จินตภาพ แห่ง หนังสือ


ลึกซึ้ง จนเห็นจินตภาพ

หากจะมีหนังสือเล่มโปรดสักเล่มนึง ที่เราชอบอ่านแล้วได้แนวคิดจากมัน ก็คือหนังสือ "หัวใจห้องที่ห้า" ของ อังคาร จันทาทิพย์ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือซีไรต์ Award ประจำปีพุทธศักราช 2556 เธอชอบหนังสือเรื่องนี้ก็เพราะว่า เวลาอันนั้น เหมือนได้รู้สึก สัมผัส ราวกับว่าอยู่ในเรื่องราวนั้นๆในหนังสือ นักกวียังได้ใช้ตัวหนังสือ ถ่ายทอด ได้อย่างลึกซึ้ง จนเห็นจินตภาพ ในการเล่าเรื่อง แล้วชอบแนวคิดที่ในบางอย่างเราก็ต้องทำตามสังคม ประเพณีหรือขนบธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณ แต่ในบางความคิด ก็ย้อนแย้ง ความคิดเหล่านั้นว่าทำไมต้องทำ และปฏิบัติไปแล้วได้อะไร หรือเกิดผลหรือประโยชน์อย่างไรขึ้น แล้วยังชอบ ที่กวีได้บรรยาย การต่อสู้ดิ้นรนของชีวิตมนุษย์ในสังคม ตั้งแต่ยุคโบราณกาล มาจนถึงยุคปัจจุบัน แล้วยังชอบที่ กวี มีความรักถิ่นฐานบ้านเกิด ที่จากมา มีการเล่าเรื่อง เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นของตน อ่านแล้วเห็น จินตภาพ ไม่ว่าจะเป็น พิธีเกี่ยวข้าว หรือการร้องหมอลำ ในถิ่นฐานที่ตนได้เกิดมาเหมือนเป็นการสำนึกรักบ้านเกินคนเราไม่ควรลืมรากเหง้าของตนเอง

หมายเลขบันทึก: 654536เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2018 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2018 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สมแล้วที่ใช้นามแฝงว่า “น้ำหมึก”

เป็นหนังสือที่น่าอ่านเล่มหนึ่งค่ะ

ใช่ค่ะ ไม่ควรลืมรากเหง้า ของตน

ถูกต้องคะ คนเราไม่ควรลืมรากเหง้าของตนเองคนใดลืม….คงไม่มีทางเจริญรุ่งเรือง

ว้าว หนังสือ “รางวัลซีไรต์” 2556

เป็นหนังสือที่มีคุณภาพที่น่าอ่านนะครับ

รากเหง้าทางวัฒนธรรมบ่งบอกถึงรากเหง้าแห่งความคิดครับ

สุดยอดเลยค่ะ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งค่ะ

หนังสือน่าอ่านมากเลยคะ ^^

ใช่ค่ะ คนเราไม่ควรลืมรากเหง้าของตนเอง

หนังสือดีคารมคมคายมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท