การศึกษาเพื่อ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" (๑): ความเหลื่อมล้ำ


ความเหลื่อมล้ำ

โฆษกกรรมาธิการร่างกฎหมายกองทุนเพื่อความเสมอภาค เล่าว่า  (ดูเองที่นี่ครับ) ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เป็นความเหลื่อมล้ำย่อย ๆ หนึ่งในสังคม ในภาพรวมความเหลื่อมล้ำทั้งหมด ประเทศไทย จัดเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากเป็นอันดับ ๓ ของโลก รองจากรัสเซียและอินเดียเท่านั้น

  • ด้านรวย-จน... ถ้าแบ่งคนไทยออกเป็น ๑๐ กลุ่ม เรียงจากกลุ่มรวยสุดไปกลุ่มจนสุด พบว่า รายได้ของกลุ่มรวยสุด มากกว่ากลุ่มจนสุดถึง ๒๒ เท่า 
  • ด้านการครอบครองที่ดิน ... ถ้าแบ่งกลุ่มคนออกเป็น ๕ กลุ่ม เรียงจากมีที่ดินมากสุดไปน้อยสุด พบว่า คนกลุ่มแรกครอบครองที่ดินถึงร้อยละ ๘๐ ของที่ดินทั้งหมด  ส่วนคนกลุ่มล่างสุดครอบครองที่ดินเพียงร้อยละ ๐.๒๕ เท่านั้น นั่นคือแตกต่างจากกลุ่มแรกถึง ๓๒๐ เท่า 
  • ด้านการศึกษา ...  กลุ่มคนที่รวยที่สุดจะส่งลูกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยร้อยละ ๑๐๐ ส่วนคนกลุ่มจนสุด มีลูกเรียนมหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ ๕ เท่านั้น  แตกต่างกันถึงเกือบ ๒๐ เท่า 
ท่านบอกว่า มีงานวิจัยชี้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีแนวโน้มจะเป็นต้นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำอื่น ๆ  เมื่อไม่ได้เรียนหนังสือดี ๆ จึงสอบเรียนต่อไม่ได้ เมื่อเรียนต่อไม่ได้ เลยได้งานทำที่รายได้ไม่ดี เมื่อรายได้น้อยจึงไม่สามารถจะดูแลตนเองครอบครัวให้ดี เมื่อมีลูกก็จะไม่สามารถส่งลูกเรียนโรงเรียนดีๆ ได้ วนแบบนี้ไปเรื่อย ทำให้ความเหลื่อมล้ำด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ 

วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นความหวัง คือ การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเข้าไปอุดหนุนกลุ่มคนจนสุดร้อยละ ๑๐ นั้น ให้ได้รับการศึกษาที่ดี ซึ่งมีผลการวิจัยรองรับทั้งในไทยและเทศ ในประเทศไทยผลงานวิจัยบอกว่า ทำแบบนี้แล้วจะได้ผลตอบแทนถึง ๘-๑๒ บาท ต่อ ๑ บาททีเดียว (ในอเมริกา พบว่า ได้ผลตอบแทนคืนมา ๗ ดอลลาร์ ต่อ ๑ ดอลลาร์)  นั่นคือ เงินที่จะลงทุนไปกับกองทุนดังกล่าวปีละ ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท จะได้เงินกลับมามากกว่า ๒ แสนล้านทีเดียว... กฎหมายฉบับนี้ได้ประกาศใช้ในราชกิจาณุเบกษาแล้วตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ โดยรัฐบาลอนุมัติเงินตั้งต้น ๑,๐๐๐ ล้านบาท เรียกว่า "พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑"

สาเหตุของความเหลื่อมล้ำ

สาเหตุของความเหลื่อมล้ำภายนอก คือ "ระบบ" ก็คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ที่ส่งเสริมความเจริญทางด้านวัตถุ "วัตถุนิยม"  พิจารณาให้ลึกไปในจิตใจของมนุษย์ จะพบว่า  ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นภายในจิตใจของคน คือ
  • ขาดความรู้ ขาดองค์ความรู้ โดยเฉพาะองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ ผู้ที่เป็นเจ้าของความรู้สามารถสร้างและกำหนดราคาของนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์สูงมาก ... ไม่รอบรู้ ไม่ใช้ความรู้
  • ขาดคุณธรรม ไม่ซื่อสัตย์ (คดโกง) ไม่มีความเพียร (ไม่ขยัน ไม่อดทน) และที่สำคัญไม่เสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน 
  • โลภ  แข่งขัน แย่งชิง มือใครยาวสาวได้สาวเอา สอนให้อยากรวย ....  ไม่พอประมาณ 
  • โกรธ-เกลียด ใช้อารมณ์ ไม่พินิจพิจารณาให้ดีถึงเหตุและผลที่ตั้งอยู่บนหลักแห่งความเป็นจริง หลักคุณธรรมจริยธรรม ก่อนจะตัดสินใจต่าง ๆ ... ไม่รอบคอบ  ไม่มีเหตุมีผล
  • โหลงประมาท ไม่ระมัดระวัง ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบใด ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นต่อผู้อื่นหรือเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้า ... ไม่มีภูมิคุ้มกันในตนเอง 
กล่าวโดยสรุป สาเหตุของความเหลื่อมล้ำ ก็คือ ความ "ไม่พอเพียง" นั่นเอง 

สาเหตุการเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
  • การสอนให้คนอยากรวย ...(แทนที่จะเน้นสอนให้คนช่วยเหลือคนอื่น) คือต้นเหตุที่เป็นแก่นในที่สุดในระดับปฏิบัติ นำมาสู่่การแก่งแย่ง แข่งขัน ชิงดี ชิงเด่น อิจฉา ริษยา เบียดเบียน พยาบาท คดโกง-คอรัปชั่น ฯลฯ  โดยมีกระบวนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการส่งเสริมจากสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ เช่น 
    • ผู้สอนส่วนใหญ่ มีค่านิยม "อยากรวย" จึงเป็นการสอนด้วยการทำเป็นแบบอย่าง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการสอน "สิ่งนามธรรม" ที่ได้ผลที่สุด  เช่น  เป็นครู-คณาจารย์ มีงานมีเงินเดือนอยู่แล้ว แต่ทำงาน-ธุรกิจเสริม หารายได้ทุกช่องทาง ฯลฯ 
    • ผู้ปกครองส่วนใหญ่ (เกือบทั้งหมด) สอนให้มีเป้าหมายของชีวิตที่ "รวย" "เป็นเจ้าคนนายคน" โดยทุ่มเทอุุดหนุนเต็มที่มอบให้ได้ทั้งทรัพยสินและชีวิต ขอให้ลูกเดินไกลไปถึง (ออกจากบ้านและชุมชนไป) เช่น ส่งลูกเรียนพิเศษเต็มที ไม่ต้องทำงานบ้านหรือช่วยพ่อแม่ทำงาน บางคนขายทรัพย์สินที่ดินบรรพบุรุษส่งลูกเรียน ...  จึงเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอย่างลงตัวสุด 
    • สังคมใช้ระบบการศึกษาแบบ "ทิ้งถิ่น" ใช้วิธีการคัดเลือกคนเข้าทำงานหรือคัดคนในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิตด้วยการทดสอบเพียงไม่กี่ครั้ง ทำให้การศึกษากลายเป็นธุรกิจการติว-เตรียม....แห่ยอมรับและสรรเสริญ "ฝรั่ง" เอาตามทั้งหมด ทั้งระบบการศึกษา แยกวัดออกจากโรงเรียน แยกศาสนาออกจากระบบการศึกษา  
  • การสอนที่ไม่เน้นให้ภูมิใจในอาชีพของพ่อแม่ตนเอง (ไม่พึ่งตนเองด้านปัจจัย ๔)  เป็นเหมือนกระบวนการทำลายตนเองในระยะยาว โดยเฉพาะความภาคภูมิใจในตนเองและท้องถิ่น ซึ่งเป็นเหตุให้ต้อง "ทิ้งถิ่น" ไปในที่สุด 
    • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑  ที่ร่างขึ้นตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดเรื่องการทักษะชีวิตและการเกษตรไว้น้อยมาก (ให้ความสำคัญน้อยมาก) (อ่านที่นี่) ตั้งใจจะให้โรงเรียนจัดเป็นหลักสูตรสถานศึกษา แต่ด้วยกระแส "สอนให้คนอยากรวย" ทำให้ไม่มีครูหรือผู้อำนวยการท่านใดสนใจ ... เรื่องพวกนี้จึงแทบจะหายไปใน ๑๐ ปี 
    • ครูผู้สอน จำนวนน้อยมาก ที่จะประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการพึ่งตนเองด้านอาหาร เพราะมัวแต่ขนขวาย "อยากรวย" ในโรงเรียนหลายแห่ง นักเรียนจึงขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้และฝึกทักษะชีวิตที่สำคัญด้านการสร้างอาหารและการพัฒนาที่ยั่งยืนไป 
    • ผู้ปกครองส่วนใหญ่  ไม่ได้ภูมิใจในอาชีพของตนเอง  เมื่อไม่ภูมิใจจึงไม่อยากพัฒนาหรืออนุรักษ์สิ่งใด ภูมิปัญญาที่มีจึงค่อย ๆ หายไป  และมีค่านิยมผลักไสให้ลูกเรียนให้เก่งเพื่อหนีออกจากบ้านไป ทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไป ไปเป็นเจ้าเป็นนายคน ไปสู่ "ความรวย" ซึ่งสุดท้ายส่วนใหญ่ก็ไปไม่ถึงฝัน 
    • สังคมทุนนิยมเสรี ฟุ้งเฟ้อ ไม่พอเพียง ... ไม่ต้องอธิบายใดอีก ท่านก็รู้อยู่....
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เท่านั้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำ

การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็คือ การศึกษาที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานของการทั้งปวง  เช่น 
  • การศึกษาขั้นพื้นฐาน ----> โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย 
  • การศึกษาระดับอุดมศึกษา ----> มหาวิทยาลัยปูทะเลย์มหาวิชชาลัย 
  • การศึกษาตลอดชีวิต ----> การเรียนรู้ตลอดชีวิต 
ระบบค่านิยมคนไทย ----> นอบน้อม กตัญญู เคารพผู้ใหญ่  ยกย่องคนดี ซื่อสัตย์ เสียสละ แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ
ระบบเศรษฐกิจไทย ----> ระบบเศรษฐกิจพอเพียง  (พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น ตอบแทนบุญคุณ สั่งสมบุญ(แจก) แปรรูป(ถนอม) ขาย)
ระบบการศึกษาไทย ----> วิชชาลัย  (ไม่ใช่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย แต่เป็น วิชชาลัย มหาวิชชาลัย)
ระบบกฎหมายไทย ----> ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม 
ระบบการจัดสรรทรัพยากร ----> แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ ... คนครอบครองทรัพย์สินมากจ่ายภาษีมาก 

การคิดครุ่นคิดแบบนี้บ่อย ๆ ทำให้ผมมีศรัทธามากขึ้น และท้าทายให้ตนเองพิสูจน์ด้วยการกระทำของตนเอง ...


หมายเลขบันทึก: 659764เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2019 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2019 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท