การพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน: กรณีการวิจัยด้านการเรียนการสอนในเด็กและเยาวชน


การขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน: กรณีการวิจัยด้านการเรียนการสอนในเด็กและเยาวชน

เฉลิมลาภ ทองอาจ

     

                      การยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนสำหรับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นแนวทางที่นักวิจัยสาขาดังกล่าว จะต้องดำเนินการเป็นเรื่องปกติ และถือว่าดำเนินการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว มีึคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและสิิทธิ์ให้แก่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยที่เป็นคนเป็นอย่างดี   

                      แต่สำหรับการวิจัยที่จัดทำขึ้นในสายสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ซึี่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เช่นกัน  ในกรณีที่ดำเนินการในประเทศไทยในกลุ่มสาขาการศึกษา  กลับมิได้มีการประกาศแนวทางที่ชัดเจนมากนัก อีกทั้งยังมีผู้สนใจอภิปรายเรื่องการทำวิจัยด้านการเรียนการสอนของครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในสถาบันการศึกษา หรือในโรงเรียน ซึ่งเป็นการวิจัยในการเปรียบเทียบวิธีสอน การปรับปรุงกลยุทธ์หรือเทคนิคการสอน ว่าที่จริงแล้ว ต้องยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนหรือไม่ อย่างไร แล้วจำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องยื่นขอพิจารณาทุกงานวิจัยด้านศึกษา และหากยื่น ต้องยื่นแบบไหน ยื่นให้พิจารณา หรือยื่นเพื่อขอยกเว้นได้หรือไม่  

                       ทั้งนี้ต้องพิจารณาก่อนว่า ในการยื่นขอพิจารณาจริยธรรมในคน งานวิจัยทางการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการเรียนการสอน เป็นงานวิจัยที่ได้รับการยกเว้นการพิจารณาตามหลักสากล  โดยผู้วิจัยต้องดำเนินการยื่นเอกสารต่าง ๆ เพื่อขอพิจารณาต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (ที่สภาวิจัยแห่งชาติรับรอง) ในลักษณะขอให้พิจารณา "ยกเว้น"   (Exempt) ได้ โดยอาจอาศัยเหตุที่ว่า งานวิจัยด้านการเรียนการสอนที่จะดำเนินการ มี "ความเสี่ยงน้อย" และอยู่ในลักษณะที่ไม่ละเมิดเสาหลักจริยธรรมในกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย 

1.หลักความเคารพในบุคคล (Respect for person 
2. หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence)
3. หลักความยุติธรรม (Justice)


                     ผู้วิจัยสามารถศึกษานโยบายในการปกป้องกลุ่มตัวอย่างอันเป็นกฎสามัญของสหรัฐอเมริกา ที่หน่วยงานภาครัฐรับรองและใช้เป็นหลักเกณฑ์ร่วมกัน โดยในส่วนที่  45 CFR 46  ได้กล่าวถึงประเภทของงานวิจัยที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งการวิจัยด้านการศึกษา เป็นหนึ่งในการวิจัยที่ได้รับการยกเว้น ดังนี้  
   
Educational Strategies, Curricula or Classroom Management Methods
Basic Exempt Criteria 45 CFR 46.101(b)(1)
Research takes place in established or commonly accepted educational setting
Involves study of normal educational practices (e.g., regular and special education instructional strategies; studies effectiveness or comparison among instructional techniques, curricula, or classroom management methods)
ที่มา:
http://www.irb.pitt.edu/educat...

                    และมีส่วนที่กล่าวประเภทการวิจัยที่ได้รับการยกเว้นการพิจารณาจริยธรรม แต่ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจะต้องไม่ใช่เด็กและเยาวชน โดยมีเนื้อความในวงเล็บ (1) และ (2)  ดังนี้  

d) Except as described in paragraph (a) of this section, the following categories of human subjects research are exempt from this policy:

(1) Research, conducted in established or commonly accepted educational settings, that specifically involves normal educational practices that are not likely to adversely impact students' opportunity to learn required educational content or the assessment of educators who provide instruction. This includes most research on regular and special education instructional strategies, and research on the effectiveness of or the comparison among instructional techniques, curricula, or classroom management methods.

(2) Research that only includes interactions involving educational tests (cognitive, diagnostic, aptitude, achievement), survey procedures, interview procedures, or observation of public behavior (including visual or auditory recording) if at least one of the following criteria is met:


(i) The information obtained is recorded by the investigator in such a manner that the identity of the human subjects cannot readily be ascertained, directly or through identifiers linked to the subjects;
(ii) Any disclosure of the human subjects' responses outside the research would not reasonably place the subjects at risk of criminal or civil liability or be damaging to the subjects' financial standing, employability, educational advancement, or reputation; or

(iii) The information obtained is recorded by the investigator in such a manner that the identity of the human subjects can readily be ascertained, directly or through identifiers linked to the subjects, and an IRB conducts a limited IRB review to make the determination required by §46.111(a)(7).

ที่มา:
https://www.ecfr.gov/cgi-bin/r...

                         ดังที่ได้อธิบายมาข้างต้นว่า  แม้งานวิจัยด้านการเรียนการสอน หรืองานวิจัยด้านการศึกษา จะสามารถเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมขอยกเว้นการพิจารณาจริยธรรมได้  แต่ต้องไม่ลืมว่า เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่โตแล้ว คือเป็นการวิจัยในนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา

                          อย่างไรก็ตาม สำหรับครูนักวิจัย ที่ทำวิจัยด้านการเรียนการสอน วิธีการสอน กลยุทธ์หรือเทคนิคต่าง ๆ ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทักษะ สมรรถนะในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น "เด็กและเยาวชน" หรือกลุ่มตัวอย่างเป็น "นักเรียน" มีข้อเพิ่มเติมเรื่องการวิจัยการเรียนการสอนในเด็ก ที่ต้องพิจารณาอีก 4 ประเด็น (ข้อ 404-407) และผู้วิจัยควรเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการจริยธรรมฯ พิจารณา ประกอบดังนี้ คือ

      The HHS regulations at 45 CFR part 46, subpart D permit IRBs to approve three categories of research involving children as subjects:
      45 CFR 46.404- Research not involving greater than minimal risk to the children.To approve this category of research, the IRB must make the following determinations:
      the research presents no greater than minimal risk to the children; and
      adequate provisions are made for soliciting the assent of the children and the permission of their parents or guardians, as set forth in HHS regulations at 45 CFR 46.408.

      45 CFR 46.405- Research involving greater than minimal risk but presenting the prospect of direct benefit to the individual child subjects involved in the research.To approve research in this category, the IRB must make the following determinations:
      the risk is justified by the anticipated benefits to the subjects;
      the relation of the anticipated benefit to the risk presented by the study is at least as favorable to the subjects as that provided by available alternative approaches; and
      adequate provisions are made for soliciting the assent of the children and the permission of their parents or guardians, as set forth in HHS regulations at 45 CFR 46.408.

      45 CFR 46.406- Research involving greater than minimal risk and no prospect of direct benefit to the individual child subjects involved in the research, but likely to yield generalizable knowledge about the subject's disorder or condition.In order to approve research in this category, the IRB must make the following determinations:
      the risk of the research represents a minor increase over minimal risk;
      the intervention or procedure presents experiences to the child subjects that are reasonably commensurate with those inherent in their actual, or expected medical, dental, psychological, social, or educational situations;
      the intervention or procedure is likely to yield generalizable knowledge about the subject's disorder or condition which is of vital importance for the understanding or amelioration of the disorder or condition; and
      adequate provisions are made for soliciting the assent of the children and the permission of their parents or guardians, as set forth in HHS regulations at 45 CFR 46.408.
      A fourth category of research requires a special level of HHS review beyond that provided by the IRB.

      45 CFR 46.407- Research that the IRB believes does not meet the conditions of 45 CFR 46.404, 46.405, or 46.406, but finds that the research presents a reasonable opportunity to further the understanding, prevention, or alleviation of a serious problem affecting the health or welfare of children.If the IRB believes that the research does not meet the requirements of 45 CFR 46.404, 46.405, or 46.406, but finds that it presents a reasonable opportunity to further the understanding, prevention, or alleviation of a serious problem affecting the health or welfare of children, it may refer the protocol to HHS for review. The research may proceed only if the Secretary, HHS, or his or her designee, after consulting with a panel of experts in pertinent disciplines (e.g., science, medicine, education, ethics, law) and following an opportunity for public review and comment, determines either: (1) that the research in fact satisfies the conditions of 45 CFR 46.404, 46.405, or 46.406, or (2) the following:
      the research presents a reasonable opportunity to further the understanding, prevention, or alleviation of a serious problem affecting the health or welfare of children;
      the research will be conducted in accordance with sound ethical principles; and
      adequate provisions are made for soliciting the assent of children and the permission of their parents or guardians, as set forth in HHS regulations at 45 CFR 46.408.

      ที่มา: 
      https://www.hhs.gov/ohrp/regul...

                               ดังที่กล่าวมานี้  การวิจัยด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็น่าที่จะเป็นงานวิจัยที่ผู้วิิจัย ควรดำเนินการยื่นขอให้มีการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน ต่อคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรม ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่ได้มีกฎหรือระเบียบที่ชัดเจน เพื่อบังคับงานวิจัยทางการศึกษาที่จัดทำขึ้นโดยครูในโรงเรียน หรือโดยนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา สายครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ทุกสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ว่าจะต้องส่งโครงการวิจัยของตนเองเข้ารับการพิจารณาจริยธรรมต่อคณะกรรมการจริยธรรมทุกโครงการ โดยหากจะดำเนินการยืนขอให้มีการพิจารณายกเว้น ผู้วิจัยก็ควรที่จะศึกษาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ข้างต้น และเสนอข้อมูลการวิจัยและลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง การปกป้องพิทักษ์สิทธิของเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นเหตุผลในการพิจารณาขอยกเว้นเข้าไปด้วย  แต่ทั้งนี้ หากมีมติว่า การวิจัยทางการศึกษาเรื่องนั้น จะต้องดำเนินการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน โดยผู้วิจัยจะต้องดำเนินการอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยไม่ได้รับการยกเว้น เช่นนี้ ก็ย่อมเป็นสิทธิของคณะกรรมการจริยธรรม ซึ่งผู้วิจัยก็จะต้องดำเนินการตามมติของคณะกรรมการต่อไป  

      ______________________________________________________________________________________________________

      หมายเลขบันทึก: 658410เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2018 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2018 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


      ความเห็น (0)

      ไม่มีความเห็น

      พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
      ClassStart
      ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
      ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
      ClassStart Books
      โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท