ย้อนรอยอดีตปากพะยูน(เมืองป้องปุตร ป้องปุดตะระ ในอดีต) 4 เมืองบางแก้ว


แต่กิจกรรมทางศาสนาจะเกี่ยวข้องกับขึ้น 15 ค่ำอยู่มาก หรือเรียกกันว่าวันเพ็ญ หรือวันเพ็งตามภาษาใต้เรา โดยมีผู้นำในการประกอบศาสนกิจ คือพระภิกษุสงฆ์นั่งบนอาสน์ หรือใช้อาสน์รองนั่ง สถานที่นั้นเลยเรียกว่าเพ๊ญอาสน์ หรือเพ็งอาสน์ หรือเพ็งอาด เดี๋ยวนี้เป็นชื่อหมู่บ้านในเขตตำบลฝาละมี(อำเภอปากพะยูน) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านควนพระ และทางทิศตะวันตกของบ้านบ้านบางขวน(อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง).......ภูมิบ้านนามเมืองที่ปรากฎอยู่

       สำหรับความเจริญรุ่งเรืองพุทธศาสนา    และพุทธศาสนาของเมืองป้องปุตรนั้นได้ขจรไกลไปถึงเมืองปาเล็มบังบนเกาะ

สุมาตรา  อันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย  และเมืองตามพรลิงค์ อันเป็ศูนย์กลางนอาณาจักรตา มพรลิงค์ตลอดจนถึง

อาณาจักรจามปาและอาณาจักรเจนละในประเทศเวียตนาม และเข้าสู่ประเทศจีน......

     จากหนังสือพิมพ์ปากพะยูนรีวิว  ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2538 บอกว่าพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระสรีรัตนศาสดา

ราม  ก็สร้างขึ้นที่บ้านพระเกิดเช่นกัน  ตามหลักฐานของเมืองสทิงพารานสีบอกว่า  พระแก้วมรกตเมืองสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญ

ไปประดษฐานไว้ที่เมืองใหม่ที่สร้างขึ้น   ทางทิศเหนือของเมืองป้องปุตร  เมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ตั้งอยู่ที่ปากน้ำ เช่นกัน  เมืองนี้จะ

มีชื่อว่าเมืองปาฎิบุตรหรือไม่ไม่มีใครทราบ หลังจากได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานแล้ว ชาวเมืองก็เรียกเมืองนี้ว่า

 เมืองบางพระแก้ว พระแก้วมรกตได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้เกือบ   1000 ปี ระยะนั้นเป็นระยะที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจ

ลง  อาณาจักรตามพรลิงค์ กำลังมีความรุ่งเรืองทางด้านการค้าและพุทธศาสนา  เมืองป้องปุตรและเมืองบางพระแก้ว ก็เป็นเมือง

ตกอยู่ในอณาจักรตามพรค์ลิงค์  พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ผู้ครองอาณาจักรตามพรลิงค์ มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้เสด็จมา

เมืองบางพระแก้ว และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นไปเผยแพร่ทางเหนือ แต่จะนำไปประดิษฐานที่ไดไม่มีใครทราบ 

เพิ่งมาทราบอีกทีว่าพระแก้วมรกตถูกอัญเชิญมาจากเมืองหลวงพระบางโดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกตอนช่วงปลายสมัย

กรุงธนบุรี ส่วนเมืองพระแก้วเมื่อไมีพระแก้วมรกตเสียแล้ว ก็เรียกขานกันว่าเมืองบางแก้ว หรือวัดตะเขียนบางแก้วหรือบางแก้ว

ใต้....

     ดังจะเห็นได้ว่าเมืองตามพรลิงค์ หรือเมืองนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์กันจริง ดังมีหลักฐานให้เห็นถึงความเหมือนของพระ

บรมธาตุของทั้งสองเมือง  บ่งบอกให้คนรุ่นหลังได้รู้ว่าพระบรมธาตุทั้งสองสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน  แต่พระธาตุของเมืองไดสร้าง

ก่อนสร้างหลังยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่.....

     กิจกรรมทางพุทธศาสนาโดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำในพิธีกรรมถูกกำหนดขึ้นที่เกาะเล็กๆ ทางด้านทิศเหนือของตัวเมือง

  เพราะตัวเกาะแห่งนี้มีความสงบ  ผู้มีจิตเลื่อมใสก็ได้เข้าไปร่วมโดยกำหนดกิจกรรมทางศาสนาขึ้นเดือนละ  สี่ครั้ง

คือ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ วันแรม 14ค่ำหรือ 15ค่ำ แต่กิจกรรมทางศาสนาจะเกี่ยวข้องกับขึ้น 15 ค่ำอยู่มาก

หรือเรียกกันว่าวันเพ็ญ หรือวันเพ็งตามภาษาใต้เรา  โดยมีผู้นำในการประกอบศาสนกิจ คือพระภิกษุสงฆ์นั่งบนอาสน์ หรือใช้อาสน์

รองนั่ง  สถานที่นั้นเลยเรียกว่าเพ๊ญอาสน์ หรือเพ็งอาสน์ หรือเพ็งอาด เดี๋ยวนี้เป็นชื่อหมู่บ้านในเขตตำบลฝาละมี(อำเภอปากพะยูน)

ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้านควนพระ และทางทิศตะวันตกของบ้านบ้านบางขวน(อำเภอปากพะยูน จังหวัด

พัทลุง).......ภูมิบ้านนามเมืองที่ปรากฎอยู่     บ้านวอญ่า ยี่สิบสี่เมษา สองห้าหกสอง

หมายเลขบันทึก: 661319เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2019 05:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2019 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ประวัติศาสตร์และโราณคดีเป็นเรื่องก่อนเราเกิด ความชัดเจนถูกต้องต้องประมวลเรื่องราวจากข้อมูลทุกด้านและปลอดจากการเมือง ถือเป็นชุดความรู้ที่ทรงคุณค่าต่ออนุชนรุ่นต่อไป

ขอบคุณ อาจารย์ จำรัส ที่กรุณาชี้แนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท