ฝึกตนเองบันทึกสด เป็นคุณลิขิต ตามคำสั่ง


 โครงการพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามณ โรงแรมตักสิลานคร

คุณลิขิต     

นายกัมปนาท อาชา ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ       

ฝ่ายจัดการความรู้ ของโครงการฯ       

ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ 

วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2549 ห้อง  TCC   

เวลา 9.00-11.00 น.

เรื่องเล่า : เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย       

ชื่อวิทยากร : ศ.ดร.ประดิษฐ์ เทิดทูล       

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ :               

  1. สด/ใหม่
  2. ถูกต้อง
  3. น่าสนใจ
  4. ไม่ซ้ำกับผู้อื่น       

เวลา 11.00 น. นำเสนอท่านละไม่เกิน 10 นาที 

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผู้เชี่ยวชาญร่วมวิพากษ์

  •  ศ.ดร.ประดิษฐ์ เทิดทูล
  • รศ.ดร.ปรีชา ประเทพา
  •  รศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช 

<<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่  1

ชื่อหัวข้อ  การผลิตพืชซีลีเนียมสูง….

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • ชื่อเรื่องตั้งได้ดี
  • อาจมีการบูรณาการร่วมกับศาสตร์ทางวิศวกรรมศาสตร์
  • ระเบียบวิธีวิจัยรัดกุม
  • มีการ review เอกสาร
  • งบประมาณตั้งได้ละเอียด แต่ในส่วนค่าตอบแทนของบุคคลควรเพิ่มรายละเอียดให้ชัดเจน
  • ควรมีการคิดต้นทุนจากกลุ่มตัวอย่างสัตว์ที่นำมาทดลอง
  • อาจจะหาทางขอเงินงบประมาณแผ่นดิน จาก สกว.
  • จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ควรมีการอ้างอิงให้สมเหตุสมผล
  • โปรแกรมที่นำมาวิเคราะห์ (SAS) มีอย่างอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ 

<<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่ 2 

ชื่อหัวข้อ  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซินไบโอติค เพื่อ…….

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  •  ข้อดีมีการทำวิจัยในแนวทางนี้มาแล้ว หลายเรื่อง จากทุนของ สกว., สกอ., มมส.
  •  อาจจะนำแนวทางนี้ไปเป็นโจทย์ต่อกับอาหารบรรจุกระป๋อง
  •  คุณสมบัติทางเคมีต่างๆ ควรเขียนบรรยายเรื่องราวแบบ Topic Base
  •  ระเบียบวิธีวิจัยละเอียด ค่อนข้างดี
  • สามารถกำหนด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ชัดเจนมาก 

       <<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่ 3

ชื่อหัวข้อ  หน่วยวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกล       

- รถตัดอ้อยขนาดเล็ก- รถเกี่ยวข้าวแบบรถไถนาเดินตาม- .............(บันทึกไม่ทันครับ)

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • มีการมองปัญหาจากสภาพของเกษตรกรเป็นแนวทาง
  • ชื่อโครงการยังไม่ชัดเจน ยังไม่น่าสนใจ
  • อาจจะชวนอาจารย์ทางสายเกษตรมาร่วมโครงการด้วย  เพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจัย
  • วัตถุประสงค์บางข้อกว้างเกินไป
  • หลักการและเหตุผลดี
  • ระเบียบวิธีวิจัยควรชี้สิ่งที่จะวัดให้ชัดเจน
  • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดีมาก เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
  • ใส่ชื่อผู้ที่อ้างอิงผิด

<<<<<<<<  >>>>>>> 

เวลา 13.00 น. นำเสนอท่านละไม่เกิน 10 นาที (ต่อ)

ท่านที่ 4

ชื่อหัวข้อ  การเพิ่มผลผลิตสัตว์และสัตว์ป่า (ไก่พื้นเมือง) 

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวม 

<<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่ 5

ชื่อหัวข้อ การเพาะการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของเห็ด

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • มีการดำเนินการในส่วนของเห็ดนี้มานาน
  • วัตถุดิบที่จะนำมาเพาะเห็ดนอกจากจะเป็นขี้เรื้อยแล้วจะมีอะไรได้อีก
  • มีเห็ดอะไรที่มีความน่าสนใจนำมาเพาะเพิ่มเติมอีก  
  • การกำหนดปัญหาการจัดจำแนกควรชัดเจน
  • วัตถุประสงค์ ขอบเขตต้องชัดเจน 

<<<<<<<<  >>>>>>>

 ท่านที่ 6

ชื่อหัวข้อ  การวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำปลาร้าส้มตำ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพและอาหารปลอดภัย

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • เป็นการวิจัยแบบมีส่วนรวม โดยลงพื้นที่ก่อนจะตั้งปัญหา
  • ทุนที่จะใช้ทำอาจจะบานปลาย 

<<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่ 7

ชื่อหัวข้อ  ไฮเปอร์ไอเดนทิตี้ในคลาสของพีชคณิตกราฟ x(yz)-(xx)(z(yy)

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • งานวิจัยนี้สัญญาว่าต้องตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
  • เป็นแบบ running and long term ดังนั้นควรมีการเตรียมวัสดุครุภัณฑ์ให้พร้อม
  • ดังนั้นการตั้งงบประมาณต้องชัดเจน 

<<<<<<<<  >>>>>>>

 ท่านที่ 8

ชื่อหัวข้อ  การศึกษารูปแบบและสภาพการเลี้ยงไก่บ้านไทยในระบบอุตสาหกรรม

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • สำรวจแบบมีส่วนร่วมก่อนนำมากำหนดโจทย์จากปัญหาที่แท้จริง 

<<<<<<<<  >>>>>>>

ท่านที่ 9

ชื่อหัวข้อ  การวิจัยพันธุกรรมข้าว

ข้อวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญ       

  • มีครุภัณฑ์พื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว 

<<<<<<<<  >>>>>>>

บันทึกนี้ยังไม่ครบทุกท่านนะครับต้องกลับมหาวิทยาลัยก่อน 15.30 

ก่อนที่ผมจะนำ Note Book มาบันทึกสด ผมได้ออกแบบไฟล์ word เตรียมมาล่วงหน้าแล้ว ว่าต้องการประเด็นในหัวข้อใดบ้าง  

เสียดายที่น่าจะมีรูปของผู้ที่มานำเสนอประกอบด้วย   

AAR สิ่งที่ได้ คือ

  1.  การจะพิมพ์บันทึกสด สำหรับการทำหน้าที่คุณลิขิต ควรฟังจับใจความจนจบก่อนแล้วค่อยมาสรุปประเด็นที่จะพิมพ์บันทึก
  2.  ส่วนที่บันทึกไม่ทันหรือถ้าอยู่ไม่ครบเวลา ควรกับไปขอดูวิดีโอที่ฝ่ายโสตฯบันทึกไว้ ในภายหลัง 

 ไฟล์ word <link>

KPN

คำสำคัญ (Tags): #msu#semina
หมายเลขบันทึก: 66063เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ส่วนที่บันทึกไม่ทันผมจะใช้จุดละไว้,,,,,,,,,
  • เนื่องจากนั่งอยู่หลังห้องสุด ไกลจากจอมาก มองไม่เห็น ก็เลยบันทึกตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้นนะครัย
  • สวัสดีครับคุณกัมปนาท
  • เป็นเทคนิคที่ดีมาก ๆ เลยครับ โดยเฉพาะเรื่องของการเตรียมตัวให้พร้อมที่สุดก่อนที่จะเข้าเวทีครับ ซึ่งนั่นก็ทำให้เห็นได้ว่ามีการทำ AAR จากประสบการณ์ที่ดียิ่งครับ ถึงสามารถแก้ไขและประยุกต์สิ่งต่าง ๆ ได้เยี่ยมขนาดนี้ครับ
  • ขอชื่นชมและขออนุญาตนำไปประยุกต์ใช้บ้างครับ
  • ขอชื่นชมครับ กับ การเป็นคุณลิขิต และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าครับ
  • ส่วนของ AAR ข้อ 1 เป็น Deep Listening คือ การฟังอย่างลึก ฟังอย่างตั้งใจ  ข้อ 2 คือ การใช้ IT ช่วยครับ
  • ขอบคุณเรื่องเล่าครับ
  • ขอบคุณแจ๊คมากที่ไป แม้ว่าจะงานมาก
  • คงต้องซักซ้อมกันต่อไปว่า จะบันทึกอย่างไร ?
  • แต่ไม่ใช่จดสิ่งที่วิทยากรพูดอย่างแน่นอนครับ (เทปบันทึกเสียง ทำงานได้ดีกว่ามาก)
  • อย่างที่กล้วยพูด ต้องใช้ Deep Listening  แล้วบันทึกประเด็นสำคัญ เน้นแนวปฏิบัติ ต่อท้ายด้วย ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
  • ตัวอย่างจาก UKM8 น่าจะใช้เป็นแนวได้ตามที่แจ้งไปแล้วในตอนทำ BAR
  • ขอบคุณค่ะ  แจ๊ค
  • เสียดายที่วันที่ 2 พี่ไม่ได้ไปด้วย  แต่ทีมของเราก็  ทำงานเข้มแข็งมากเลยน๊า...  ( ป่าวชมพวกเรากันเองนะคะ ) ^__^

 

 

ตามมาอ่านค่ะ...ขอเป็นแรงใจ...เชียร์...
  • อย่างนี้รินก็ยังบันทึกไม่ถูกน่ะสิ
  • จะพยายามฝึกต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับตัวอย่างที่ดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท