2.บทความเรื่อง ชีวิต...ความอยู่รอด


2.บทความเรื่อง ชีวิต...ความอยู่รอด

เขียนโดย... สอนลอ โสตุกี ( Sonelor Sotouki )

แปลโดย...อุทัย เอกสะพัง ( Uthai Eksaphang )

    ความอยู่รอดในความหมายของนักการเงินแล้วหมายความว่า  คุณพอมีรายรับในระดับหนึ่งที่พอกันกับรายจ่ายในแต่ละวันของคุณได้เท่านั้น  ชีวิตและครอบครัวคุณยังไม่มั่นคง  คุณยังมีความเสี่ยงต่อกับการไปก่อหนี้สินและมีความเสี่ยงต่อภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ

        ชีวิตที่พออยู่รอดได้เป็นชีวิตที่คุณต้องได้พัฒนาและแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด  คุณมีปัญหาทางด้านการเงินหรือไม่..?  คุณรู้ได้อย่างไรว่า  ทุกวัน ๆ คุณสามารถอยู่รอดได้คุณดูยังไง..?  แน่นอน, ทุกคนล้วนแต่มีปัญหาทางด้านการเงิน...แต่ปัญหาของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกัน  นักธุรกิจ, เจ้าของบริษัทต่าง ๆ พวกเขาประสบปัญหาทางด้านการเงินคือ  ต้นทุนสูง ,  กำไรน้อย , ขาดทุน , และอื่น ๆ   ประชาชน , ชาวนา , พนักงาน , ทหาร , ตำรวจ มีปัญหาเรื่องเงิน  คือ : รายรับไม่พอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน , ไม่มีเงินเก็บ , ไม่เงินไปทำธุรกิจและอื่น ๆ  เรามีความสามารถที่จะอยู่รอดหรือไม่..? นักการเงินได้คิดค้นอัตราส่วนทางการเงินอย่างหนึ่งขึ้นมาและเรียกชื่อว่า “ อัตราส่วนความอยู่รอด  .”

        อัตราส่วนความอยู่รอดนี้เป็นอัตราส่วนพื้นฐานแบบง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าใจและใช้เปรียบเทียบสถานะทางด้านการเงินของตนเอง  โดยการดูที่รายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือนของตน

                                           รายรับต่อเดือน

อัตราส่วนความอยู่รอด  =  --------------------

                                           รายจ่ายต่อเดือน

        วิธีคิดหาผลของอัตราส่วนดังกล่าวนี้  คือการนำรายรับของคุณในแต่ละเดือนมาหารรายจ่ายประจำเดือนเท่านั้นเอง  หมายความว่า  เอารายรับมาเปรียบเทียบกันกับรายจ่ายว่า  คุณมีรายรับเพียงพอต่อรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนหรือไม่..?  ซึ่งผลของการคิดนี้สามารถอธิบายได้ 3 ระดับ  ดังนี้

ผลออกมาถ้ามากกว่า 1

        แสดงว่า  คุณมีรายรับมากกว่ารายจ่าย  คุณมีความสามารถอยู่รอดได้  และคุณมีโอกาสที่สามารถเก็บเงินสะสมไว้ในแต่ละเดือนได้  ถ้าคุณบริหารเงินของคุณได้ดี  ยิ่งอัตราส่วนดังกล่าวนี้สูงขึ้น  แสดงว่าคุณมีรายรับเพิ่มขึ้นและมีรายจ่ายลดลง  คุณจะมีความสามารถเก็บเงินออมได้มากขึ้น

ตัวอย่าง :

        ภายในหนึ่งเดือน  ถ้าคุณมีรายรับเฉลี่ยเท่ากับ  3,500,000  กีบ  และมีรายจ่ายเฉลี่ย 1,500,000  กีบ / เดือน  ความสามารถในการอยู่รอดของคุณ  คือ

                                            3,500,000    กีบ

อัตราส่วนความอยู่รอด   = ---------------------

                                            1,500,000   กีบ

อัตราส่วนความอยู่รอด   =  2.33   เท่า

        ผลของอัตราส่วนความอยู่รอดคือ  2.33  ซึ่งมากกว่า  1  แสดงว่า  คุณมีรายรับมากกว่ารายจ่ายถึง  2.33  เท่า  ถ้าคุณมีรายรับแบบนี้สม่ำเสมอถือว่าคุณมีความสามารถอยู่รอดได้  เพราะคุณมีรายรับมากกว่ารายจ่าย

ถ้าผลของอัตราส่วนเท่ากันกับ  1

        แสดงว่าคุณพออยู่รอดได้  แต่ไม่สามารถสะสมเงินได้เลย  เพราะรายรับของคุณพอดีกับรายจ่ายในแต่ละเดือนเท่านั้น  รายรับและรายจ่ายอยู่ระดับเดียวกัน  คุณใช้เงินแบบเดือนชนเดือน  ไม่มีเงินสะสม  ไม่ได้ไปเที่ยว  ไม่มีเงินเก็บไว้ใช้ในยามเกิดเหตุฉุกเฉิน...คุณมีโอกาสจะสร้างหนี้สินหรือเสี่ยงต่อการที่ไม่สามารถจะเสียค่าใช้จ่ายประจำต่าง ๆ ได้

สุดท้าย  ถ้าอัตราส่วนน้อยกว่า  1

        แสดงว่า  คุณกำลังประสบปัญหาทางการเงินอยู่  คุณไม่สามารถเอาตัวรอดได้  ถ้าสภาพการเงินของคุณยังเป็นแบบนี้ต่อไปรายรับของคุณน้อยกว่ารายจ่าย  รายรับที่มีจะไม่พอต่อรายจ่ายที่จ่ายในแต่ละเดือน  คุณมีโอกาสที่จะไปก่อหนี้ได้สูงและคุณก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น

        ดังนั้น  คุณต้องได้หาทางออกให้ไวที่สุดคือคุณต้องหาวิธีการเพื่อให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นหากว่าคุณไม่พร้อมและไม่สามารถมองเห็นช่องทางที่จะสร้างรายได้เพิ่มอีกคุณก็ไปทบทวนตัวเองกันใหม่ว่า  รายจ่ายของคุณในแต่ละวันนั้น  มีอันไหนที่จ่ายแบบจำเป็นและอันไหนเป็นการจ่ายที่ไม่จำเป็น  แล้วให้คุณตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นนั้นออกไปทันที

        เมื่อสถานะทางการเงินของคุณยังไม่คล่องตัว  คุณก็ควรเลือกที่จะใช้จ่ายเงินระหว่างความอยากได้หรือความอยู่รอด  คุณจะมีปัญหาเรื่องความอยู่รอด  มีปัญหาการเงิน  มีหนี้สินเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าคุณใช้จ่ายเงินเพื่อความอยู่รอด  ประหยัด  อดออม  เพื่อเป้าหมายของคุณแล้ว  คุณจะไม่ได้รับหลาย ๆ สิ่งที่คุณอยากได้ในตอนนี้

อย่าลืมว่า..!

        คนเราสามารถอยู่ได้ด้วยจำนวนเงินที่จำกัด...ลองไปพิจารณาตามอัตราส่วนความอยู่รอดของคุณมาให้ดูเด้อ.

............................................................................................

ปล. ทดสอบแปลภาษาลาว ขอบคุณอาจารย์ภูผา มอบหนังสือเล่มนี้ให้มา ประเทืองปัญญาดีจัง...

หมายเลขบันทึก: 659780เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2019 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2019 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท