เสียงสะท้อนจากฅนด้อยโอกาส : ชายขอบของการด้อยโอกาส


สถานการณ์แบบนี้ เป็นสถานการณ์เดิม ๆ ที่มีที่เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่มีเปลี่ยนแปลง จากรุ่นสู่รุ่น จากยุคหนึ่งส่งต่อมายังอีกยุคหนึ่ง แต่เปลี่ยนตัวบุคคลเปลี่ยนคู่กรณีเท่านั้นเอง และท้ายที่สุด การเกิดขึ้น ของคนชายขอบของการด้อยโอกาส ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่จบสิ้น เพียงเพราะการไม่เปิดกว้าง ความไม่จริงใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างแท้จริง
ชายขอบของการด้อยโอกาส

     คนชายขอบ คนด้อยโอกาส คำเหล่านี้ มักจะได้ยิน อยู่เสมอ ๆ จากการทำงานภาคสังคม โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนโดยตรง คนด้อยโอกาส ประกอบด้วยใครบ้าง ?? ถ้า นับตาม สำนักพิทักษ์และส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส ก็ จะได้แก่ คนไร้บ้าน ,ผู้พ้นโทษ ,คนยากจน ,ผู้ติดเชื้อเอดส์ ,คนไร้สัญชาติ แต่ใครจะเชื่อว่า ในกลุ่มของคนด้อยโอกาสเอง ก็ยังมัที่ด้อยโอกาสยิ่งกว่า ?? 

     เรียกได้ว่าคนชาขอบของการด้อยโอกาสเลยทีเดียว การเกิดขขึ้นของคนชายขอบของการด้อยโอกาสนั้น มักจะไม่ได้เกิดจากความเสี่ยง หรือพื้นที่ความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเองเป็นส่วนใหญ่ หากแต่ว่าเกิดจากคนที่ลงไปทำงานกับคนด้อยโอกาสที่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่กระจายโอกาสและความเท่าเทียมในการทำงานกับคนกลุ่มนี้ ?? 

     การเลือกปฏิบัติที่ว่านี้พบเห็นได้ในหลาย ๆ ระดับ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยตรงและเกิดขึ้นในการสนับสนุนการทำงานผ่านองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมในระดับพื้นที่อยู่ กล่าวคือ กรณีที่เกิดขึ้นโดยตรง จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการลงไปทำงานในระดับพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบปัญหาโดยตรง และ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพียงผิวเผินไม่ลงลึก  ดังนั้น ก็จะพบเจอกับกลุ่มเป้าหมายที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และ สูญเสียเวลาทรัพยากรไปกับข้อมูลที่คงที่ บางครั้ง ก็โดนหลอกด้วยซ้ำไป คือ ในกลุ่มเป้าหมายกันเองก็จะมีการกั้นท่ากันเองไม่ให้คนอื่นได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการ หรือสวัสดิการที่ หน่วยงานนั้น ๆ นำลงไป กรณีที่เกิดขึ้นโดยการผ่านการสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่นั้น เกิดขึ้นจาก แนวคิดและทัศนคติที่ไม่ได้มีความตั้งใจจะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มปัยหาโดยตรง แต่จะเลือกองค์กรที่สามารถสื่อสารและมีความรู้สึกดีเป็นการส่วนตัวกันเป็นหลัก ?? และปิดกั้นองค์กรที่มีความรู้สึกไม่ชอบเป็นการส่วนตัวให้ไม่ได้รับการสนับสนุนในการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย ?? 

     สถานการณ์แบบนี้ เป็นสถานการณ์เดิม ๆ  ที่มีที่เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่มีเปลี่ยนแปลง จากรุ่นสู่รุ่น จากยุคหนึ่งส่งต่อมายังอีกยุคหนึ่ง แต่เปลี่ยนตัวบุคคลเปลี่ยนคู่กรณีเท่านั้นเอง และท้ายที่สุด การเกิดขึ้น ของคนชายขอบของการด้อยโอกาส ก็จะเกิดขึ้นอย่างไม่จบสิ้น เพียงเพราะการไม่เปิดกว้าง ความไม่จริงใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมอย่างแท้จริง 

     หนทางการแก้ไขปัญหาที่พอจะมองเห็น ก็คือการลดขั้นตอนการพิจารณาการทำงานในพื้นที่ และการลดขั้นตอนการพิจารณาการให้การสนับสนุนการทำงานภาคพื้นที่ให้เกิดความกระชับฉับไวและเข้าถึงปัญหาได้โดยตรง แต่สร้างกลไกในการตรวจสอบที่ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เท่านี้การทำงานอย่างจริงจังและจริงใจในการแก่ไขปัญหาก็จะเกิดขึ้น และ เข้าถึงปัญหาได้อย่างลงลึกและตรงจุดท้ายที่สุดปัญหาก็จะได้รับการบรรเทาความรุนแรงลงและคลี่คลายไปในที่สุด 

 

หมายเลขบันทึก: 65569เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 17:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท