มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ภาพยนตร์ที่อยากให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนได้ดู


"คีโมเป็นการรักษาที่นอกจากจะฆ่าเซลล์มะเร็งแล้ว ยังฆ่าระบบภูมิคุ้มกันของฉันไปด้วย ตอนนี้ฉันโดนแยกห้องกั้นบริเวณ เพราะร่างกายของฉันอ่อนแอมาก ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตแบบไหนก็เป็นอันตรายต่อชีวิตฉัน โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า บุคลากรทางการแพทย์"

 

หนังเรื่องนี้เป็นหนังของโทรทัศน์ช่ิอง HBO ไม่แน่ใจว่าถ้าติดต่อไปทางเคเบิ้ลบ้านเราแล้วเค้าจะจัดให้ได้รึเปล่า แต่ถ้าใครสนใจจริงๆ ก็หาซื้อได้ online ทั่วไปค่ะ รับรองว่าไม่ผิดหวัง 

เอมม่า ทอมสัน แสดงเป็น ศาสตราจารย์สาขาภาษาศาสตร์ชื่อดัง ที่มีบุคลิกแข็งๆ ใจเด็ดมากๆ เธอเป็นมะเร็งรังไข่ ขั้นสุดท้ายและรับเข้าการรักษาแบบทดลองโดยคุณหมอนักวิจัยที่ ศึกษาการให้คีโม แบบเต็มโดส ทั้ง 8 ครั้ง เป็นการลองดูว่าคนเราทนได้ไม๊ แล้วก้อนเนื้อร้ายจะเล็กลงแค่ไหน มะเร็งจะหยุดรึเปล่า

 

เรื่องนี้นอกจากเน้นเรื่องความสัมพันธ์์ระหว่างหมอ พยาบาล และ คนไข้ แล้ว ยังเกี่ยวกับความหมายของชีวิต ความเจ็บป่วย ความตาย  และในขณะเดียวกันก็สอนเรื่องความเรียบง่ายของสิ่งที่คนเราต้องการในยามยาก ไม่อยากเล่ามากเพราะเดี๋ยวจะดูไม่สนุก : )

มีรายละเอียดหลายๆอย่างที่น่าชื่นชมทั้งคนเขียนบท คนกำกับ และคนแสดงค่ะ ชอบเรื่องนี้มากๆ เหมือนจริงมากๆค่ะ นักศึกษาแพทย์และพยาบาลทุกคนน่าจะได้ดูจริงๆ

หรือใครก็ได้ที่คิดว่าตนแกร่งมาก เก่งมาก ไม่ต้องเพิ่งใคร ก็ควรดูค่ะ 

ส่วนตัวคิดว่าดีกว่าเรื่อง The Doctor และ Patch Adam  ค่ะสมจริงมากกว่า และ ลึกซึ้งแต่เรียบง่าย!(งงไม๊คะ ไว้ดูแล้วจะรู้ค่ะ)

--------------------------------------------------------------------------

หนังเรื่องนี้ใช้ บทกลอน บทหนึ่ง เป็นตัวช่วยเดินเรื่อง 

น่าสนใจมากค่ะ อ่่านยากหน่อยเพราะเป็นภาษาอังกฤษโบราณ (ศตวรรษที่ 17) แต่ก็น่าจะพอเดาความหมายได้ค่ะ

“Death be not proud”

ตัดตอนมาบางส่วนนะคะ

Thou’art slave to Fate, chance, kings, and desperate men,
And dost with poyson, warre, and sicknesse dwell,

And poppie,’or charmes can make us sleepe as well,
And better then thy stroake; why swell’st thou then?

ท่อนสุดท้ายนี้ชอบมากค่ะ ไว้ดูหนังแล้วจะมีรายละเอียดช่วยทำให้เข้าใจกลอนนี้มากขึ้น
One short sleepe past, wee wake eternally,
And death shall be no more, Death thou shalt die.

โดย John Donne 1572-1631 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาพยนตร์
หมายเลขบันทึก: 64981เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...// ชอบข้อความตอนนี้มาก....(คัดลอกจากบันทึกของอาจารย์มา) > "ร่างกายของฉันอ่อนแอมาก ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตแบบไหนก็เป็นอันตรายต่อชีวิตฉัน โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า บุคลากรทางการแพทย์" // เรียนเสนอให้อาจารย์นำเรื่องดีๆ หรือข้อคิดดีๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกครับ... //

ดีใจค่ะที่อ.วัลลภชอบ ตอนที่นางเอกเปรยประโยคนี้ออกมานั้น หนูหัวเราะก๊่ากเลยค่ะ เด็ดมาก

อยากให้บุคคลกรทางการแพทย์ได้ดูหนังเรื่องนี้จริงๆ จะเอากลับไปสอนให้นร.ดูแน่ๆค่ะ 

ได้เข้ามาในบล๊อคของอาจารย์ เพื่อติดตามรายละเอียดของหนังที่อาจารย์ แนะนำ ขออนุญาต copy บล๊อค ของอาจารย์ ไปเผยแพร่ให้แก่บุคลากรในคณะที่ไม่ชอบเปิดบล๊อคนะคะ เพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ สำหรับพี่เองจะนำเสนอประธานกรรมการ palliative care เพื่อติดต่อหาซื้อไว้นะคะ ขอบคุณอาจารย์ มากๆค่ะที่ให้คำแนะนำ
  • ยินดีมากๆค่ะพี่จุด หนังเรื่องนี้สั่งซื้อทาง amazon ได้ค่ะ

หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่อาจารย์พยาบาลที่ UofA ใช้ประกอบการสอนค่ะ ดูแล้วต้องเลือก 1 ตอนที่ชอบที่สุดขึ้นมาวิเคราะห์ว่าในสถานการณ์นั้นๆ ในบทบาทของคนไข้ และพยาบาลแล้ว..มีอะไรที่ควรทำหรือไม่ควรทำเพราะอะไรอย่างไร...และในนักวิจัยเราจะวิเคราะห์เหตุการณ์อย่างไร.....ขอบคุณค่ะ

สวัสดัปีใหม่ค่ะ อ. จันทรรัตน์ ขอบคุณที่อ.แวะมาอ่านนะคะ

ดีใจจังเลยค่ะที่ อ. พยาบาลที่ UofA ใช้ภาพยนตร์เรื่องนี้มาประกอบกานสอนด้วย ว่างๆ อ.จันทรรัตน์แวะมาเล่าต่อได้นะคะ

อาจารย์มัทนาครับ 

  • เราก็ใช้หนังเรื่องนี้สอน แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในวันปฐมนิเทศน์มา ๒-๓ ปีได้แล้วครับ บรรดาอาจารย์เราชอบมาก
  • ผมใช้สอนเรื่อง ความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณ กับนักศึกษาพยาบาลปริญญาโทของคณะพยาบาล
  • ทราบมาว่า หลักสูตร palliative care ของ Flinder's University of South Australia ที่ผมเรียนทางไกลอยู่ก็ใช้สอนนักศึกษาด้วย 

พี่จุดครับ

  • ตาอาจารย์สกล ซื้อทั้ง DVD และหนังสือบทละครต้นฉบับมานานแล้วครับ ยืมดูได้เลย

อาจารย์จันทรรัตน์ครับ 

  • ผมชอบตอนคุณพยาบาลนั่งรับประทานไอติมกับผู้ป่วยแล้วถาม เรื่อง advance directives ครับ
  • ผมคิดเอาเองว่า เรื่องที่เราว่ายากอย่าง ขอ ADs ผู้ป่วย กลับง่ายและอร่อยแบบกินไอติม ได้ไงก็ไม่รู้ 

อ. เต็มศักดิ์ ค่ะ:

  • ที่เมืองไทยเรา กฎหมาย ADs เป็นอย่างไรบ้างค่ะ ในกรณี proxy หน่ะค่ะ มีได้คนเดียว หรือ หลายคนค่ะ
  • ดีใจที่นักศึกษาได้ดูเรื่องนี้ค่ะ อ.คิดว่าเรื่องนี้ไม่ควรให้นักศึกษาป. ตรีดู หรือว่ายังไม่มีโอกาสค่ะ เพราะในใจคิดอยู่ว่าอยากเอากลับไปให้นักศึกษาป.ตรีดูด้วย

 

 

จริงๆเราให้ดูในกลุ่ม นศพ. ด้วย ตอนผมสอนเรื่อง communication with patient in the end-of-life เล่นให้แพทย์ใช้ทุน (post-graduate) และ อาจารย์แพทย์ที่ภาคฯ (post-post-graduate) พี่โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพก้พึ่งขอยืมไปทำ workshop และที่ขอนแก่นก็ใช้ภาพยนต์เรื่องนี้สอนแพทย์ใช้ทุนเหมือนกันครับ

 กฏหมายเกี่ยวกับ advanced directives พึ่งคลอดตัวแม่ออกมาปลายเดือนมกราคมปีนี้เอง เป็นมาตราหลักการ และครอบคลุมถึงแค่ withhold treatment ยังไม่ถึงกับ withdraw treatment และยังไม่ถึง active euthanasia แน่ๆครับ รายละเอียดที่จะนำกฏหมายพรบ.สุขภาพ ฉบับนี้มาใช้ ต้องรอออกเป้นกฏกระทรวงที่จะว่าด้วยเรื่องรายละเอียดอีกทีนึงครับ

 ผมชอบหลายตอนมาก ได้อารมณ์ต่างๆกันทุกครั้ง เรื่องนี้ใช้ "อารมณ์ขัน" มาช่วย narrate เรื่องที่เครียดมากๆได้ดีสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นฉาก grand round ฉาก isolation in the isolated room จนไปถึงฉาก permission to die ที่ Professor มาอ่านเรื่อง run-away bunny ให้ฟังจน calm down หลับได้ แล้วจบด้วยคำ "Time to go" ซึ่งมีสองความหมายซ้อนกันคือ time สำหรับแกจะกลับบ้าน หรือ time สำหรับ Barring ที่จะจากไปได้แล้ว

ทุกคำมี dualism หมด คนเขียนบทนี่ต้องบอกว่าสุดยออออด จริงๆ!! * * * * * *

ต้องติดตามเรื่องนี้   ดูน่าสนใจค่ะ

หากดูแล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนนะคะ

           กังสดาล

อาจารย์ครับ

  • แวะมาเพิ่มเติมประสบการณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้ครับ ที่นี่

เรียน อ.หมอมัทนา

ขออนุญาตนำชื่อบันทึกและลิงค์ของบันทึกดีๆ บันทึกนี้รวบรวมไว้ในเว็บไซต์ MS-PCARE

หัวข้อหลัก=สื่อการสอน

หัวข้อย่อย=ภาพยนตร์ค่ะ หรือที่นี่ค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท