การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้


ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ด้วยการ

             จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 

ผู้วิจัย   :  นภาภร  อักษรเจริญสุข, โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม  อำเภอกันทราลักษณ์   จังหวัด

             ศรีสะเกษ  ปีการศึกษา  2561.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม  2)  สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้   3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้  และ  4)  ประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย  ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 6 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  (Content Analysis)

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสมและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เรื่องคลื่นกลชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD 2)  แบบประเมินความเหมาะสมแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เรื่องคลื่นกล และ  4)  แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ()  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  () และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร /

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3  จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ()   ค่าร้อยละ (Percentage)  และการทดสอบค่าที  (t-test แบบ Dependent Sample) 

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 34 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   

ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ที่ส่งให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนต่ำเกิดจากนักเรียนขาดความสนใจในการเรียนเพราะเป็นวิชาที่มีสาระการเรียนรู้ค่อนข้างยากมีการคิดคำนวณมากโดยเฉพาะหน่วยการเรียนรู้เรื่องคลื่นกลที่มีเนื้อหามากและค่อนข้างยาก รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูไม่น่าสนใจ  ขาดการใช้สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ นักเรียนไม่มีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน  ส่วนแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คือ ครูผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ในแบบกลุ่มเล็กๆ ให้นักเรียนคละความรู้ ความสามารถเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนที่อ่อนกว่า ครูควรจัดทำสื่อการเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถเรียนได้ทั้งในห้องและนำกลับไปฝึกทบทวนที่บ้านได้ และครูผู้สอนควรใช้เทคนิคการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพราะการสอนด้วยวิธีนี้จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
  2. 2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD มีจำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง ใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD จำนวน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการนำเสนอบทเรียนต่อชั้นเรียน 2)  ขั้นการเรียนกลุ่มย่อย  3)  ขั้นการทดสอบย่อย 4)  ขั้นตรวจผลการทดสอบและประเมินความก้าวหน้า และ  5)  ขั้นรับรองผลงานและรับรองกลุ่ม ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ส่วนชุดกิจกรรมการเรียนรู้  วิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวน 9 ชุด ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผลการหาประสิทธิภาพการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ     80.74 /81.17  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  3. 3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
  4. 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
หมายเลขบันทึก: 661921เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2019 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2019 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท