ป่าไผ่ไทย-ญี่ปุ่น


เลขาฯหนีไปเที่ยวพิษณุโลก-น่าน มา 2 วันค่ะ

งานนี้ไปช่วยเป็นล่ามให้อีกมูลนิธิหนึ่ง ที่มีเพื่อนต่างชาติมาเยี่ยมสรุปโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

ระหว่างเดินทางจากน่านไปอำเภอนาหมื่น ก่อนถึงอำเภอนาน้อยเห็นภูเขาน้อยใหญ่ปกคลุมด้วยป่าที่เป็นต้นไผ่เกือบทั้งหมด แล้วก็คิดถึงปัญหาที่เพื่อนญี่ปุ่นเคยเล่าให้ฟังในงานแลกเปลี่ยนเมื่อ 2 เดือนก่อน

ที่ญี่ปุ่นตอนนี้มีปัญหาไม้ไผ่รุกรานเข้าไปในป่า ไผ่ญี่ปุ่นต่างกับไผ่ไทย ตรงที่ไม่เป็นกอ ไผ่จะไหลไปงอกต้นใหม่ห่างจากต้นเดิมออกไป ส่วนหน่อก็มีออกบ้าง แต่ไม่มากเท่าไผ่ไทย มีสมัยหนึ่งที่หน่อไม้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ทำให้คนแห่ปลูกไผ่กันยกใหญ่ ไหลที่โผล่มาใกล้ที่อยู่อาศัยก็ถูกตัดทิ้งไป ส่วนไหลที่งอกด้านภูเขาก็งอกขึ้นเป็นต้นไผ่ ไม่มีใครสนใจตัด  จนเดี๋ยวนี้ไผ่ขึ้นปกคลุมป่าแทบทั้งหมด จนต้นไม้พันธุ์อื่นไม่สามารถงอกได้  เมื่อไม่มีไม้คลุมดิน เวลาพายุไต้ฝุ่นมาที ดินก็ถล่มที ชาวบ้านแถวนั้นเดือดร้อนกันไปหมด

เคยได้ฟังชาวเขาแถบกาญจนบุรีเล่าว่า ต้นไผ่เป็นไม้ที่จะเกิดก่อนเมื่อป่าต้องการปรับฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้ตัวเองเลยสงสัยว่า ที่ภูเขาที่เต็มไปด้วยไผ่ที่น่านเกิดจากการฟื้นตัวเองของป่า การปลูกของคน หรืออะไรกันแน่ แล้วมันทำให้เกิดปัญหาเหมือนที่ญี่ปุ่นไหม

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6695เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2005 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท