ชอบหิ้วของหนัก นักหวดกอล์ฟ ระวังนิ้วล็อค


โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีการใช้งานของมืออย่างรุนแรง หรือใช้มือผิดวิธี เช่นหิ้วของหนักๆ ซ้ำๆ พบในผู้หญิงถึง 80 % โดยเฉพาะในวัยกลางคน อายุ 50-60 ปี ส่วนในผู้ชายพบเพียง 20%ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี โดยจะมีอาการเริ่มเจ็บบริเวณโคนนิ้ว เวลากระดิกนิ้วจะมีอาการเจ็บ เวลางอหรือเหยียดนิ้วจะไม่คล่องตัว อาจเหยียดนิ้วไม่ออกหรืองอนิ้วไม่เข้า นิ้วแข็งบวมชา หรือนิ้วเกยกัน กำมือไม่ลงนิ้วโก่งงอ หากไม่ได้รับการรักษา นิ้วข้างเคียงก็จะยึดติดแข็งใช้งานไม่ได้ซึ่งเสมือนมือพิการ นิ้วที่พบปัญหาล็อกได้บ่อยที่สุดคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง โดยเป็นได้ทั้ง 2 ข้าง
หน้าแรกผู้จัดการ Online | หน้าแรกคุณภาพชีวิต | สุขภาพ
สุขภาพ ข่าว เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก
ชอบหิ้วของหนัก นักหวดกอล์ฟ ระวังนิ้วล็อค
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 ธันวาคม 2547 16:58 น.
       สาธารณสุขเตือนผู้ที่ใช้นิ้วหิ้วของหนักๆ หรือกำของหนักๆนานๆโดยไม่มีผ้ารองมือระวังเป็นโรคนิ้วล็อก เป็นโรคเฉพาะที่ของคนแข็งแรง พบกว่า 80 % เป็นผู้หญิงวัยทองโดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านที่ชอบหิ้วถุงพลาสติกหนักๆส่วนผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือหนักๆซ้ำๆ เช่น ส่งน้ำขวด ขายแก๊ส ขายผลไม้ รวมทั้งผู้ที่ตีกอล์ฟอย่างรุนแรง โดยทีมแพทย์โรงพยาบาลเลิดสินได้พัฒนาวิธีรักษาแนวประหยัด ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลารักษาเพียง 5 นาทีที่อาคารสเตททาวน์เวอร์ สีลม กทม.
       
       เช้าวันนี้ ( 5 ธันวาคม 2547 ) นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อกขนิดไม่ต้องผ่าตัดฟรี จำนวน 79 ราย ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช จัดขึ้นโดยสโมสรโรตารี่ภาค 3350 เขตเจริญนครและพระโขนง โดยมีนายแพทย์วิชัยวิจิตรพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน เป็นแพทย์ผู้ทำการรักษา
       
       นางสุดารัตน์กล่าวว่า การรักษาฟรีครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหานิ้วมืองอผิดปกติ หรือที่วงการแพทย์เรียกว่าโรคนิ้วล็อกไม่สามารถใช้งานได้ ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติรวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักโรคนิ้วล็อกและสาเหตุ รวมทั้งการป้องกันโรคดังกล่าว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุการรักษาโรคนิ้วล็อกให้อยู่ในโครงการ 30 บาทสามารถรักษาได้เลย
       
       นางสุดารัตน์กล่าวว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในคนที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีการใช้งานของมืออย่างรุนแรง หรือใช้มือผิดวิธี เช่นหิ้วของหนักๆ ซ้ำๆ พบในผู้หญิงถึง 80 % โดยเฉพาะในวัยกลางคน อายุ 50-60 ปี ส่วนในผู้ชายพบเพียง 20%ในกลุ่มอายุ 40-70 ปี
       โดยจะมีอาการเริ่มเจ็บบริเวณโคนนิ้ว เวลากระดิกนิ้วจะมีอาการเจ็บ เวลางอหรือเหยียดนิ้วจะไม่คล่องตัว อาจเหยียดนิ้วไม่ออกหรืองอนิ้วไม่เข้า นิ้วแข็งบวมชา หรือนิ้วเกยกัน กำมือไม่ลงนิ้วโก่งงอ หากไม่ได้รับการรักษา นิ้วข้างเคียงก็จะยึดติดแข็งใช้งานไม่ได้ซึ่งเสมือนมือพิการ นิ้วที่พบปัญหาล็อกได้บ่อยที่สุดคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง โดยเป็นได้ทั้ง 2 ข้าง
       

       ทางด้าน นายแพทย์วิชัย วิจิตรพรกุล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและผู้ชำนาญการในการรักษาโรคนิ้วล็อก ประจำโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ตั้งแต่กำเนิด และผู้ใหญ่ เด็กที่เป็นมาแต่กำเนิดจะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ พบได้ประมาณ 30 % ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มที่ใช้มือหนักๆซ้ำๆกันและทุกที่มีพฤติกรรมดังกล่าวมีสิทธิ์เป็นโรคนี้ สาเหตุที่แท้จริงของโรคนิ้วล็อกยังไม่แน่ชัด แต่จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับอาชีพเกิดจากการใช้งานของมือ
       ที่มีการใช้มือทำงานซ้ำๆหรือรุนแรงโดยอาชีพที่มีความเสี่ยงโรคนิ้วล็อกและต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ แม่บ้านหิ้วถุงหนักๆ หิ้วถังน้ำ การใช้มือบิดผ้าแรงๆ การสับหมู กวาดบ้านคนสวนตัดแต่งกิ่งไม้ ฟันต้นไม้ ขุดดิน คนที่ต้องยกของหนักส่งถังน้ำ ถังแก็ส ยกลังน้ำขวด ช่างไฟฟ้า แม่ครัว คนพิมพ์คอมพิวเตอร์ คนทำขนมนวดแป้ง หมอฟัน ครู หมอนวดแผนโบราณ นักกีฬาแบคมินตัน นักกอล์ฟ พนักงานธนาคารที่หิ้วถุงเหรียญหนักๆเป็นประจำ เป็นต้น
       
       นายแพทย์วิชัย กล่าวต่อไปว่า ในการรักษาโรคนิ้วล็อก หากเป็นไม่นาน อาจหายเองได้ หรืออาจต้องฉีดยาสเตียรอยด์ลดอาการบวม ทั้งนี้มีผู้ป่วยประมาณ 50 %ที่รักษาด้วยยาไม่หาย ต้องผ่าตัดแก้ไขใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์แผลจึงจะหาย ซึ่งมักจะมีปัญหาแผลผ่าตัดติดค่อนข้างยาก เนื่องจากนิ้วมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ในการลดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันได้ริเริ่มใช้วิธีการเจาะรักษาแทนการผ่าตัด
       โดยนำเครื่องมืออุดฟันที่ชำรุดใช้งานไม่ได้แล้ว นำมากลึงปลายให้แหลมคมเป็นพร้าเล็ก ๆ เจาะผ่านผิวหนังเพื่อไปตัดเข็มขัดรัดเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็นออกทำให้เส้นเอ็นยึดหดได้ดีขึ้น สามารถกำเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 5 นาที ไม่เสียเลือด แผลหายเร็ว ถือเป็นนวตกรรมในการรักษาโรคนี้
       
       ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2542-2547 ได้รักษาผู้ป่วยไปแล้วกว่า 4,000 ราย จำนวนกว่า 6,100 นิ้ว ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 26 ราย ผลการรักษาได้ผลดี ผู้ป่วยทุกรายพอใจสูงมาก
       เพราะไม่มีแผล เสียค่าใช้จ่ายถูกเพียง 2,000กว่าบาท หากรักษาด้วยการผ่าตัดต้องเสียเงินประมาณ 3,000-4,000 บาท และโรงพยาบาลเลิดสินพร้อมขยายเทคโนโลยีการรักษาดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศด้วย เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
       
       นายแพทย์วิชัยกล่าวต่อไปอีกว่า อย่างไรก็ดีโรคนิ้วล็อกนั้นป้องกันได้ โดยระมัดระวังการใช้นิ้วมืออย่างถูกสุขลักษณะ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่ปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้ โดยในกลุ่มที่ตีกอล์ฟแนะนำให้ใส่ถุงมือตีกอล์ฟ และหรือใส่ถุงมือผ้าหนาๆขณะปฏิบัติงาน เช่นจับกรรไกรตัดกิ่งไม้ การยกลังน้ำขวด ลังน้ำดื่ม ลังผลไม้ ถังแก็ส หากเป็นกลุ่มแม่บ้านไม่ควรหิ้วถุงหนักๆ นานๆ หากหิ้วตะกร้า ควรใช้ผ้าขนหนูหรือกระดาษห่อที่หูหิ้วเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการกำนิ้วมือ ลดการงอของนิ้ว
http://gotoknow.org/file/vijitpornkul/Holder-holding%20with%20holder.jpg
ข่าวอื่นๆ ในหมวด
ส่ง 6 ชุดเยียวยาจิตใจลง 4 จ.เหยื่อสึนามิ
เข้ม! เฝ้าระวังโรค 6 จังหวัดเหยื่อคลื่นยักษ์
สั่งตู้คอนเทนเนอร์ 20 ตู้ แช่เย็นศพเหยื่อคลื่นยักษ์
มธ.รังสิต เปิดบ้านรับชาวต่างชาติเหยื่อคลื่นยักษ์สึนามิ
ระวัง! อาสาสมัครกู้ภัยติดเชื้อสิ่งสกปรกในน้ำ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6689เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2005 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท