การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้


บทความนี้จะรวบรวมวิธีการเก็บข้อมูล, กลวิธีในการใช้คำถาม, ให้โอกาสประเมินผลย้อนหลัง, และนำเสนอการประเมินตนเองและเพื่อนๆ

การรวบรวมข้อมูล

-การวาดภาพหน้า

เมื่อจบกิจกรรม หรือบทเรียน ขอให้นักเรียนวาดรูปหน้าเพื่อแสดงถึงความมั่นใจของพวกเราต่อเรื่องที่สอน รูปหน้ายิ้ม แปลว่าผ่าน และเรียนของใหม่ได้เลย  รูปหน้าเฉยๆ แปลว่าค่อนข้างมั่นใจ และรูปหน้าเศร้า แสดงว่าไม่มั่นใจ หรือไม่ได้ตามจุดประสงค์ หรือทบทวนใหม่อีกรอบ

-ประโยคสรุป

ขอให้นักเรียนเขียนประโยคหนึ่งประโยคเพื่อสรุปเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อ ซึ่งจะเป็นตอนต้น หรือท้ายคาบก็ได้ เธอสามารถกระตุ้นการสรุปนี้โดยการถามว่าเรื่องเป็นเรื่องอะไร ทำไมต้องเรียน หรือเรื่องนี้เป็นอย่างไร ฯลฯ

-การจับคู่

เมื่ออยู่ในช่วงท้ายคาบ ผู้เรียนจะแบ่งปันกับคู่ของตนเอง

-สามสิ่งที่พวกเขารู้, -สิ่งที่พวกเขาพบว่าง่าย, -สิ่งที่พวกเขาพบว่ายาก, -สิ่งที่พวกเขาจะเรียนรู้ต่อไปในอนาคต

-ไฟจราจร

ให้นักเรียนเป็นบัตรสีแดง สีเหลือง และสีเขียว (พวกเขาอาจทำเองจากที่บ้าน) ระหว่างสอนเรื่องสำคัญ ให้พวกเขาแสดงบัตรทั้งสามสีออกมาเพื่อดูว่าพวกเขารู้เรื่องนี้ขนาดไหน (สีแดงหมายถึง ไม่เข้าใจ  สีเหลืองหมายถึงค่อนข้างเข้าใจ และสีเขียวหมายถึงเข้าใจแล้ว)

-การติดกระดาษหลังการเรียน

จงใช้การติดกระดาษเพื่อประเมินการเรียนรู้ การประเมินอาจให้เป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือนักเรียนแต่ละคนก็ได้ ถามพวกเขาให้ตอบคำถาม ดังนี้ 1. สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ 2. สิ่งที่ฉันคิดว่าง่าย 3. สิ่งที่ฉันคิดว่ายาก และ 4. สิ่งที่ฉันอยากเรียนต่อไป

-จงให้วาดรูปสี่เหลี่ยม

เมื่อนักเรียนทำใบงานเสร็จ หรือทำแบบฝึกหัดเสร็จ ขอพวกเขาให้วาดรูปสี่เหลี่ยมบนหน้ากระดาษ หากพวกเขาไม่เข้าใจเลย ให้ระบายสีแดงลงไป หากพวกเขาค่อนข้างเข้าใจ ให้ระบายสีเหลือง และหากพวกเขาเข้าใจแล้ว ให้ระบายสีเขียว

-ยังไม่แจ่มชัด

เมื่อตอนท้ายของกิจกรรม หรือบทเรียน หรือหน่วย จงถามผู้เรียนให้เขียนประโยคหนึ่ง-สองประโยคที่ยังไม่แจ่มชัดกับพวกเขา  ครูและเพื่อนร่วมชั้นอภิปรายถึงประเด็นเหล่านี้ และทำให้มันชัดเจนมากยิ่งขึ้น

-การยกนิ้ว

ตรวจสอบความเข้าใจของชั้นเรียน โดยการให้ยกนิ้ว ยกนิ้วหัวแม่มือ แปลว่า ฉันเข้าใจ ยกนิ้วหัวแม่มือมาแค่ครึ่งหนึ่ง แปลว่า ฉันค่อนข้างเข้าใจ และยกหัวแม่มือลง แปลว่า ฉันไม่เข้าใจเลย

-ใช้หลัก KWL

เมื่อเริ่มต้นหัวข้อใหม่ นักเรียนสร้างตารางที่มี 3 คอลัมน์ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งที่พวกเขารู้อยู่แล้ว, สิ่งที่พวกเขาต้องการจะรู้, สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ไปแล้ว พวกเขาเริ่มต้นด้วยการระดมพลังสมอง และเริ่มต้นเขียน 2 คอลัมน์แรก และเมื่อได้เรียนไปแล้วค่อยมาเติมคอลัมน์ที่สาม

-สิ่งที่.....ที่สุด

ถามผู้เรียนว่าอะไรที่.............สุด เช่น มีประโยชน์ที่สุด, น่าสนใจที่สุด, น่าประหลาดใจที่สุด, ฯลฯ ในเรื่องที่พวกเขาเรียนวันนี้หรือท้ายสุดของหน่วย

-บัตร A, B, C, D

ให้บัตร A. B. C, D แก่ผู้เรียน (นักเรียนสามารถทำสิ่งนี้ได้ที่บ้าน) ถามคำถามที่มี 4 ตัวเลือก บอกให้พวกเขาโชว์คำตอบ  เราสามารถทำสิ่งนี้เป็นทีมก็ได้

-กระดานดำขนาดเล็ก

ขอนักเรียนให้เขียนคำตอบในกระดานดำขนาดเล็ก หรือแผ่นกระดาษ และแสดงคำตอบให้ครูหรือเพื่อนๆ

-การสังเกต

สังเกตนักเรียนสัก 2-3 คน ในทุกชั้นเรียน และจดบันทึก

ยุทธวิธีสร้างคำถาม

การตั้งคำถามจะช่วยผู้เรียนได้บ่งชี้ และแก้ความเข้าใจผิด รวมถึงอุดช่องว่างในความรู้ การตั้งคำถามจะให้ข้อมูลแก่ครูในเรื่องสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้ว รวมถึงความเข้าใจ และวิธีการกระทำ

-จงใช้คำถามแบบเปิด

คำถามแบบปิดเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แค่ระลึกถึง หรือจำได้เท่านั้น แต่การใช้คำถามแบบเปิดจะกระตุ้นทักษะการคิด, การสื่อสาร, และกระตุ้นการเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น ตัวอย่างของคำถามแบบเปิด สิ่งนี้สำคัญหรือไม่? ทำไมสิ่งนี้จึงสำคัญ? ทำไม.......จึงบังเกิดขึ้น? อะไรจะเกิดขึ้นถ้า......? เธอจะทำ.......อย่างไร? เธอสามารถอธิบายถึง.....?

-จงใช้คำว่าอาจจะ

เมื่อตั้งคำถาม เธออาจใช้คำว่า “อาจจะ” เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด และสำรวจคำตอบที่เป็นไปได้ เช่น ลองพิจารณาคำถาม 2 คำถามนี้ดู ทำไมครูจึงถามคำถาม กับ ทำไมที่ครูอาจถามคำถาม คำถามแรกคำตอบอยู่ที่ครู แต่คำถามที่สอง จะเปิดกว้าง และนำเสนอคำตอบที่เป็นไปได้มากกว่า

 -การรอเวลา

คำแนะนำขั้นต้น

-จงรอเวลาสัก 30 วินาทีก่อนเฉลย

-ขอให้ผู้เรียนระดมพลังสมองสัก 2-3 นาที

-ขอให้ผู้เรียนจดบันทึก ก่อนตอบคำถาม

-ขอให้ผู้เรียนอภิปรายกับคู่ก่อนตอบคำถาม

-จงใช้เทคนิค คิด, จับคู่, และแบ่งปัน

-จงใช้เทคนิคในการคิดขั้นสูง

จงอย่าถามว่า แป้งเป็นคำนามนับไม่ได้หรือไม่? แต่จงถามว่า ทำไมแป้งจึงไม่เป็นคำนามนับได้? ผู้เรียนจะไม่ได้ใช้แค่ความจำ จึงตอบคำถามนี้ได้

-การบอกบท

การบอกบท (prompt) ใช้เพื่อข้อมูลที่มากขึ้น

-การกระแทก

ขอให้ผู้เรียนสร้างคำตอบจากคำตอบของคนอื่นๆ เช่น มาเรีย คุณคิดอะไรเกี่ยวกับคำตอบของ เจเวียร์?

การให้ผลสะท้อนกลับ

-การให้แต่ความคิดเห็นเท่านั้น

ให้เพียงข้อคิดเห็นโดยการเขียน แต่ไม่ให้คะแนนหรือเกรดแต่อย่างใด สิ่งนี้ทำให้ผู้เรียนสนใจแต่กระบวนการ ไม่ใช่รางวัล หรือการลงโทษ พวกเขาจะเน้นที่คะแนน แต่เราควรกระตุ้นพวกเขาสนใจแต่ข้อคิดเห็นมากกว่า ข้อคิดเห็นควรทำให้ผู้เรียนมีความแจ่มชัดถึงสิ่งที่ควรพัฒนา ถามเขาว่ามีคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นหรือไม่ และให้เวลาแก่พวกเขาพูดเป็นปัจเจกบุคคล

-แซนด์วิช การสะท้อนกลับ

จงใช้แซนด์วิชการสะท้อนกลับในการให้ข้อคิดเห็น ตัวอย่างของแซนด์วิชการสะท้อนกลับ มีดังนี้

-การให้ข้อคิดเห็นในเชิงบวก เช่น ฉันชอบ....เพราะว่า........

-การให้การสะท้อนกลับเชิงโครงสร้าง (constructive feedback) พร้อมกับมีคำอธิบายในการพัฒนา เช่น สิ่งนี้ยังไม่ถูกต้อง โปรดตรวจสอบข้อมูลกับ......

-การให้ข้อคิดเห็นแบบทางบวก เช่น เธอเขียนได้ชัดเจน และ....

-การให้เวลาในห้อง เพื่อการแก้ไข

จงให้เวลาแก่ผู้เรียนในชั้นเพื่อทำการแก้ไข หรือการพัฒนา สิ่งนี้ให้เวลาแก่ผู้เรียนเพื่อการเน้นที่ผลสะท้อนกลับ ที่เธอและเพื่อนๆให้แก่เขา และให้เวลาเขาแก้ไข มันยังบอกผู้เรียนว่าผลการสะท้อนกลับทรงคุณค่า และมีค่าต่อการให้เวลาแก้ไข นอกจากนี้ยังให้โอกาสในการพัฒนา ในสภาพแวดลล้อมที่สนับสนุนด้วย

-จงอย่าลบการแก้ไข

บอกผู้เรียนว่าเธอต้องการเห็นพวกเขาแก้ไข และพัฒนางานเขียน ก่อนที่จะส่งงานเขียนนั้นให้คุณ อย่าให้พวกเขาใช้ยางลบ แต่ให้พวกเขาใช้ปากกาสีอื่นๆในการแก้ไข ถึงที่สุดเธอได้เห็นพวกเขา และเห็นสิ่งที่พวกเขาทำการพัฒนา

การนำเสนอการประเมินตนเองและให้เพื่อนๆมาประเมิน

-แซนด์วิชการสะท้อนกลับ

นี่เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ เมื่อผู้เรียนมีความมั่นใจในการประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อนๆ จงให้แบบในการให้ผลสะท้อนกลับก่อน

จงเขียนตัวบทข้างล่างบนกระดานดำ

-ฉันชอบ.......เพราะว่า..........

-ฉันคิดว่าคราวหน้าคุณควรจะ...........เพราะว่า....

-.......เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่า......

กระตุ้นผู้เรียนให้ใช้แซนด์วิชการสะท้อนกลับ จากตัวบทบนกระดานดำ (อะไรคือสิ่งที่ดี และทำไม, การแก้ไขควรทำอะไร และทำไม)

จงให้ตัวอย่างแก่พวกเขา

“โปสเตอร์นี้มีข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่คราวหน้าเธอควรจะเพิ่มชื่อ เพราะว่าเราจะได้รู้เรื่องหัวข้อ การนำเสนอดีมากๆ เพราะมันแจ่มชัด และดึงดูดใจมากๆ”

-ผนังการเรียนรู้

จงสร้างผนังการเรียนรู้ขึ้นมา ผนังฯนี้ เหมาะแก่การให้ผู้เรียนเขียนผลสะท้อนกลับทางบวกให้กันและกัน

-การให้เพื่อนตรวจสอบ

ขอร้องให้ผู้เรียนอ่านงานเขียนของกันและกัน เพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดเฉพาะ เช่น การสะกดผิด, การใช้กาลเวลาในอดีต ฯลฯ ระหว่างทำกิจกรรมการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทสมมติ และการนำเสนอก็ตาม บอกให้ผู้เรียนให้คะแนนในข้อผิดพลาดเฉพาะ เช่น น่าสนใจไหม? เข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูดหรือไม่? และมีคำถามจะถามหรือไม่?

-ตัวบอกบทการประเมินตนเอง

จงเลือกงานเขียนที่เธอภาคภูมิใจมาสักชิ้นหนึ่ง บอกเพื่อนๆว่าทำไมจึงภาคภูมิใจ เธอมีเวลาแค่ 1 นาที

อภิปรายว่าเกณฑ์การประเมินอันใดทที่เธอเห็นว่าประสบความสำเร็จที่สุด และแต่ละเกณฑ์ ต้องเป็นสิ่งที่สามารถนำมาพัฒนา และบอกว่าทำอย่างไรก็ด้วย เธอมีเวลาแค่ 3 นาที

-การใช้ 3 สิ่ง

เมื่อตอนจบของบทเรียน ถามผู้เรียนของเธอ ให้สร้างรายการขึ้นมา 2 รายการ ที่พวกเขาได้เรียนรู้ และหนึ่งสิ่งที่พวกเขาอยากเรียนรู้เพิ่มเติม

-ฉันมีคำถาม

เมื่อตอนจบของบทเรียน ถามผู้เรียนของเธอให้เขียนคำถามสัก 1 อย่าง ที่พวกเขายังไม่เข้าใจ

-การใช้นิตยสาร

ขอให้ผู้เรียนของเธอมีการทำนิตยสารเชิงความรู้ เพื่อบันทึกความคิดและเจตคติในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้

-เวลาใคร่ครวญ

เมื่อตอนจบของบทเรียน ให้เวลากับผู้เรียนของเธอในการใคร่ครวญ และตัดสินใจถึงที่พวกเขาจะเรียนต่อไป

-การใช้บันทึกผลสะสมงาน

ขอให้ผู้เรียนเก็บตัวอย่างของงานที่พวกเขาทำอย่างต่อเนื่อง  งานนี้อาจเป็นงานที่ทำในชั้นเรียน, การบ้าน, ผลการทดสอบ, การประเมินตนเอง, และความคิดเห็นต่างๆ จากเพื่อนๆ หรือแม้แต่ตัวครูเอง

-การตั้งจุดหมาย

หลังจากให้ผลสะท้อนกลับ กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งจุดหมายขึ้นมา บอกพวกเขาให้บ่งชี้แต่เรื่องที่ดีๆ, สิ่งที่ไม่ดี, และช่องว่างในความรู้ ตอนนี้ให้พวกเขาคิดถึงเรื่องจุดมุ่งหมาย และคิดถึงวิธีการในการบรรลุถึงสิ่งนั้น  บอกให้ทำงานคนเดียว และตอบคำถามเหล่านี้ ได้แก่ อะไรคือจุดมุ่งหมาย และวิธีการที่จะได้รับจุดมุ่งหมายคืออะไร

-จุดมุ่งหมายส่วนบุคคล

ขอให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายส่วนบุคคลขึ้นมา เช่น สัปดาห์หน้า ฉันจะอ่านเรื่องสั้น เป็นต้น

ฟอร์มการประเมินตนเอง

จงทำงานกับผู้เรียนเพื่อสร้างฟอร์มการประเมินตนเอง หรือ templates เพื่อที่พวกเขาจะได้ประเมินเกี่ยวกับกิจกรรม หรือบทเรียนได้ สำหรับผู้เรียนที่เป็นเด็ก บางสิ่งที่อยู่ข้างล่าง อาจใช้ได้

งานเขียนของฉันคือ...............

สามารถแยกออกเป็นประเด็นการตีความเกี่ยวกับงานเขียนของเขา เช่น ดีมากๆ อาจเป็น รูปหน้ายิ้มสองหน้า ดี อาจเป็นรูปหน้ายิ้มหน้าเดียว หรือ ไม่ดี แต่พอไปได้ หรืออาจเป็นหน้าเฉยๆก็ได้ หรือ พอไปได้ อาจเป็นหน้าเดียว หรือ น่าเบื่อ อาจเป็น รูปหน้าเศร้าก็ได้

ในบางครั้ง เราอาจทำเป็นให้การประเมิน แล้วให้เด็กๆเลือก เช่น

ฉันสามารถเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ข่าว และข้อมูล

ข้อความนี้เป็นจริงขนาดไหน? จงวงกลมหมายเลขที่ตรงที่สุด (3 = จริง 2 = จริงบางส่วน 1 = ไม่จริง)

หรืออาจอยู่ในรูปแบบนี้

ข้อรายการนี้จริงขนาดไหน จงวงกลมหมายเลขที่ถูกต้องที่สุด 3 = จริง, 2 = จริงบางส่วน, 1 = ไม่จริง

ฉันมีความสุขกับงานเขียน ทำไม/ ทำไมถึงไม่มีความสุข

ฉันตอบคำถามโดยการใช้ทุกๆส่วนของคำถาม

ฉันใช้ย่อหน้า

ฉันใช้ linking verb

ฉันใช้ระดับคำศัพท์และวลีที่มาพอสมควร

ฉันตรวจสอบการสะกด และเครื่องหมาย

ฉันใช้กางเวลาที่ถูกต้อง

สิ่งที่ฉันทำได้ดี .......................

บางสิ่งที่ฉันจะทำในคราวหน้า.......................

ข้อคิดเห็นจากครู....................

แปลและเรียบเรียงจาก

Deborah Bullock. Assessment for Learning activities.

https://www.teachingenglish.org.uk/article/assessment-learning-activities-0

หมายเลขบันทึก: 659517เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2019 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2019 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท