ย้อนรอยอดีตปากพะยูน(เมืองป้องปุตร ป้องปุดตะระ ในอดีต) 3


ดังที่ได้พบเห็นว่าหากมีกิจกรรมทางศาสนาพุทธแล้ว กิจกรรมทางศาสนาพราหมณ์ก็จะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน พิธีกรรมนี้จะมีขึ้นทุกภาคของประเทศไทย ด้วยสาเหตุว่า ศาสนาพุทธและศาสนาหราหมณ์มีศูนย์กลางเผยแพร่อยู่ที่เดียวกัน คือที่เมืองป้องปุตรแห่งนี้เอง... .(จนมีคำกล่าวกันว่า พิธีกรรมต่างที่เป็นของพราหมณ์ ลามเข้ามาหาพุทธ แล้วหลุดมาอยู่ในอิสลาม...

กำเนิดอารยธรรมในภูมิภาคแห่งนี้ที่เชื่อมโยงเมืองป้องปุตร    .....................

       ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคแห่งนี้ จึงทำให้เกิดชุมชนริมฝั่งน้ำน้อยใหญ่  ตลอดจนเมืองโบราณที่พบขึัน

มาภายหลัง  เช่นชุมพร ท่าชนะ ไชยา  พุนพิน กาญจนดิษฐ์  สิชล  ท่าศาลา ตะโหมด สทิงพระ ชะอวด  ร่อนพิบูลย์

นครศรีธรรมราช ตะกั่วทุ่ง คลองท่อม กาญจนบุรี  ราชบุรี นครปฐม

และอิ่นๆ รวมทั้งปากพะยูน

ได้มีชาวตะวันตกและตะวันออกเข้าติดต่อค้าขาย และนำอารยธรรมเข้ามา  อันประกอบด้วย โรมัน  เปอร์เซีย กรีก ลังกา อินเดีย

จีน

      แม้ว่าเวลาที่เกิดอารยธรรมจะล่วงเลยไปนานแล้ว   แต่ยังมีหลักฐานให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย

โบราณสถาน โราณวัตถุ การละเล่น  ...

     สำหรับในเขตอำเภอปากพะยูนนั้นมีเมืองสำคัญอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองป้องปุตร(ป้องปุดตะระ)

ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเชื่อมติดต่อกันระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน  ที่เมืองปะแลนดาหรืออำเภอปะเหลียน

เมืองป้องปุตรมีลักษณะเด่นกว่าเมืองอื่นคือ

  1 มีช่องแคบเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันได้สะดวก

2  ตรงปากแม่น้ำเมืองป้องปุตร  มีเกาะแก่งมากมาย  เหมาะแก่การจอดเรือ และหลบคลื่นลม

      ในปัจจุบันนี้คือ  พื้นที่ตำบลปากพะยูนและบางส่วนของตำบลดอนประดู่  ตำบลเกาะนางคำ ตำบลเกาะหมาก

หมู่เกาะสี่เกาะห้า เกาะใหญ่ เขาลัดปูน เขาใน........

                 เมืองป้องปุตรเป็นศูนย์กลางขยายอารยธรรม....

เมื่อระหว่างปีพุทธศตวรรษที่ 4  -  5 (พศ 400-500) ได้มีพ่อค้าชาวอินเดียผู้มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์

เข้ามาตั้งรกรากที่ชานเมืองเมืองป้องปุตร โดยคณะพ่อค้าผู้เผยแพร่ศาสนาพารหมณ์ได้เข้ามาตั้งรกรากที่ปากน้ำทางทิศใต้ติดกับ

อ่าวไทย  เรียกว่าบ้านทิศครู  หรือบ้านท่าทิศครู  ทิดหมายถึงผู้รู้ สำเร็จ ครูหมายถึงหนักแน่นบ้านท่าทิดครูยังคงมีชื่อเรียกขานจน

ถึงปัจจุบัน(หน้าท่าเทครูตำบลหารเทาอำเภอปากพะยูน)

และยังเห็นว่าบ้านท่าทิดครูยังมีวัตถุโบราณมากมายที่ชาวบ้านขุดพบเป็นระยะๆ

         ส่วนคณะพ่อค้าผู้เผยแพร่ศาสนาพุทธ ได้ตั้งรกรากที่ฝั่งเหนือของปากแม่น้ำ  ติดกับทะเลอ่าวไทยที่บ้านพระเกิด

ในระยะแรกชาวเมืองป้องปุตรยังไม่มีความเข้าใจในความหมายของศาสนาพุทธ พ่อค้าชาวอินเดียคณะนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น

มา  โดยสร้างจากหิน จากปูน จากมรกต  เพื่อให้ชาวเมืองได้บูชาสักการะ  ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพรามหมณ์

เป็นศาสนาที่ผู้คนนับถือปะปนกันไป ดังที่ได้พบเห็นว่าหากมีกิจกรรมทางศาสนาพุทธแล้ว 

กิจกรรมทางศาสนาพราหมณ์ก็จะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นกัน  พิธีกรรมนี้จะมีขึ้นทุกภาคของประเทศไทย

ด้วยสาเหตุว่า ศาสนาพุทธและศาสนาหราหมณ์มีศูนย์กลางเผยแพร่อยู่ที่เดียวกัน  คือที่เมืองป้องปุตรแห่งนี้เอง...

.(จนมีคำกล่าวกันว่า  พิธีกรรมต่างที่เป็นของพราหมณ์ ลามเข้ามาหาพุทธ แล้วหลุดมาอยู่ในอิสลาม....ผู้เขียน)

  (ข้อมูลจากหนังสือย้อนรอยอดีตปากพะยูน......) 

  บ้าน วอญ่า ยี่สิยเอ็ดเมษาสองห้าหกสอง

หมายเลขบันทึก: 661252เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2019 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2019 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Hi. Long time no see ;-) and thank you for the history of the area.

I have a question on this: …เมืองป้องปุตร(ป้องปุดตะระ) …ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเชื่อมติดต่อกันระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน ที่เมืองปะแลนดาหรืออำเภอปะเหลียน (ใน ตรัง)…” As I know from a visit to Southern Thailand years ago, there is a mountain range between Pattalung and Trang. This means that “…เมืองป้องปุตรมีลักษณะเด่นกว่าเมืองอื่นคือ 1 มีช่องแคบเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันได้สะดวก…” is not quite the description for today’s geography. Perhaps, back in time (2000 years ago) there was a river connecting Andaman seas and Gulf of ?Suvannabhumi? (Thailand). I think more detailed explanation on these แม่น้ำเชื่อมติดต่อกันระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน and มีช่องแคบเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลอันดามันได้ would be good for curious readers (like me) and children who learn Thai history.

Would you please explain or give us the name of that river or strait?

สวัสดีท่านsr ที่แวะมาอย่างสม่ำเสมอ
บันทึกเรื่องราวเรื่องเล่าความเป็นมาของเมืองที่ล่มสลายแล้าวเกิดเมืองใหม่ขึ้นมาเพื่อคนรุ่นหลังสนใจจะได้ตามรอยเรื่องราว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท