@chokdeemeechai
วิชาชีวิตเพื่อความมั่นคงทางจิตใจ โชคชัย คงบวรเกียรติ

ประเภทของคน ตอนที่ 6 บทสรุปประเภทของคน


สรุป ประเภทของคน

Big Five Factor      = OCEAN มหาสมุทร or CANOE เรือแคนนู เพื่อประเมินทัศนคติโดยรวมที่เขามีต่อตนและคนอื่นในสังคมอย่างไร

                    O = Openness to experience เปิดรับประสบการณ์

                        C = Conscientiousness จิตสำนึกความรับผิดชอบ

                        E = Extraversion ความสนใจสิ่งภายนอก ชอบเข้าสังคม

                        A = Agreeableness ความยอมรับเห็นใจ ให้ความร่วมมือ

                        N = Neuroticism ความไม่มั่นคงทางอารมณ์

                1. เปิดเผย หรือ เก็บตัว Extrovert vs. Introvert (Ex-In)

                2. มีจิตสำนึกความรับผิดชอบ หรือ ไม่มีจิตสำนึกขาดความตั้งใจ Conscientiousness vs. Lack of Direction (Con-Lack)

                3. เปิดรับประสบการณ์ ทัศนคติเปิดกว้าง หรือ มองโลกแคบ ทัศนคติแนวความคิดจำกัด Openness vs. Closeness (Open-Close)

                4. ยอมรับให้ความร่วมมือ หรือ ต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ Agreeableness vs. Antagonism (Agree-Ant)

                5. อารมณ์มั่นคง หรือ จิตใจหวั่นไหวง่าย Emotional Stability  vs. Neuroticism (Stable-Neuro)

ด้านดี Ex+Con+Open+Agree+stable = OCEAN มหาสมุทร มั่นคง ทัศนคติเปิดกว้าง มีความเป็นมิตร เห็นใจผู้อื่น มีจิตสำนึกที่ดี

ด้านลบ In+Lack+Close+Ant+Neuro  = CANOE เรือแคนนู หวั่นไหว ทัศนคติมองโลกแคบ เป็นปรปักษ์ ไม่เห็นใจผู้อื่น ไม่มีจิตสำนึกที่ดี

DISC Model เขามีบุคลิกนำหลักเป็นคน อุปนิสัยเด่น อารมณ์หลักแบบใด การก้าวย่าง เร็ว หรือ ช้า กระบวนการตัดสินใจใช้อารมณ์ หรือ ใช้เหตุผล ส่งผลถึงพฤติกรรมแสดงออก

                D = Dominance ผู้ครอบงำบงการ เด็ดเดี่ยว (เป็นคนตรงไปตรงมา/ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง/ เด็ดขาดกล้าคิดกล้าตัดสินใจทำ/ ไม่เชื่ออะไรง่ายขี้สงสัย)

            I = Influence ผู้ชักจูงโน้มน้าว ช่างพูด (เป็นคนเจรจาชักจูงคนเก่ง/ ชอบเข้าสังคม/ ร่าเริงมีชีวิตชีวา/คิดเร็วทำเร็ว/ เปิดใจยอมรับ/ กล้าแสดงออก)

            S = Submission ผู้ยินยอมให้ความร่วมมือ หัวอ่อน (เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย/ ประนีประนอม/ อ่อนโยน/ อ่อนน้อมถ่อมตน/ ยินยอมอ่อนตามผู้อื่น)

            C = Conscientious ผู้รอบคอบระมัดระวัง เจ้าระเบียบ (เป็นคนมีความรับผิดชอบสูง/ เก่งคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ/ มีโลกส่วนตัวสูง/ ไม่เปิดเผยความรู้สึก/ ไม่เชื่ออะไรง่าย ชอบพิสูจน์ความจริง)

Personality Disorders (PD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คนโดยทั่วไปไม่ค่อยรู้ตัวว่ามีความผิดปกติ แต่ถ้าเรารู้ ก็ต้องมาพิจารณาว่าพอที่จะประคับประคอง คบหาสมาคมกันต่อไปได้ไหม หรือควรจะเลิกคบ หลีกเลี่ยงไม่คบหาสมาคมด้วย

                ปัจจัยในการประเมินแยกแยะ คนปกติ กับ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ มีดังนี้

                1. มีความบกพร่อง การตระหนักรู้ในภาพพจน์ของตนเองSelf-Image ตามความเป็นจริง บกพร่องขาดความรู้ความเข้าใจในสภาพจิตใจของตนเอง (Insight) ในมุมมองของตนเอง และมุมมองของผู้อื่นที่มองตน ประเมินตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่เชื่อมั่นในตนเอง ขาดความยอมรับนับถือในตนเอง ตำหนิตนเองจนเกิด ซึมเศร้า เป็นต้น

                2. อารมณ์แปรปรวนไม่มั่นคง Emotional Instability สภาพความอ่อนไหวของอารมณ์ การเกิดอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย หุนหันพลันแล่น ไม่พอใจขุ่นเคืองโกรธโมโหได้ง่าย ขาดทักษะในการควบคุมอารมณ์ (Skills Emotional Control) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์สภาพแวดล้อม

                3. ความบกพร่องต่อการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลRelationship แนวทางการปฏิสัมพันธ์ การปรับตัวในการเข้าสังคม ขาดทักษะบกพร่องในการเข้าสังคม (Social Skills) การปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมคำนึงถึงตนเอง (Self) มากเกินไป กับ คำนึงถึงผู้อื่น(Other) มากเกินไป ไม่มีความพอดีเหมาะสม การวางตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่สถานะทางสังคม (ขาดความเห็นใจผู้อื่น หรือขาดบกพร่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่น)

                4. ความรู้สึกนึกคิดภายในจิตใจทัศนคติ ความสนใจ กระบวนการตัดสินใจ ที่เลือก การกระทำ (Active) กับ ไม่ตอบสนอง นิ่งเฉย (Passive) ไม่ตรงกับความตั้งใจและเป้าหมายในชีวิต ทำให้ความสามารถลดลงในการปรับตัวในชีวิตไม่ดีเท่าที่ควร มีทัศนคติและพฤติกรรมที่ไม่กลมกลืนไม่สอดคล้องกันกับเป้าหมายในชีวิตอย่างสำคัญ มีความขัดแย้งในจิตใจ สับสนในความคิดของตนเอง เช่น มีเจตนาอย่างหนึ่ง แต่แสดงออกเป็นพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ไม่ตรงอย่างที่ตนเองตั้งใจที่จะทำ ผิดไปจากเป้าหมายที่แท้จริงของตนเอง

                5. Reality and Social Norms ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และบรรทัดฐานทางสังคม

  • การรับรู้ และความเข้าใจ ผิดเพี้ยน บิดเบือนไปจากความเป็นจริง ในความผิดปกติ ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และบรรทัดฐานทางสังคม อย่างชัดเจน (ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ) เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และยังคงเป็นอยู่
  • หลอกตัวเอง คิดเข้าข้างตนเองมากจนเกินไป ประเมินตนเองต่ำไป จนเกิดปมด้อยปัญหาทางจิตสับสนในความคิด  ประเมินตนเองสูงไป จนหลงตนเอง หลงผิดจากบรรทัดฐานทางสังคม

                6. มีลักษณะความบกพร่องทางบุคลิกภาพที่มีอาการสภาพ หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้น

  • § มีรูปแบบพฤติกรรมผิดปกติที่ยั่งยืน เป็นเวลายาวนาน และ จะต้องสม่ำเสมอในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่คราวเป็นเกิดอาการทางจิตเท่านั้น
    • § สิ่งทีกล่าวมาปรากฏในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น และดำเนินต่อไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
    • § ความผิดปกติทำให้เกิดความทุกข์เป็นส่วนตัวพอสมควร แต่อาจจะเพียงปรากฏชัดในระยะหลัง ๆ
    • § รูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติแพร่ไปทั่ว และชัดเจนว่าเป็นการปรับตัวที่ผิดพลาดต่อสถานการณ์ ทั้งในส่วนบุคคลและในส่วนสังคมมากมายหลายอย่าง
    • § ความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นนั้น ไม่ก่อปัญหาใหญ่ในการประกอบอาชีพ และยังพอปรับตัวเข้ากับคนในสังคมได้บ้าง แต่อาจจะแสดงออกที่ไม่เหมาะสมบ้างบางครั้ง
    • § ต้องไม่ใช่เกิดจากผล การใช้ยา สารเสพติด หรือสภาวะทางแพทย์ทั่วไป (การได้รับบาดเจ็บที่สมอง)

                    ถ้ามีความเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งอย่างมาก ถือว่าเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เช่น อารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย ความรู้สึกนึกคิดที่กระทำรุนแรงก้าวร้าว การคำนึงถึงตนเองเป็นใหญ่ มีผลกระทบต่อการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม ทำตัวไม่เหมาะสมไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและบรรทัดฐานทางสังคม

    กิเลสนิสัย 19 คนที่มีกิเลสหนา ไม่ควรคบหาสมาคม นำพาสู่ความเสื่อมเสียหาย

                1.คนเห็นแก่ตัว 2.คนเอาเปรียบ 3.คนขี้โกง 4คนขี้ขโมย 5.คนโกหก 6.คนขี้เมา 7.คนขี้ยา 8.คนผีพนัน 9.คนขี้เอา 10.คนทิฐิสูง 11.คนเชื่อฝังใจ 12.คนขี้โมโห 13.คนพาลนักเลง 14.คนคุ้มดีคุ้มร้าย 15.คนเจ้าคิดเจ้าแค้น 16.คนขี้อิจฉาริษยา 17.คนทรยศ 18.คนอกตัญญู 19.คนชั่วเลวทราม

    บัวสี่เหล่า คน ๆ นั้น กระทำผิดบาป แล้วกลับตัวกลับใจได้ไหม สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนให้ดีขึ้นได้ไหม ควรคบหาสมาคม หรือหลีกเลี่ยงไม่คบด้วย หรือเป็นสันดานที่แก้ไขไม่ได้แล้ว ไม่มีความสำนึกผิด ยากต่อการกลับตัวกลับใจมาเป็นคนดี ไม่สามารถเป็น สุจริตชน

    ความรู้ความเข้าใจในประเภทของคน       

                    ผลดีต่อตนเอง ทำให้เราเข้าใจตนเองว่าเป็นคนบุคลิกภาพแบบไหน ควรที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องอะไรบ้าง และพัฒนาตนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ควรที่จะปรับตัวเข้ากับคนอื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ เอาตัวรอดได้ โดยไม่เบียดเบียนใคร และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อตนเองและคนอื่น ๆ

                    คนเรามีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันเลยสักคนเดียว เป็นปัจเจกบุคคลที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นคนมีทัศนคติเปิดกว้างรับประสบการณ์ การมองโลกในแง่ดี หรือในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย หรือ มองคำนึงถึงแต่ตนเองเป็นใหญ่ หรือมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถปรับตัวเข้าผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และบรรทัดฐานทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่กระทำผิดกฏหมาย ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน มีจิตสำนึกที่ดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและคนในครอบครัว รู้หน้าที่และแสดงบทบาทสถานะของตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม

                    ผลดีต่อการเข้าใจในคนอื่นที่เราปฏิสัมพันธ์ด้วย ทำให้เราเข้าใจคน ในความแตกต่างกัน คนทุกคน มีความคิด ทัศนคติ กระบวนการตัดสินใจ การจัดการกับความคับข้องใจด้วยกลไกการป้องกันตนเอง ทักษะความสามารถในการปรับตัวเข้าสังคม ทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหา ทักษะการจัดการอารมณ์ ทักษะการจัดการกับความเครียด และการทำตามเป้าหมายในการดำเนินชีวิต (ศึกษาเรียนรู้ เพื่อประกอบสัมมาอาชีพ หาเงินเลี้ยงตนเองและคนในครอบครัว) ให้มีความสุข สงบ ปลอดภัย มั่นคง ทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เราจึงต้องเคารพสิทธิในความเป็นคนที่ไม่เหมือนกัน เขาอาจมีวิธีการคิดไม่เหมือนกับเรา ต้องยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างให้ได้ เรามีความจำเป็นที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุขถ้วนหน้า

                    กระผมขอเน้นที่กิเลสนิสัย ที่ช่วยบ่งบอกว่าคนประเภทไหนที่คุณควรหลีกเลี่ยงไม่ไปคบหาสมาคมด้วย และบัวสี่เหล่าที่ไว้ตรวจสอบความดี คนมีจิตใจที่ดี มีคุณธรรม ต่ำสูงไม่เท่ากัน สามารถกลับตัวมาเป็นคนสุจริตชนได้หรือไม่ และคนประเภทที่ทำผิดกฏหมายผิลศีลธรรมห้ามยุ่งเกี่ยวเด็ดขาดนำพาไปสู่ความฉิบหาย

                    ประเภทของคน อย่างน้อยก็ทำให้เราแยกแยะ จัดหมวดหมู่ คน ได้เป็นคนลักษณะเด่นด้านใด เปิดเผยตัว หรือ เก็บตัว เปิดรับประสบการณ์มีทัศนคติที่เปิดกว้าง หรือมองโลกแคบ มีอารมณ์หลักที่แสดงตัวตนเป็นแบบใด ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ หรือใช้เหตุผลในการตัดสินใจ มีความเป็นมิตร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือ มีความปรปักษ์ เห็นแก่ตัวเอง ไม่คำนึงถึงผู้อื่น มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพหรือไม่ มีความผิดปกติทางจิตหรือไม่ มีคุณธรรม (กิเลสนิสัยสิบเก้า) รู้จักแยกแยะดีชั่วถูกผิด ทำผิดแล้วสำนึกผิด (บัวสี่เหล่า) แก้ไขปรับปรุงพัฒนาตนจิตใจให้ดีขึ้นได้ไหม คนแบบใดควรคบหาสมาคมด้วยได้ และบุคคลที่ไม่สมควรคบหาสมาคมหลีกเลี่ยงได้เป็นการดีต่อตนเองและคนในครอบครัว

                    โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็ว วิวัฒนาการเร็ว ใจคนก็เปลี่ยนแปลง แปรปรวน ใจเร็วด่วนได้ อารมณ์ขึ้นหงุดหงิดได้ง่าย เพราะมีทัศนคติที่มองแต่ตนเองเป็นใหญ่ เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง จนเกิดความบกพร่องทางจิต ที่เรียกว่า ต่อต้านสังคม ทำตัวเป็นอันธพาล อะไรนิดเดียวก็คิดจะทำร้ายคนอื่น ไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่ตนเองกระทำจนส่งผลทำให้คนอื่นเดือดร้อน รวมถึงตนเองและคนในครอบครัวของตัวเอง ได้รับผลกระทบที่เสียหายจากการกระทำผิดของตนเอง ที่ไม่สามารควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ซึ่งมีให้เห็นกันในข่าวกันทุกวัน ไม่รู้จักแยกแยะถูกผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจควบคุมอารมณ์พฤติกรรมตนเองไม่ได้ ทำผิดแล้วไม่รู้จักสำนึกผิด หาเหตุผลเข้าข้างตนเองโดยไม่คำนึงถึงเหตุและผล และความเป็นจริงของบรรทัดฐานทางสังคม ยังกระทำผิดซ้ำแล้วเลวร้ายมากยิ่งขึ้น

                    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคนปกติธรรมดาจะคบได้ หรือ ไม่ได้ล่ะ คนเรามีความซับซ้อน มีเจตนาแอบแฝง หลอกล่อ ใช้กลอุบายเพื่อเอาเปรียบผู้อื่น แล้วคนไหนสมควรที่จะคบหาสมาคมได้ล่ะ กระผมจะขอยกไปกล่าวถึง หลังจากให้ท่านผู้อ่าน ได้เข้าใจเรื่อง การอ่านจุดประสงค์เจตนาของคนให้ออกก่อน คนเรามีความซับซ้อนในตัวคน หลากหลายบุคลิกในการแสดงออกตามบทบาทหน้าที่สถานะทางสังคม และไม่มีใครบอกตรง ๆ ว่า "ฉันมันคนเลวนะ ฉันเป็นคนขี้โกงนะ ฉันกำลังจะโกหกหลอกลวงคุณให้หลงกลเสียทรัพย์ให้ฉันแล้วนะ"  ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ทักษะในการอ่านเจตนาของคนให้ออก การอ่านคนจากภาษาที่พูดสนทนา ภาษาทางสีหน้าตา ภาษาทางกาย การจับโกหก พฤติกรรมในอดีตของเขา ความจริงใจ และมองภาพรวมนำองค์ประกอบมาตีความหมายในภาพรวมทั้งหมด จึงจะตัดสินคนที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วยนั้นได้ ว่า เขาคิดอะไร ต้องการอะไรจากเรา หรือเขาจะเป็นฝ่ายให้ และมีความบริสุทธิ์ใจแค่ไหน ทำดีทำไม่ดีต่อเราแค่ไหน จึงถือว่า คบได้หรือคบไม่ได้ ต้องหลีกเลี่ยงติดต่อกับเขา ซึ่งต้องอ่านเจตนาของเขาให่ได้ก่อน จึงจะสามารถนำมา คิด วิเคราะห์ แยกแยะ เลือกคบคน และวิธีการจัดการกับคน ประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องกับสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพ กระผมจะขอยกไปกล่าวในตอนต่อไปนะครับ

    หมายเลขบันทึก: 674664เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2020 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2020 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท