ขับเคลื่อน PLC เทศบาลเมืองมหาสารคาม _๕๒ : โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย "อัจฉริยะข้ามวัน"


วันนี้ (๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๑) ผมกับ ผศ.ดร.อุฤทธิ์ เจริญอินทร์ (ดร.โอ๊ต) ไปขับเคลื่อน PLC คุณครูปฐมวัย เทศบาลเมืองมหาสารคาม ในโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โรงเรียนทั้ง ๗ แห่งในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดการเรียนรู้ตามแนวทาง "บ้านวิทยาศาสตร์น้อย" มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ได้รับตราอย่างเป็นทางการในปี ๒๕๕๘ ... เรามีเป้าหมายร่วมกันว่า จะต่ออายุ "ป้ายโรงเรียน" ต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ นี้ โดยจะเข้ารับตราในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๒

ความสามัคคีร่วมใจของคุณครูใน PLC ครูปฐมวัย ในสังกัดฯ และศึกษานิเทศก์ที่เข้มแข็ง ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทดลองอย่างน้อย ๒๐ โครงการนั้น ไม่มีปัญหาใด ๆ  การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติครั้งนี้ เราจึงมุ่งเป้าไปเพื่อที่การจัดการเรียนรู้ด้วยการทดลองโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการและวิธีการทางวิทศาสตร์ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 


Before Action Review (BAR)

ก่อนเริ่มกระบวนการฝึกอบรมเชิงพัฒนา เราทำ BAR กันสั้น ๆ  ผมเสนอ BAR เพื่อกำหนดเป้าหมายไปข้างหน้า ให้คุณครูรับรู้ร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ ๓ ประการ ได้แก่
  • ทำได้ทำเป็น ...  คือทำการทดลองอะไรไปในวันนี้ ครูทุกคนจะต้องสามารถทำได้ด้วยตนเอง มีความมั่นใจที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนต่อไปได้ 
  • เห็นกระบวนการ ... คือ เห็นและเข้าใจกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (ดูภาพด้านล่าง ห)
  • สืบสาน PLC ครูปฐมวัย ...คือ ขยับขับเคลื่อนชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ของกลุ่มครูปฐมวัยต่อไป 
หากเราบรรลุตามวัตถุประสงค์ ๒ ข้อแรก คุณครูจะสามารถไปพาเด็ก ๆ ทำโครงงานวิทยาศาสตร์น้อย ตามเกณฑ์ที่กำหนด (อย่างน้อย ๑ โครงงาาน ภายในเดือนมกราคมนี้)



อัจฉริยะข้ามวัน

ดร.โอ๊ต เลือกนำเอาประสบการณ์งานสอนแบบ PBL (Problem-based Learning) ที่สอนในโครงการ วมว. ในระดับมัธยมศึกษา มาปรับให้เหมาะสมสำหรับคุณครูปฐมวัย รวมทั้งหมด ๖ การทดลอง และตั้งชื่อว่า "อัจฉริยะข้ามวัน" กับระยะเวลา ๑ วัน ตั้งแต่ ๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.   

ขอเล่าสั้น ๆ ด้วยภาพ ทีละการทดลอง ดังนี้ครับ 

๑) Mission Impossible (ภารกิจที่ไม่มีทางสำเร็จ)

  • มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า สามารถเทลงในภาชนะขนาด ๑,๐๐๐ มิลลิตร ได้ครั้งเดียว เฉพาะตอนที่จะสุดท้ายที่สามารถตวงน้ำ ๔๐๐ มิลลิตรได้แล้วเท่านั้น 

  • นี่คือภาพเฉลยครับ แต่คงดูรู้เรื่องเฉพาะพวกเราที่มาวันนี้เท่านั้น...ฮา
๒) Big Balloon ฟองสบู่บอลลูน


๓) Mobile Microscope

(ถ่ายภาพเสร็จ กติกากำหนดให้โพสท์เฟส กลุ่มใดได้ ๒๐ like ก่อนชนะครับ....สนุกมาก)


๔) Mobile Hologram

๕) Elastic-rubber Car รถพลังยาง





๖) Davinci Code 




ขออภัยที่ไม่ได้อธิบายประกอบภาพมากนักนะครับ แต่ผมเชื่อว่าคุณครูที่เข้าร่วมอบรม เมื่อเห็นภาพเหล่านี้จะจัดจำได้แน่นอน ... หรือถ้าดูแล้วไม่เข้าใจ อยากจะให้เขียนอธิบาย ก็เขียนไว้ด้านล่างในช่องความเห็นนะครับ 

After Action Review (AAR)

ผมประเมินว่า เราบรรลุทุกวัตถุประสงค์ที่ได้ BAR ไว้ และที่เกินความคาดหมายมาก ๆ ก็คือ บรรยากาศที่สนุกและมีความสุขตลอดวันในการอบรมครั้งนี้ 

วันนี้ขอจบการบันทึกเท่านี้......  

ขอขอบคุณอาจารย์อัญชลี อาจารย์ต้น อาจารย์ไสว และทีมศึกษานิเทศก์ทุกท่านครับ ที่ให้โอกาสเราได้มาร่วมวันนี้  และขอบพระคุณคุณครูเพื่อศิษย์ทุกคนที่มาร่วมเรียนรู้อยู่ด้วยกันทุกคนจนถึง ๑๗.๐๐ น. ... โอกาสหน้ามาว่ากันต่อครับ 
หมายเลขบันทึก: 658752เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2018 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2018 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท