เล่าเรื่องเมืองเขมร 2



    ในระหว่างเส้นทางจากด่านคลองลึกหรือปอยเป็ดตรงไปเมืองเสียมเรียบนั้นเราพักรถลงไปห้องสุขาได้เห็นศิลปะการแกะสลักหินและไม้เป็นรูปต่าง ๆ โดยเฉพาะเศียรพระยังคงทิ้งรอยความงามของจิตใจคนขะแมโบราณในสายเลือดที่น่าชื่นชมยิ่ง  


     จากตรงนี้ไม่ไกลนักมีภูเขาลูกหนึ่งเป็นสถานที่ที่ประชุมวางแผนโจมตีชนเผ่าต่าง ๆ ของพระเจ้าสุริยชัยวรมันที่ 2 ( พระองค์มีบ้านเกิดที่เมืองโคราชฝั่งสยาม เข้าใจว่าสถานที่ตั้งคือปราสาทพิมาย ) และขุนเขาลูกดังกล่าวมีหินศิลาแลงและหินทรายที่นำมาแกะสลักนั้น  เรื่องปราสาทนั้นถือว่าเป็นมณฑลของศาสนาเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า  เป็นที่เก็บอัฐิของกษัตริย์พอสิ้นสมัยของพระองค์ปราสาทก็ถูกทิ้งร้างไว้อย่างนั้น จนมาถึงยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เจอกองทัพจามรุกรานทำให้พระองค์ย้ายเมืองหลวงนครธมมาตั้งที่เมืองเสียมเรียบที่เรากำลังไปเยือนนี้ 


     เราไปถึงใจกลางเมืองก็พักรับประทานอาหารเที่ยงวัน ส่วนใหญ่เป็นอาหารปลาน้ำจืดจากทะเลสาปชื่อโตนเลสาป  เราทานอาหารที่นี่แบบโต๊ะจีนอาหารถูกปากมากทานได้เยอะ  ต่อมาเราไปไหว้พระประจำเมืองเสียมเรียบเป็นพระปางประธานพร 2 องค์ ชื่อองค์เจ๊กและองค์จอม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 


ช่วงสงครามกลางเมืองเขมรนั้นมีผู้ศรัทธานำองค์พระทั้งสองจมอยู่ในสายน้ำกลางเมืองเสียบเรียบนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบมีคนเข้าฝันว่าองค์พระทั้งสองต้องการขึ้นจากแม่น้ำแล้ว  คณะผู้ศรัทธาจึงอันเชิญมาตั้งไว้เป็นเสมือนศาลหลักเมืองปัจจุบันพระพุทธรูปทั้งสององค์ประดิษฐานในวิหารกลางสวนสาธารณะของเมืองเสียนเรียบ  เราเข้าไปไหว้และรับน้ำมนต์ที่คณะสงฆ์กำลังสวดมนต์ให้พรผู้คนไปกราบไหว้ไม่ขาดสาย


        ในยามเย็นเราไปดูวิถีชีวิตชาวบ้านมีเรือนแพลอยน้ำที่คลองออกปากโตนเลสาป  ที่นั้นมีเรือทัวร์มากขณะเดียวกันมีเรือเล็กของชาวบ้านแล่นมาเทียบในเรือมีเด็กน้อยสองคนบ้างสามคนบ้างพวกเด็ก ๆ เหล่านั้นมีงูเหลือมคล้องคอมาด้วย มาขอทานกับเรือทัวร์นั้นเอง  ตลอดสายน้ำเลย  เมื่อเราถึงปากน้ำแล้วลงไปที่ลานจอดเรือในนั้นมีการขังคอกให้ปลาและจระเข้หลายตัวให้เราชมโดยซื้ออาหารให้มัน


        เราอยู่ที่เรือนแพลอยน้ำนั้นเพื่อส่งพระอาทิตย์อุทัยอัสดงคตแล้วพวกเราหวนคืนกลับที่พักในตัวเมืองเสียมเรียบเพื่อพักเอาแรง.


หมายเลขบันทึก: 673483เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2019 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท