ToPSTAR


 

ToPSTAR : เครื่องมือการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งพัฒนาขึ้นมาสำหรับการพัฒนาระบบคุณภาพในโรงเรียน เรียกว่า ToPSTAR ขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนคือ

กระบวนทัศน์ของการประพัฒนาคุณภาพการศึกษา(Think over) <p>แผนยุทธศาสตร์ (Planning)</p><p>การบริหารระบบคุณภาพ (System)</p><p>การจัดโครงสร้างและทีมพัฒนาคุณภาพ (Team)</p><p>การประเมินทบทวน (Asessment and Reflection)</p><p> ในการพัฒนาระบบคุณภาพตามแนวทางนี้จะต้องอาศัยแนวคิดสำคัญ 3 ประการ คือ แนวคิดเชิงระบบ (system thinking) แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (strategic thinking) และการเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม (team learning)</p><p>แนวคิดเชิงระบบ (system thinking)
          “ระบบ” ในโรงเรียน เป็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในองค์กรที่รวมกันให้องค์กรขับเคลื่อนตามบทบาทภารกิจ ซึ่งในการจัดระบบและการบริหารระบบในโรงเรียนนั้นเป็นการจัดกลุ่มมาตรฐานและตัวบ่งชี้กับงานหรือโครงการที่โรงเรียนดำเนินการให้เป็นระบบย่อยๆ ที่มีขั้นตอนการทำงาน วิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และบันทึกการทำงาน แล้วบริหารระบบนั้นด้วยกระบวนการ PDCA </p><p>ระบบย่อยในโรงเรียนที่สะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินภายนอก 27 มาตรฐาน 91 ตัวบ่งชี้ มีอยู่ 10 ระบบย่อย ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้
          1) ระบบหลัก (Core system)  ได้แก่ ระบบการเรียนรู้  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  และระบบกิจกรรมนักเรียน
          2) ระบบสนับสนุน  (Support system)  ได้แก่  ระบบการนำองค์กร  ระบบยุทธศาสตร์ ระบบบริหารจัดการ ระบบการดูแลคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ  ระบบการพัฒนาบุคคลากร  ระบบชุมชนสัมพันธ์ และระบบสารสนเทศ</p><p>แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์  (strategic thinking) 
          การพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพบรรลุ     มาตรฐานการศึกษา และเป็นที่ยอมรับของผู้เรียน  ผู้ปกครอง  และชุมชนนั้นต้องมีกระบวนการทำงานเชิง      ยุทธศาสตร์คือ มีการวิเคราะห์สภาพการณ์ทั่วไปและสภาพการณ์เฉพาะของโรงเรียน   กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน  การวิเคราะห์จุดแข็ง / จุดอ่อนของระบบต่างๆ ในโรงเรียน  การกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็นยุทธศาสตร์ปรับปรุงระบบที่เป็นจุดอ่อน และยุทธศาสตร์ดำรงรักษาระบบที่เป็นจุดแข็งของโรงเรียน  การจัดทำจุดเน้น และการจัดทำแผนปฏิบัติการ</p><p>การเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม (team learning) 
          โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างและทีมทำงานที่เหมาะสมซึ่งสามารถแบ่งทีมตามบททาทและหน้าที่ของทุกคนได้เป็น 3 ทีม คือ
          (1) ทีมนำ  เป็นทีมที่มีบทบาทชี้นำ  กำหนดทิศทางการพัฒนา และนำเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน ขณะเดียวกันก็มีบทบาทในการเสริมสร้างพลังร่วม (empowerment) ในการทำงานให้ทุกคน
          (2) ทีมพัฒนาคุณภาพ มีบทบาทในการสนับสนุน ประสานงาน และคอยช่วยเหลือให้กับทีมอื่นๆ  รวมทั้งต้องวิเคราะห์สังเคราะห์ และดำเนินการเชิงกลยุทธ์ให้เกิดการพัฒนาระบบคุณภาพขึ้นมา และปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องในโรงเรียน
          (3) ทีมทำ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพในระบบย่อยต่างๆ ที่ตนเองมีส่วนร่วมและที่รับผิดชอบ โดยมีบทบาทในการร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ ร่วมประเมินผล และร่วมปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดีขึ้น
</p>

หมายเลขบันทึก: 66743เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนท่านวิชิต

 เป็นประโยชน์มากครับ ทีมนำ ทีมทำ ทีมพัฒนา น่าเรียนรู้ครับ

  • เครื่องมือใหม่ กับ การเรียนรู้ใหม่ๆ (ความรู้ ใช้กับคำว่าพอเพียงไม่ได้ครับ)
  • ร่วมเรียนรู้ เรื่องเล่าพี่วิชิตครับ
  • ขอบคุณเรื่องเล่า - สาระดีดี มีประโยชน์ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท