แลกเปลี่ยการเรียนรู้แบบบูรณาการวิถีชีวิต


การเรียนรู้สู่ชุมชน

วันพุธที่  6   ธันวาคม     2549    เวลา   10.00-  16.00 น.    

  •  ดิฉันพร้อมทั้งทีมงาน ศบอ.เกาะคาได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน  จาก ศบอ.วัดโบสถ์    จังหวัดพิษณุโลก  นำทีมโดย ท่าน ผอ. ธีรพล  จันทรบรรเลง   ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวัดโบสถ์ พร้อมด้วยคณะบุคลากรศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอวัดโบสถ์    จำนวน  13  คน  ได้มาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ในเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิต หน่วยการเรียนรู้ :  สะสมหน่วยกิต   
  •  ช่วงแรก    เป็นกิจกรรมรับฟังคำบรรยาย จาก ดร.ณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา   รื่อง กระบวนการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียง และยกระดับการศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 
  •  ช่วงที่  2  กิจกรรมฝึกปฏิบัติ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูณาการวิถีชีวิต หน่วยการเรียนรู้ :  สะสมหน่วยกิต    โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน   เป็นการฝึกปฏิบัติขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานดังนี้แบ่งกลุ่ม ออกเป็น  3  กลุ่ม    4  คน เพื่อฝึกกระบวนการตามขั้นตอนต่างๆ โดยมีคณะบุคลากรศบอ.เกาะคา เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มในการฝึกกระบวนการกลุ่มละ  2  คน  กลุ่มที่ดิฉันได้รับผิดชอบ  คือ  กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย   นาย สมสิทธิ  การเก็บ     นายพิพัฒน์  ชมสวนสวรรค์    นางสาวกนกวรรณ  บริสุทธ์  นางสมพร  มัจฉิม   พี่เลี้ยง ศบอ.เกาะคา คือ นางสาวเกวลิน  อุตมะ   และนายมงคล  พรมตวา  ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมาดังนี้
    • ขั้นตอนที่   1  .  การค้นหาสภาพของชุมชน  (โดยสมมติ)สภาพพื้นที่ หรือแหล่งพื้นที่ที่เราต้องการศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายตามสภาพที่เป็นจริง  โดยการใช้กระบวนการฝึกการคิดระดมสมองรูปแบบ Mind  Map    เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ต่อเนื่อง   เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ก็จะนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 
    • ขั้นตอนที่   2.  ขั้นตอนการจัดทำหน่วยการเรียน  ให้ผู้เข้ารับการอบรม  ฝึกกระบวนการคิดการกำหนดหัวเรื่องหน่วยการเรียน  จากสภาพชุมชนในประเด็นที่น่าความสนใจ   โดยมีการกำหนดหัวเรื่อง และหัวข้อย่อย
    • ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์หาค่าน้ำหนักหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา  มีการดำเนินการดังนี้
      • 3.1 ประเมินผลขั้นตอนแรก  เริ่มจากการวิเคราะห์หาจำนวนมาตรฐานของแต่ละหมวดวิชาที่กระจายอยู่ในแต่ละหน่วยการเรียน        โดยจะเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยการเรียน กับมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละหมวดวิชา  ทั้ง  8   หมวดวิชา ที่กระจายอยู่ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้    ซึ่งแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะมีหัวเรื่องย่อย  เราก็จะนำหัวเรื่องย่อยมาวิเคราะห์  ว่ามีความสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้กับหมวดวิชาใดบ้างทั้ง 8 หมวดวิชา      ซึ่งเราก็จะวิเคราะห์ทุกหัวเรื่อง  แล้วนำมาตรฐานที่มีความสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้นมารวมกันว่าในแต่ละหน่วยการเรียนว่า มีจำนวนมาตรฐานแต่ละหมวดวิชากระจายอยู่ในหน่วยการเรียนจำนวนเท่าใดเพื่อนำมาคำนวณหาค่าน้ำหนักหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาโดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ 
    •  ขั้นตอนที่ 4  เป็นขั้นตอนการวัดและประเมินผลการเรียนหลังจากเรียนครบทุกหน่วยการเรียนแล้ว ก็จะมีอยู่  2  ขั้นตอน  คือ
      • ขั้นตอนแรกจะเป็น  การวัดและประเมินผลการเรียนของหน่วยการเรียน  
      • ขั้นตอนที่  2  เป็นการวัดและประเมินผลหมวดวิชา
        • 1.  การวัดและประเมินผลการเรียนของหน่วยการเรียน     คือเราจะนำผลการเรียนของผู้เรียนมาให้คะแนนเพื่อวัดผลระดับการเรียนของแต่ละหน่วยการเรียน     ถ้าหน่วยการเรียนใดได้ระดับผลการเรียน   เท่ากับ    2      และทุกหมวดวิชาที่กระจายอยู่ในแต่ละหน่วยการเรียนนี้   ก็จะมีค่าระดับผลการเรียน เท่ากับ  2     
        •  2  ในหาค่าระดับผลการเรียนในแต่ละหมวดวิชา   มีวิธีการคิด  โดยการนำค่าน้ำหนักหน่วยกิตของหมวดวิชาที่เราต้องการหาค่าที่กระจายอยู่ในหน่วยการเรียน  คูณกับระดับผลการเรียน    แล้วนำผลรวมของผลคูณ   หารด้วยน้ำหนักหน่วยกิตของวิชานั้น  ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นระดับผลการเรียนของหมวดวิชานั้นๆ  การหาค่าเฉลี่ยผลการเรียน การหาค่าผลการเรียนเฉลี่ย(GPA)  ก็คำนวณโดยการนำ จำนวนหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตรของหมวดวิชานั้น    คูณ กับระดับผลการเรียนของแต่ละหมวดวิชา แล้วนำผลคูณมารวมกัน หารด้วยจำนวนกิตทั้งหมดของระดับ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะเป็นระดับผลการเรียนเฉลี่ย  
  • จากการทีได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์  และเป็นพี่เลี้ยงการในฝึกกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ  สมาชิกให้ความสนใจ และตั้งใจฝึกปฏิบัติเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผล ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองต่อไป 

 เกวลิน   อุตมะ 

7  ธันวาคม  2549

หมายเลขบันทึก: 65710เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท