การรังแกกันในสังคม


การรังแกและถูกรังแกของเด็กนเด็กในรั้วโรงเรียน ในยุคสมัยนี้เห็นมีมากขึ้น อาจเนื่องด้วยการเข้าถึงของข้อมูข่าวสารที่ง่ายขึ้น จึงเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ถูกหยิบยกเปิดประเด็น ใช้เวลานั่งสังเกตการณ์เรื่องนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็ก อันที่จริงมันก็มีมานาน มีเทรนหนึ่งคิดว่าน่าสนใจ
.
การรังแกกันในสังคม หากสังเกตลึกลงไปจะพบว่า มันเกิดในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นที่ โรงเรียน ในสังคมการทำงาน เกิดขึ้นทุกๆที่
.
แต่ที่น่าสนใจที่สุด ส่วนตัวคิดว่า มีสองจุด ที่เราอาจเคยมองข้ามดูเบากันมานาน ทั้งๆที่ ทั้งสองจุดนี้ หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น สองคือผลพวงร้ายที่กลายเป็นความเคยชิน นั้นก็คือ
.
หนึ่ง ในระดับครอบครัว กาลเทศะ เรามักจะคุ้นเคยคำๆนี้ ในการสื่อเรื่องผู้น้อยที่ขาด แต่การผิดกาลเทศะของผู้ใหญ่ อันนี้สำคัญมากที่เราต่างละเลยเคยชิน เป็นหนึ่งความ Complacency กล่าวคือ ปัญหาของวุฒิภาวะที่แตกต่างกัน การรับสื่อที่มีปัญหา การแซวการล้อการสนุกของผู้ใหญ่ที่กระทำต่อเด็กที่เดียงสายังไม่พร้อมต่อรับสื่อทำความเข้าใจ ยกตัวอย่าง ญาติหรือในครอบครัว มาแกล้งลูกหลานคนพี่ ว่าอีกหน่อยพ่อแม่ก็จะไม่รักหนูแล้ว เพราะมีน้องใหม่แล้ว เรื่องทำนองนี้ ผู้ใหญ่มองข้ามถึงการรับสื่อการตีความ ของเด็กวัยนั้น ว่าจะรับสื่อของตัวเองได้จริงๆหรือไม่ และมันก็สะสมเป็นปมการถูกรังแกในตัวเด็กเรื่อยมา บางคนอาจที่ผ่านมาได้ เด็กบางคนอาจเก็บฝังใจการกลายเป็นวาดระแวง หึงหวงขี้อิจฉาพอเติบใหญ่
.
สอง การมีความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น พฤติกรรมนี้ได้ถูกใช้ในการเสพความสุข ผ่านช่องทางของตลกมายาวนาน ผิวเผินมันอาจไม่มีอะไร บางคนอาจสรุปตีความว่า คิดเยอะคิดมากไป แต่เดี๋ยวก่อน การที่คนหนึ่งถูกตีหัวแล้วเราได้รอยยิ้มออกมา มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับรูปประวัติศาสตร์ของสังคมไทย ที่เด็กผู้ชายคนหนึ่งยืนหัวเราะสะใจกับศพที่ถูกแขวนและกำลังถูกทำร้าย
.
เมื่อเรามองสิ่งที่เป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ เมื่อเรามองเรื่องแบบนี้ว่า ไร้สาระเชื่อมโยงกันไม่ได้ เราเป็นคนดีมีจิตใจพอที่จะแยกแยะ เราก็ประมาทตัว อีกความ Complacency ในตนที่ชัดเจน
.
หากเรานำตัวเร้าที่มองไม่เห็น ทั้งริยาอฺในตน ไชยตอนตัวกวน มันไม่ไกลเกินจริงเลยที่ความเผลเรอของเราจะถูกพัฒนาพัฒนาไปเป็นความรุนแรง
.
การรังแกผ่าน การเล่นพรรคเล่นพวก เส้นสาย เห็นแก่ คงไม่ยากเกินจะบัญญัติไตรยางค์
.
ว่าก็นึกถึงบทสนทนาในคอมเม้นท์หนึ่งในโพส์ตของเพื่อนที่แชร์เรื่องอิจฉาริษยา ที่อาจมีจุดเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันไม่จุดใดก็จุดหนึ่ง
.
#อิจฉาคืออยากมีในสิ่งที่อีกฝ่ายมี 
#ริษยาคือรู้สึกหงุดหงิด หมั่นไส้ เกลียดเวลาเห็นอีกฝ่ายมี และอาจต่อไปจนถึงอยากเห็น เฝ้ารอความพังพินาศหรือความสูญเสียของอีกฝ่าย
.
Astaqfirullah auzubillah wAllahua’lam
#EDM ]

www.facebook.com/hasan.awae/posts/10213719950621530

หมายเลขบันทึก: 661441เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2019 04:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2019 04:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท