ตัวอย่างการออกแบบสื่อการสอนตาม ADDIE MODEL เรื่อง สื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


ถ้านักศึกษาได้รับมอบหมายให้สอนวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ออกแบบการสอนโดยใช้ ADDIE Model

1. การวิเคราะห์ ( Analysis )

- ผู้เรียนไม่ค่อยเข้าใจในการเรียนเรื่อง การหาร เพราะเป็นเรื่องที่ยากและมักจะเกิดความสับสน ผู้เรียนชอบสื่อการสอนที่เป็นแบบภาพเคลื่อนไหว   ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์แต่ว่าวิชานี้เป็นวิชาที่ต้องทำความเข้าเป็นอย่างดี   เพราะเรื่องต่างๆ จะมีความซับซ้อนในตัวของมันเอง   ฯลฯ

- นักเรียนชั้น ป. 4 มีความคิดเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ ยาก ซับซ้อน โดยเฉพาะเรื่องการหาร เนื่องจากตัวเลขที่ทำการหารนั้นมีความยุ่งยาก และยากต่อการหาคำตอบ อีกทั้งนักเรียนยังไม่ค่อยมีทักษะในการหารมากนัก จึงทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จ

2. การออกแบบ (Design)

2.1 การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์

- ในเนื้อหาที่จะสอน จะเริ่มจากสอนให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องการหารก่อนว่ามีวิธีหาคำตอบได้อ่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง

- เมื่อผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานของการหารแล้ว ก็สอนเจาะลึกในเนื้อหาเรื่องของวิธีทำของการหาร ว่าเป็นอย่างไร

2.2 การออกแบบการเรียนการสอน

- วางแผนการสอน เริ่มตั้งแต่ตัวเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน

- ในการสอนทุกคาบ ทุกเนื้อหาต้องยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

- ในคาบที่เรียนเรื่องการหาร อาจจะให้ผู้เรียนได้ดูรูปภาพประกอบ หรือพานักเรียนสำรวจและสังเกตสิ่งของรอบ ๆ ตัวในห้องเรียน หรือโรงเรียน แล้วนำมาทำการหารและอภิปรายในชั้นเรียน และมีการทดลองการหาร โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลองด้วยแบ่งสิ่งของเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตามที่กำหนด และนำเสนอผลงานการทดลองการหาร ร่วมกันอภิปรายตอบคำถาม เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งยังทำให้นักเรียนมีความจำที่ดีขึ้น เห็นภาพรวมได้ดีขึ้น คิด วิเคราะห์ แยกแยะ แก้ปัญหาและ ตัดสินใจได้ดีขึ้นสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างรวดเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น

- ในการประเมินผู้เรียนจะให้ผู้เรียนทำข้อสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อดูความเข้าใจของผู้เรียน และประเมินได้จากกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ร่วมเล่นอย่างสนุกสนานและเข้าใจหรือไม่ สังเกตพฤติกรรมจากการอภิปรายถามตอบในการทดลอง

3. การพัฒนา ( Development)

- ในเนื้อหาที่จะสอนต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากผู้เรียนไม่เข้าใจ

- มีการทบทวนการสอนในแต่ละวันเสมอ ว่าผู้เรียนได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด

- ดูความเข้าใจของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วลองปรับหรือพัฒนารูปแบบการสอนตามความเหมาะสม

- กิจกรรมการทดลองและนำเสนอผลงานการทดลอง ร่วมกันอภิปรายตอบคำถาม ควรมีให้ผู้เรียนร่วมกันทำทุกคาบเรียน เพราะจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้มาก และสามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนได้อีกด้วย

- กิจกรรมการทดลอง ควรมีให้ผู้เรียนร่วมทำบ่อย ๆ เพราะจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ได้มาก และสามารถประเมินความเข้าใจของผู้เรียนได้อีกด้วย

- ให้นักเรียนอภิปรายและสรุปการทดลอง ทุกครั้งเมื่อจบบทเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจของผู้เรียน และครูสามารถเสริมเพิ่มเติมความรู้ในส่วนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ หรือให้เพื่อนช่วยอธิบายเพิ่มเติมเป็นกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนได้อีกด้วย

4. การนำไปใช้ ( Implement)

4.1 การปฏิบัติภาคสนาม

- จากการวางแผนและรูปแบบการสอนต้องทำให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ได้

4.2 การเผยแผ่ระบบ

- หากรูปแบบการสอนนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้มาก ระบบนี้ก็จะสามารถใช้ในสถานศึกษาได้ยาวนานและอาจจะถูกพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นไปกว่านี้ได้

5. การประเมิน (Evaluation)

- มีแบบทดสอบให้ผู้เรียนทำทั้งก่อนและหลัง เพื่อวัดความเข้าใจในการเรียนรู้

- รูปแบบการสอนหากใช้แล้วผู้เรียนมีพัฒนาการได้น้อยก็ควรนำรูปแบบมาปรับปรุงหรือจัดรูปแบบขึ้นมาใหม่ ต้องคำนึงตลอดเวลาว่าผู้เรียนเป็นไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ควรนำรูปแบบนั้นมาปรับปรุงให้เร็วที่สุด

หมายเลขบันทึก: 658745เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2018 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2018 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท