กกกอพุทธ 3



        คำว่า  โรคทางจิตนี้อาจเรียกชื่อได้หลายอย่างเป็นโรคทางมโน  หรือโรคทางวิญญาณก็ได้  โรคนี้มีเชื้อที่รู้สึกว่าเป็นตัวกูของกูแล้วมันแล่นไปตามอำนาจการเห็นแก่ตัวซึ่งชาวโลกล้วนเป็นโรคนี้กันทุกคนจะมากหรือน้อยแล้วแต่ละคน  การเติมเชื้อโรคนี้ก็ง่ายมากคือเกิดจากการสัมผัสมีตาจะเอ๋กับรูปหูได้ยินเสียงจมูกได้ดมกลิ่นลิ้นได้รับรสกายถูกต้องสัมผัสใจได้รับรู้อารมณ์ ( อายตนะภายในกระทบอายตนะภายนอก ) เมื่อเกิดผัสสะหรือสัมผัสแล้วก็เกิดการยึดมั่นถือมั่นเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าฟาดเปรี้ยงกลางหาว  ที่ว่ายึดมั่นนี้ ( อุปาทาน ) คือยึดมั่นว่านี่ตัวกูนี่ของกู  ดูภาษาบาลีว่า  อัตตา, อัตนียา  ในปรัชญาอินเดียว่า  เกิดอหังการ  มะมังการ  นี่ละใครมีอัตตา  อย่างนี้ถือว่าเกิดโรคทางจิตนี้แล้ว

        ทีนี้คำสอนพุทธศาสนานั้นต้องการให้ชาวโลกพ้นจากบ่วงแห่งมารคือโรคทางจิตนี้หรือ  ต้องการให้ว่างไปจากการยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูของกูนี่ละ  ถ้าว่างได้อย่างนี้เขาจึงเรียกว่า  นิพพาน  เพราะมีพระบาลีว่า  นิพพานัง  ปะระมัง  สุญญัง.  คือมันว่างมันไม่เป็นโรคจิตนี้ละ

        หากมีคำถามว่าแล้วอะไรละคือหัวใจของพุทธศาสนา  คำตอบอาจพบว่า  ไตรลักษณ์บ้าง  อริยสัจจ์บ้าง  โอวาทปาฏิโมกข์บ้าง  แต่ผมชอบใจในคำตอบของท่านพุทธทาส  ภิกขุ  ที่กล่าวว่า...สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น.

          นี่คือคำตอบด้วยการมีจิตว่างอย่างยิ่งนี้เองถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา.

หมายเลขบันทึก: 649461เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2018 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2018 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท