ชีวิตที่พอเพียง 3307. นิวยอร์ก ๒๕๖๑ : ๒. การประชุมวันที่ ๑


การประชุมตลอด ๓ วันครึ่ง วันแรกจัดที่ State Room ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองของ Pier A Harbor House, 22 Battery Place (1)    โดยช่วงแรกวันครึ่ง พิจารณาเรื่อง PMAC 2019 : The Political Economy of NCDs : A Whole of Society Approach  สองวันหลังเป็นเรื่อง PMAC 2020 : Accellerating progress towards UHC : Lifecourse approach and innovations

  

 ห้องประชุมอยู่ริมแม่น้ำฮัดสัน  เห็นอนุสาวรีย์เสรีภาพอยู่ไกลๆ    และเห็นเรือลำใหญ่พานักท่องเที่ยวไปชมเทพีสันติภาพ  เป็นบริการฟรี   ผู้โดยสารเต็มลำเรือ   น่าจะลำละ ๒๐๐ คน   ผมเคยไปเที่ยวด้วยเรืออีกแบบหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว ตามที่เล่าไว้ที่ ()

 ๙ ตุลาคม ๒๕๖๑

 วันนี้ทั้งวัน ร่วมกันพิจารณา abstract ที่มีผู้เสนอเข้ามาจำนวน 307 abstract    โดยมีการตั้งคณะกรรมการประเมินเรียบร้อยแล้ว มีกรรมการ ๒๐ คน    ได้ผลการประเมินของกรรมการ ๓ คนต่อแต่ละ abstract   โดยมีเกณฑ์ ๓ ข้อ คือ

  1. 1. Scientific & technical strength
  2. 2. Policy relevance
  3. 3. Contribution to the theme & subtheme  

ปีนี้เปลี่ยนช่วงเวลาตัดสินเลือก abstract   เป็นหลังจากรายการของ subtheme ชัดเจนแล้ว เพื่อจะได้เลือก abstract ให้เจ้าของผลงานนำเสนอใน PS (Parallel Session) ที่เหมาะสม   

การประชุมแบ่งเป็น สองช่วง  ช่วงแรกเพื่อให้กรรมการคุยกัน และแก้คะแนนของตน ต่อ abstract ที่ผลการประเมินเป็นสองขั้ว เช่นรายหนึ่งได้คะแนนเกือบสูงสุด (๑๔ จากคะแนนเต็ม ๑๕) จากกรรมการคนหนึ่ง  แต่อีกสองคนให้คะแนน ๐   มี ๒๘ abstract ที่คะแนนต่างกันมาก

ช่วงที่สอง เป็นการตัดสินว่าจะเชิญเจ้าของ abstract มาร่วมประชุม PMAC 2019 กี่คน    โดยใช้ข้อมูลคะแนน ที่หมอปูนทำเดี๋ยวนั้น    มีทางเลือก ๕ ทางเลือก    ประกอบกับการทำความเข้าใจการใช้ประโยชน์ ของเจ้าของและตัว abstract   ก็ได้ข้อยุติร่วมกันโดยเร็ว ว่าเลือกทางเลือกที่ ๕ ตัดสินที่ Percentile 77 (๓๓/๔๕ คะแนน)    ผ่าน ๘๘ abstract   โดยมีการกระจายตาม subtheme ดังนี้  subtheme 1 (determinants) : subtheme 2 (systems response) : subtheme 3 (governance) = 27 : 25 : 36      

มีเวลาเหลือก่อนอาหารเที่ยงเวลา ๑๒.๓๐ น.   ประธานคือ Douglas Webb จึงดำเนินการประชุม session : Update on Plenary and Parallel Sessions   ซึ่งก็เห็นได้ชัดเจนว่าก้าวหน้าไปอย่างดี   และนำไปสู่การประเมินสถานการณ์โลกด้าน political economy  ที่สะท้อนภาพพลังของภาคธุรกิจใน UN High Level Meeting ที่นิวยอร์กเมื่อ ๒ สัปดาห์ที่ผ่านมา ()    ที่มีการเน้นว่าสุขภาวะเป็นความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคลที่จะต้องดูแลตัวเอง       

อาหารเที่ยง เป็น sitdown lunch  เริ่มจากสลัดที่อร่อยมาก    อาหารหลักผมเลือกปลา Seabass  อร่อยจริงๆ    ตามด้วยของหวาน    ส่วนเครื่องดื่มและผลไม้มีให้ช่วยตัวเองตลอดการประชุม  

หลังอาหารเที่ยง ประชุมต่อเรื่อง การประสานงานแต่ละ Plenary (PL)  และ Parallel Session (PS)    มี coordinator ที่ไม่มาประชุมหลายคน    โดยสรุปงานคืบหน้าไปด้วยดี   

ตามด้วยการประชุมกลุ่มย่อย ๓ กลุ่ม ตาม sub-theme    เพื่อเสนอ abstract ที่มีน้ำหนักและคุณภาพสูง    สำหรับบรรจุใน PS  หรือจัดเป็น oral poster presentation    ผมถูกจัดให้เข้ากลุ่ม ๑ ที่ดูแล subtheme เรื่อง Analyzing the Political Economy of the Determinants of NCDs    แล้วนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม สรุปจากการประชุมทั้งสามกลุ่มได้ว่า จาก 88 selected abstracts   เลือกเป็นกลุ่มที่มีน้ำหนักละคุณภาพสูงได้ ๒๕   สำหรับเสนอให้ PS coordinators เลือกเอาเข้า PS   หรือให้ secretariat จัด session พิเศษ    นำเสนอผลงานของ abstract

ผมติดใจที่ประธานคือ Doug Webb เอ่ยว่าเราเคยพูดถึงหัวใจของ NCD ว่าประกอบด้วยโรคหลัก ๔ โรค (มะเร็ง  โรคหัวใจและปอด   โรคหลอดเลือดสมอง  และเบาหวาน)   และปัจจัยเสี่ยงหลัก ๔ ปัจจัย (๑. กินอาหารไม่ถูกหลักสุขลักษณะ ๒. สูบบุหรี่ ๓. ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย และ ๔. ดื่มสุรามากเกินควร)   ที่เรียกว่าหลักการ 4x4    บัดนี้ในการประชุมของ UN (3)   มีการเสนอเป็น 5x5   คือเพิ่มโรคที่ ๕ ได้แก่ สุขภาพจิต    และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่ ๕ คือ สภาพแวดล้อม  

 ในการประชุมกลุ่ม เพื่อพิจารณา abstract   ผมเกิดความคิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์นักวิชาการที่เสนอ abstract ให้ทำงานวิจัยโฟกัสประเด็นด้าน political economy ของ NCD ในหลากหลายบริบทของต่างภูมิภาคของโลก และในประเทศที่มีความแตกต่างกันสูงมาก   เท่ากับมีการใช้งาน PMAC เพื่อการตั้งโจทย์วิจัย    เพื่อหนุนความสำเร็จของนโยบายของแต่ละเรื่องของการประชุม    แนวความคิดนี้ เอามาใช้จัดกระบวนการในประเทศไทยได้ด้วย    จะช่วยให้ PMAC ก่อผลกระทบต่อประเทศไทยมากขึ้น

การประชุมเลิก ๑๗ น. ตรง    ตกค่ำทางสถานทูตส่งรถมารับพวกเรา ๙ คน    ไปที่ร้านสเต๊ก Sparks Steak House  ที่ท่านคณบดี ปิยะมิตร ศรีธรา แห่งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเจ้าภาพ    เป็นประสบการณ์กินสเต๊กที่อร่อยมาก และเหนื่อยมาก

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ต.ค. ๖๑

ห้อง ๕๐๑   โรงแรม Hampton Inn, Pearl Street, NY, NY  

1.j อาคาร Pier A Habor House

2 ห้องประชุม ตอนหยุดพักครึ่งเวลา

3 อีกมุมหนึ่งของห้องประชุม

4 วิว Battery Park ถ่ายจากห้องประชุม

5 วิวท่าเรือ ถ่ายจากห้องประชุม

6 ถ่ายจากห้องประชุม

7 ประชุมเสร็จ เดินกลับโรงแรม

หมายเลขบันทึก: 658030เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2018 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2018 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท