องค์ประกอบสำคัญของการเปลี่ยนแปลงองค์กรและขอบเขตการเปลี่ยนแปลง


องค์ประกอบ

ขอบเขตการเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)

  • การเปลี่ยนไปสู่วัฒนธรรมที่เน้นการบริการ (Service-oriented culture)
  • พนักงานต้องก้าวข้ามความคิดแบบแบ่งแยกงานตามแผนกหรือหน่อยงานย่อย
  • ต้องเสริมสร้างความภักดีต่อองค์กร
  • พนักงานต้องได้รับการส่งเสริมให้ทำงานที่ท้าทายและมีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ต้องทำให้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและระหว่างองค์เกิดความไว้วางใจและเข้มแข็ง
  • ต้องเพิ่มความเข้าใจในการเรียนรู้ขององค์กร
  • ความคิดของผู้นำจะต้องได้รับการปลี่ยนแปลงอย่างมาก

โครงสร้าง (Structure)

  • ต้องคำนึงถึงการควบรวมแนวนอนและแนวตั้ง (กิจกรรมต่างๆ กำลังถูกแยกออกจากส่วนกลางทำให้ต้องมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานที่ดี) ภารกิจต่างๆกำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการคัดเลือก ในขณะที่จำเป็นต้องมีโครงสร้างงานใหม่
  • ข้อมูลดิจิทัลจะต้องได้มาตรฐานสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรหลายแห่งพร้อมๆ กัน
  • ขั้นตอนถูกทำให้ง่ายขึ้น ลดระดับความเป็นทางการ ขณะที่วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ต้องมีปลอดภัย ไว้ใจได้
  • การตัดสินใจเกี่ยวกับการริเริ่มของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะถูกมอบไปยัง e-leader ซึ่งอาจเป็นผู้บริหารระดับสูง (eLeadership) และระดับกลาง (eChampions, CIO Leaders) ซึ่งนำไปสู่ขั้นตอนการตัดสินใจแบบกระจายอำนาจ
  • โครงสร้างแบบลำดับขั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นเครือข่ายเพียงหนึ่งเดียว

เทคโนโลยี

(Technology)

  • โครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศระดับปรเทศ
  • โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายและฐานข้อมูลเครือข่าย
  • สถาปัตยกรรมที่รองรับการทำงานร่วมกัน
  • มาตรฐานข้อมูลที่เข้ากันได้ (Extensible Markup Language - XML)
  • มาตรฐานทางเทคนิคที่เข้ากันได้
  • รูปแบบการรักษาความปลอดภัย
  • การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการสนทนา มัลติมีเดีย ระบบอัตโนมัติ การติดตามและการสืบค้นกลับ และเทคโนโลยีการระบุตัวตน

กระบวนการ

(Process)

  • เปลี่ยนแปลงกระบวนการทั้งหมด (พิจารณาหลักการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจจากภาคเอกชน)
  • เร่งกระบวนการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว (จากไม่กี่นาทีถึงสองสามวินาที) และสามารถดำเนินการได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
  • บูรณาการในแนวระนาบระหว่างหน่วยงานและแผนก และการประมวลผลตามแนวดิ่งหรือการรวมกลุ่มระหว่างองค์กร
  • เปลี่ยนแปลงกฎ ซึ่งเอื้อต่อการกำหนดกระบวนการ (ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย, การบำรุงรักษาและความมั่นคง)

บุคลากร

(Human Resources)

  • พนักงานต้องรับทราบมุมมองและกระบวนการในแนวระนาบที่ตนรับผิดชอบหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
  • ทักษะใหม่ๆ ที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม (เช่นการทำงานร่วมกัน การเผชิญหน้ากับงานที่ไม่คาดคิด) และองค์ความรู้ใหม่
  • การฝึกอบรมพนักงาน ต้องจัดให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ผู้นำต้องสามารถรวบรวมความรู้และทักษะด้าน ICT เข้ากับเชื่อมโยงเข้ากับความเข้าใจในกระบวนการทำงานได้
  • ผู้นำต้องสามารถพัฒนาวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และจัดการทรัพยากรมนุษย์ โครงการ และกลุ่มลูกค้าได้อย่างครบวงจร

อ้างอิง : Thanakrit.Net

หมายเลขบันทึก: 658482เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2018 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2018 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท