วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2


อ.ดวงใจ  พรหมพยัคฆ์ และ อ.พรพิมล ชัยสา

วิจัยเรื่อง "การทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล พัฒนารูปแบบการเรียนแบบทีมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ"

รูปแบบการวิจัย (Research Design) เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

ระยะที่ 1 

•1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎี

•2 ผู้วิจัยศึกษาสภาพการเรียนทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ  

ระยะที่ 2 
•1. สร้างรูปแบบการจัดการเรียนแบบเป็นทีม

•2. นำรูปแบบการจัดการเรียนที่ได้สร้างขึ้น ไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ รุ่น 68 จำนวน 18 คน
ระยะที่ 3 

• นำรูปแบบการจัดการเรียน ทดสอบประสิทธิภาพกับนักศึกษา รุ่น 69 จำนวน 144 คน ศึกษาแบบหนึ่งกลุ่มวัดซ้ำ (Single – Group Time Series Design)
ระยะที่ 4 

•ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนแบบทีม 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยระยะที่ 1

•1) แนวทางการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับสภาพการเรียน การเรียนแบบทีม กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์ และนักศึกษา

•2) แบบสอบถามสภาพการเรียนการจัดการเรียนแบบทีม นักศึกษา
การวิจัยระยะที่ 2-3

•แผนการสอน

•แบบทดสอบ 2 ชุด สำหรับ TBL ที่เน้น การคิดวิจารณญาณ

•สื่อการสอน
การวิจัยระยะที่ 4

• 1) แบบวัดการคิดแบบมีวิจารณญาณ

•  1. ด้านการอนุมาน  จำนวน  14  ข้อ

•  2. ด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น  จำนวน  10  ข้อ

•  3. ด้านการนิรนัย  จำนวน  10  ข้อ

•  4. ด้านการตีความ  จำนวน  10  ข้อ

•  5. ด้านการประเมินข้อโต้แย้ง  จำนวน  10  ข้อ
**** ขณะนี้สิ้นสุดการวิจัยระยะที่ 1  กำลังดำเนินการในระยะที่ 2 •กำลังวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ในระยะที่ 1
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

กัลยาณมิตร ยินดีแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการเรียนการสอนและเทคนิคต่างๆ
•การเปิดใจรับฟังข้อคิดเห็นของนักศึกษา เกี่ยวกับการจัดการเรียน
•ทีมที่ดี  เคมีตรงกัน
•การสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน
•การสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านงบประมาณ  เวลา
•การวางแผนที่ดี  

อ.จันทร์จิรา   อินจีน, สิรีวัฒน์   อายุวัฒน์ และ ศุภวรรน   ยอดโปร่ง
วิจัยเรื่อง "ความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3"

ความเป็นมา 

  1. ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ใช้ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน แต่รพ.สต. ใช้ INHOME-SSS 
  2. อาจารย์ผู้สอนพบปัญหาในใช้ 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนแล้วนักศึกษารวบรวมปัญหาไม่ค่อยได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

•1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ต่อการใช้แบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS

•2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับ จุดเด่น และจุดด้อยของแบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS
ผลการวิจัย

       นักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 47 คน (ร้อยละ 88.7) อายุระหว่าง 21 ถึง 23 ปี พบอายุ21 ปีมากที่สุดคือ จำนวน 38 คน (ร้อยละ 71.7 ) โดยมีอายุเฉลี่ย 21.32 ปี  นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.23; S.D. = 0.11) โดยนักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS ในประเด็นเกี่ยวกับเป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลมาวางแผนการพยาบาลได้มากที่สุดและเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างทีมสุขภาพเพื่อการดูแลครอบครัวอย่างต่อเนื่อง (= 4.34; S.D. = 0.68และS.D. = 0.59) รองลงมาคือ ระยะเวลาการบันทึกในแบบประเมินเหมาะสมและเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการดูแลครอบครัวแบบองค์รวม (= 4.28; S.D. = 0.57, = 4.23; S.D.=0.67) ตามลำดับ ดังตารางที่ 1

ตาราง 1  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับความพึงพอใจนักศึกษาพยาบาลต่อการใช้แบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุนชน 1 ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

รายการประเมิน

SD

ระดับ

1.ระยะเวลาการบันทึกในแบบประเมินเหมาะสม

4.28

0.57

มาก

2.เป็นเครื่องมือที่สามารถในการใช้งานได้สะดวก  ง่าย  ไม่ซับซ้อน

4.08

0.73

มาก

3.เป็นเครื่องมือที่ออกแบบได้เหมาะสมสามารถระบุปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการได้

4.13

0.68

มาก

4.เป็นเครื่องมือที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลมาวางแผนการพยาบาลได้

4.34

0.68

มาก

5.เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการดูแลครอบครัวแบบองค์รวม

4.23

0.67

มาก

6.เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างทีมสุขภาพเพื่อการดูแลครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

4.34

0.59

มาก

รวม

4.23

0.11

มาก

        นักศึกษามีความคิดเห็นว่าแบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS มีจุดเด่นเกี่ยวกับสามารถใช้เก็บข้อมูลได้ครบถ้วนไม่ซับซ้อน  เก็บง่ายมากที่สุด จำนวน 26 คน ( ร้อยละ 49.1) รองลงมาคือสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยได้ จำนวน 11 คน ( ร้อยละ 20.8 ) ดังตารางที่ 2

ตาราง 2 จำนวน  ร้อยละของจุดเด่นของแบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง     INHOME-SSS

จุดเด่น

จำนวน

ร้อยละ

ระบุภูมิหลังในอดีตเชื่อมโยงให้เห็นพฤติกรรม สาเหตุหรือปัญหาของผู้ป่วยได้

3

5.7

สามารถมองภาพรวมของปัญหาในผู้ป่วยได้

3

5.7

สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยได้

11

20.8

เหมาะสมกับการเยี่ยมบ้าน

1

1.9

มีความชัดเจนของข้อมูลที่เก็บรวบรวม

4

7.5

เก็บข้อมูลได้ครบถ้วนไม่ซับซ้อน  เก็บง่าย

26

49.1

แบบฟอร์มชัดเจน

1

1.9

สามารถใช้สอบถามข้อมูลครอบครัวได้จริง

2

3.8

ครอบคลุมถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย

1

1.9

เก็บข้อมูลครบองค์รวม

1

1.9

            นักศึกษามีความคิดเห็นว่าแบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง INHOME-SSS ไม่มีจุดด้อยมากที่สุด จำนวน 17 คน ( ร้อยละ 32.1 ) แต่พบว่าจุดด้อยที่พบมากที่สุดคือบางหัวข้อยังไม่ชัดเจน ไม่ละเอียด จำนวน 14 ( ร้อยละ 26.4 ) รองลงมาคือ แบบฟอร์มใช้งานไม่สะดวก เป็นตาราง และคำถามเข้าใจยาก ซับซ้อน จำนวน 6 คน (ร้อยละ 11.3 ) ดังตารางที่ 3

ตาราง 3 จำนวน  ร้อยละของจุดด้อยของแบบประเมินปัญหาความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวตามแนวทาง     INHOME-SSS

จุดเด่น

จำนวน

ร้อยละ

ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลในอดีตและภูมิหลัง

1

1.9

บางหัวข้อยังไม่ชัดเจน ไม่ละเอียด

14

26.4

ไม่สามารถระบุปัญหาผู้ป่วยได้ชัดเจน

2

3.8

แบบฟอร์มใช้งานไม่สะดวก เป็นตาราง

6

11.3

ใช้เวลาเก็บข้อมูลมาก

2

3.8

ละเอียดมากเกินไปในบางข้อมูล

3

5.7

คำถามเข้าใจยาก ซับซ้อน

6

11.3

ต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้แบบประเมิน

2

3.8

ไม่มีจุดด้อย

17

32.1

แนวทางการพัฒนา


พัฒนาการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลองที่มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนขึ้น 

      หมายเลขบันทึก: 661924เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2019 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2019 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (32)

      เคยทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาน.ศ.มาหลายปีแล้ว เมื่อได้รับฟังวิทยากรและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ของวิทยาลัย ก็ทำให้มีแนวคิดที่จะกลับมาพัฒนาการประจำสู่การวิจัย

      ขอชื่นชมผู้ทำวิจัย เกี่ยวกับ R to R เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์กับนักศึกษาและรูปแบบการเรียนการสอนที่ดีซึ่งเกิดจากปัญหาที่เราพบจริงๆ และสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ R to R สำเร็จได้ก็คือ 1.ตัวผู้วิจัย ที่มีใจรักในงานต้องการพัฒนางาน และมีแรงจูงใจภายในเกี่ยวกับการทำวิจัยและคิดว่าการทำวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก 2.มีผู้ช่วยเอื้อำนวยช่วยเหลือเกี่ยวกับการทำวิจัย ซึ่งวพบ.พุทธชินราช มีงานวิจัยและKMที่เข้มแข็งน่าจะเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยพัฒนา R to R ในองค์กรให้มากขึ้น และ3.ผู้บริหารเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนางานด้วยการทำวิจัย R to R พร้อมทั้งให้การส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่งผลลัพธ์สูงสุดคือเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนทำงานมีความสุข ผู้รับบริการ/นักศึกษาก็มีความสุขขอบคุณค่ะ..อ.สุทธามาศ อนุธาตุ

      ได้ฟังR2Rครั้งนี้ทำให้ต้องกลับไปดูงานการเรียนการสอนในภาควิชาสุขภาพจิตฯว่ามีประเด็นใดที่จะนำมาทำR2Rที่ตอบโจทย์ในการพัฒนานักศึกษาพยาบาลของเราให้มีคุณลักษณะเป็นไปตามผลลัพท์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้มีประสิทธิผลมากๆๆๆ คะ ขอบคุณนะคะ

      มีการพัฒนางานที่ทำประจำ แต่ยังไม่มีการจัดเก็บและบันทึกผลของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และไม่ได้เครื่องมือวัดที่ชัดเจน จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่สามารถนำไปต่อยอดได้ เมื่อได้ฟังการแลกเปลี่ยนวันนี้ทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบการพัฒนางานประจำดดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือต่อไป

      การทำ R2R แท้จริงแล้วเราทำเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอน ด้านทักษะต่างๆ ทางการพยาบาล และด้านการบริหารงาน การทำงานต่างๆ ถึงเวลาที่ต้องกลับมาพัฒนางานของตนเอง โดยเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูล ทำวิจัยจากสิ่งที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้ได้วิธีการหรือผลลัพธ์ของงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

      งานวิจัย R2R มีหลายระดับ แต่เป้าหมายสำคัญ คือ เริ่มต้นจากปัญหาเพราะเป็นการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหา ตนเองจะทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาของนักศึกษาในชั้นเรียน แต่มีเป้าหมายเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ด้วยอีกเป้าหมายหนึ่ง จึงต้องผ่านกระบวนการขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้วย และพบว่าวิจัยจากงานประจำสามารถดำเนินการได้ทุกปี เพราะเมื่อเราทำวิจัยประเด็นหนึ่งในปีที่ผ่านมา พอปีถัดไปเราจะพบวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของนักศึกษาในแนวใหม่ที่สามารถพัฒนาเป็นงานวิจัยได้อีกเรื่องเช่นกัน

      การวิจัย R2R เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับการพัฒนางานประจำของเรามาก เพราะเป็นการแก้ปัญหาในงานที่ทำเป็นประจำ และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นปัญหาที่พบคือการเขียนและการเผยแพร่ผลงาน ที่ผู้วิจัยอาจจะพบได้ และขอขอบคุณงานวิจัยที่นำเสนอสิ่งดีๆให้อาจารย์ผู้ปฏิบัติค่ะ

      การร่วมแลกเปลี่ยน R2R ครั้งนี้ ทำให้ตระหนักว่าถึงแม้การทำงานจะมีการพัฒนางานที่ทำอยู่เป็นประจำ แต่ถ้ามีการพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นรูปธรรม ผลลัพธ์ของงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดประโยชน์กับผู้อื่นมากขึ้น จึงทำให้เกิดพลัง+++++++ค่ะ

      แต่ละภาควิชามีเทคนิคหรือวิธีการในการสะท้อนคิดที่แตกต่างกัน ทำให้ได้รับความรู้และวิธีการในการสะท้อนคิดที่แตกต่างออกไป

      ได้รับแรงบันดาลใจจากอาจารย์ทั้งสองท่านค่ะ

      จะนำหลักการไปพัฒนากับวานของตัวเองนะคะ

      การวิจัยนี้ ช่วยให้เกิดการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น (สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์)

      จินดาวรรณ เงารัศมี

      ชื่นชมทีมวิทยากร ที่สามารถรังสรรค์เวลา องค์ความรู้จากงานที่ทำประจำ ให้เกิดประโยชน์ในรูปงานวิจัย

      เป็นงานวิจัยและการจัดการเรียนที่ดีเน้นให้นักศึกมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

      โดยส่วนตัวยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำ แต่การ KM ครั้งนี้คิดว่าจะนำไปทดลองทำในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนค่ะ

      ได้เห็นกระบวนการ และเกิดแนวทางในการสร้างงานวิจัยจากการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างงานจากการจัดการเรียนการสอนได้เพิ่มขึ้น.

      ก่อนนี้ไม่คิดว่าจะง่ายขนาดนี้ พอได้อ่านตัวอย่างก็ทำให้เข้าใจมาขึ้นครับ

      เป็นงานวิจัยที่ดี ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนางานประจำให้เกิดประสิทธิภาพดีมากขึ้นค่ะ

      เป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง และน่านำไปประยุกต์ใช้ในการสอนมากคะ และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

      เป็นแนวคิดและหลักการที่ดี อยากทำวิจัยมากเลยค่ะ แต่ต้องทำ R2R เรื่องการบริหารจัดการงานกับเวลา กับ work - life balance ก่อนเลยค่ะ

      R2Rช่วยแก้ปัญหาในการทำงานทุกอย่างสำหรับผู้ที่อยากพัฒนางานของตนให้ดีขึ้น กระบวนการนี้มีคุณค่ามากและช่วยให้การทำให้ทราบจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงตรงจุด

      R2Rช่วยแก้ปัญหาในการทำงานทุกอย่างสำหรับผู้ที่อยากพัฒนางานของตนให้ดีขึ้น กระบวนการนี้มีคุณค่ามากและช่วยให้การทำให้ทราบจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงตรงจุด

      อัญชลี แก้วสระศรี

      การวิจัยแบบ R2R เป็นวิธีการวิจัยที่จะช่วยในการพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนได้

      R to R จากงานประจำสู่งานวิจัย ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนางาน ควรมีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งการเสวนาและการเขียน paper เผยแพร่ ยังประโยชน์พัฒนาต่อยอดจากงานประจำ สู่การวิจัย …. เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงอยากเรียนรู้และพัฒนาเรื่อง R to R มากขึ้น

      วิทยากรสามารถอธิบายได้เข้าใจง่าย และเห็นถึงประโยชน์ของการทำวิจัยแบบ R2R

      ได้เห็นเทคนิคของอาจารย์ท่านอื่น ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการต่อยอดงานวิจัยของตนเองต่อไปในอนาคต ขอบคุณคะ

      ควรส่งเสริมให้มีการทำ R2R ในแต่ละงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางาน

      เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยในชั้นเรียนมากๆ เลยค่ะ

      เป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการเรียนการสอน และการวิจัยในชั้นเรียนมากๆ เลยค่ะ

      ฟังบรรยายแล้วสร้างแรงบันดาลใจได้ดีมากเลยค่ะวิทยากรบรรยายได้ดีมากค่ะจะนำไปพัฒนาในการทำงานค่ะ

      สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดงานประจำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นค่ะ และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อองค์กร งานที่รับผิดชอบ

      เป็นแนวทางในการทำวิจัยแบบ R2R ที่ชัดเจนมากๆ และนำไปใช้เป็นแนวทางการทำวิจัยในภาควิชาต่างๆ

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท