปรียบเสมือน  บุคคลที่มีมิจฉาทิฐิคือมีความเห็นผิด ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษ  มีชีวิตด้วยการเห็นแก่ตัว ทำตามใจตัวเองโดยไม่สนใจว่าจะไปเบียดเบียน ทำให้ใครเดือดร้อน ทำร้ายผู้อื่น ทำชั่วได้ง่าย ๆ ไม่มีความละอายต่อบาปกรรม เพียงแค่หาความสุขในตนเองโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น คนเหล่านี้ ยากที่จะสั่งสอนอบรมนิสัยให้กลับใจเป็นคนดี ไม่มีโอกาสในการพัฒนาจิตใจของตนเองให้สูงขึ้น อีกทั้งไม่มีศีลธรรมอยู่ในจิตใจ  เป็นคนที่อันตรายต่อตนเองและผู้อื่น จึงไม่ควรคบหาสมาคมด้วยเด็ดขาด เพราะไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่มีความสำนึกผิดและกลัวเกรงต่อบาป ยังไงก็กระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่คิดจะแก้ไขปรับปรุงตัว (คนสามานย์)

บัวใต้น้ำ  คือ บัวที่จมอยู่ใต้น้ำ เป็นการยากที่จะเติบโต เพราะแสงส่องไปไม่ค่อยถึงใต้น้ำ ทำให้มีโอกาสเติบโตได้ค่อนข้างลำบาก แต่ก็มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำต่อไปได้  จึงเปรียบเสมือน  บุคคลที่พอมีศีลธรรมอยู่บ้างเป็นบางข้อ ดีบ้างชั่วบ้างปะปนกันไป  คิดแต่ประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่พวกพ้อง ชอบเอาเปรียบผู้อื่น  มีดีบ้างไม่ดีบ้าง เอาแน่เอานอนไม่ได้ ยังมีโอกาสที่จะไปกระทำผิดซ้ำได้อีก เป็นการยากที่จะคิดแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดี คนเหล่านี้ ถ้ามีโอกาสได้รับการสั่งสอนอบรมนิสัยจากครูบาอาจารย์ที่ดี  และมีกัลยาณมิตรที่ดีแนะนำให้คำปรึกษา เขาก็มีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีจิตสำนึกที่ดีขึ้นได้  (สามัญชน)

บัวปริ่มน้ำ  คือ บัวที่โผล่ขึ้นมาอยู่ระดับเดียวกับผิวน้ำ ได้รับแสงส่องถึง รอวันที่จะเจริญเติบโต  จึงเปรียบเสมือน  บุคคลที่มีศีลธรรม ธรรมะอยู่ในใจ ทำได้บ้างทำไม่ได้บ้าง แต่ก็รู้จักบาปบุญคุณโทษ  มีความละอายต่อบาป มีโอกาสทำบุญทำทานเข้าวัดบ้าง แต่ไม่ได้ลงมือปฎิบัติธรรม ถือศีลภาวนา  คนเหล่านี้ ถ้าได้รับคำแนะนะที่ดี เขาจะเข้าใจสามารถพัฒนาจิตใจของตนเองได้ เป็นปัญญาชน (ผู้มีปัญญาที่เจริญแล้ว) จึงเหมาะที่จะคบหาสมาคมด้วยได้   ยังมีความคิดที่ดี มีจิตสำนึกที่ดี รู้จักแยกแยะดีชั่ว ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้นได้ แต่จำไว้ว่าไม่มีใครดีพร้อมไปหมดทุกคน ต้องชั่งใจดูกันยาว ๆ (สุจริตชน)

บัวพ้นน้ำ  คือ บัวที่โผล่พ้นน้ำ พร้อมที่ดอกบัวจะบาน รับแสงตะวัน  จึงเปรียบเสมือน บุคคลที่มีพร้อมในศีลธรรม ธรรมะอยู่ในใจ เข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนา มีความบริสุทธิ์ใจ ไม่คิดทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เบียดเบียนเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดผู้อื่น พร้อมและเข้าใจในหลักธรรมะ ปฏิบัติธรรม คนดีมีศีลธรรม อีกทั้งยังสามารถที่จะแนะนำให้ผู้อื่นได้พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นได้ จึงเหมาะที่จะคบหาสมาคมและเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม อยู่อย่างมีความสุขสงบในใจ  แต่จำไว้ว่าคนทุกคนยังมีกิเลส (ความอยากได้อยากมีอยู่และไม่มีใครดีพร้อมสมบรูณ์แบบ) เป็นคนต้นแบบที่ดีน่าเคารพ (ปูชนียบุคคล)

                ***ในที่นี้กระผมไม่ขอกล่าวถึงการเข้าใจธรรมะแล้วต้องหลุดพ้น นิพพาน (ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์) หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงธรรมะแบบฆราวาส (ผู้ครองเรือนให้เป็นสุข) เท่านั้น ***

จับใจความจาก     http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=12953

https://www.baanjomyut.com/pratripidok/cha/05.html

https://www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ตรัสรู้/ทรงพิจารณาบัว-๔-เหล่า

หมายเลขบันทึก: 674666เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2020 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2020 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท