๘๑๒. หงส์ฟ้า


หงส์ฟ้า

ผู้เขียนเป็นคนที่ชอบฟังเพลงลูกทุ่ง...เพราะสมัยก่อนสิ่งที่ได้ฟัง นั่นคือ เพลงลูกทุ่ง-เพลงลูกกรุง...แต่ส่วนใหญ่หากธรรมชาติ สมัยเมื่อร่วม ๕๐ ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังสัมผัสกับธรรมชาติท้องทุ่งนาสะมากกว่า จึงทำให้ผู้เขียนมีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ ท้องนา จึงเป็นคนที่ชอบฟังเพลงลูกทุ่ง...สมัยก่อนไม่มีทีวี เริ่มแรกสมัยเมื่อผู้เขียนเรียนมัธยม จะมีแค่เพียงวิทยุทรานซิสเตอร์เล็ก ๆ เพียง ๑ เครื่อง รับฟังข่าว เพลง ได้จากผู้จัดรายการ เวลาทำงานบ้านไปก็จะนั่งฟังเพลง ฟังข่าวไป...นี่คือ วิถีของคนชนบทในสมัยก่อน ซึ่งคนในสมัยก่อนชอบเรียก คนชนบทว่า "บ้านนอก" แต่ในความคิดของผู้เขียน สำหรับปัจจุบัน คิดว่า "ไม่ควรกล่าวเช่นนั้น"...อาจจะเป็นด้วยการสร้างค่าให้กับสังคมเมืองหลวงก็เป็นได้...

แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตปรับเปลี่ยนไป ทำให้ผู้เขียนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงคงใช้ในช่วงเวลาประมาณ ๕๐ ปี ก็จะเห็นสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย มีทั้งดีและไม่ดี

สำหรับเพลง "หงส์ฟ้า" ผู้เขียนมีความรัก + ชอบ โดยเฉพาะนักร้อง และเนื้อเพลงซึ่งมีความหมายในตัวเอง...ด้วยสำนึกเป็นเด็กบ้านนอก จึงชอบและรักในเพลงลูกทุ่ง จึงขอเก็บเพลงมาไว้ในบันทึกนี้ เพื่อเป็นการเตือนความจำว่า ยังรักเพลงลูกทุ่งเสมอ ๆ ซึ่งสมัยก่อนมีความคิดกันว่า เพลงลูกทุ่งจะตายไป แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว มีความคิดว่า "เพลงลูกทุ่ง ไม่มีวันตายไปจากสังคมไทย" ขออนุรักษ์ไว้อีกเพลงหนึ่งค่ะ "หงส์ฟ้า"

เจ้าบินอ่อนล้า
หรือไรหงส์ฟ้าจึงมาเลียบดิน.
เจ้าอยู่กรงบิน
ไหนเลยมาสิ้นแค่เพียงพรมแดน
ปิดกั้นอะไร จึงไม่ใฝ่เมืองแมน
เห็นแคว้น เห็นแดน
กันดาร ว่าเป็นบ้านงาม.
ปราสาทเจ็ดสี ล้วนแต่ดีมีล่อใจ.
ด้วยเหตุไฉน
หรือจึงไม่เห็น เช่นความงาม
ดินแดน แห่งเรา มีแต่ ระกำ.
ขาดไฟ ไร้น้ำ
ต้องตามด้วยแสงเดือนดาว
หงส์ฟ้า..เมื่อยล้าบอกเรา
หงส์ด้วยกันสัมพันธ์เพียงเจ้า
มาที่นี่พอดีที่เรา
ส่งผ้า ให้คลุม พอได้นุ่มกายเจ้า
แข็งแรง แล้วเช้า
เจ้าก็คงจากไป
เจ้าบินอ่อนล้า
ข้าช่วยหงส์ฟ้าเจ้าจงมีแรง.
เผือกมันตากแห้ง
ก็เสาะแสวง เที่ยวหามาให้
ทีตอน จากลา
ไม่เคยว่า.เห็นใจ
บทเรียน สุดท้าย
เป็นกาอย่าหมายหงส์.ทอง
เจ้าบินอ่อนล้า
ข้าช่วยหงส์ฟ้าเจ้าจงมีแรง.
เผือกมันตากแห้ง
ก็เสาะแสวง เที่ยวหามาให้
ทีตอน จากลา
ไม่เคยว่า.เห็นใจ
บทเรียน สุดท้าย
เป็นกาอย่าหมายหงส์.ทอง

******************************************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๑๘ มกราคม ๒๕๖๓



ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=PNBCspNuiKM

หมายเลขบันทึก: 674517เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2020 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2020 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท