ความเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น (altruism)


หนังสือ Altruism : The Power of Compassion to Change (2016)  เขียนโดย Matthieu Ricard ผู้เขียนหนังสือ Best Seller ชื่อ Happiness : A Guide to Developing a Life’s Most Important Skill    บอกว่า altruism ช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้น

Altruism มี ๒ รูปแบบ    คือ แบบที่ติดตัวมาแต่กำเนิด หรือเป็นสัญชาตญาณ   กับแบบที่ต้องพัฒนาขึ้นในตน  

หากสังเกตให้ดี เรื่องราวในโลกนี้เต็มไปด้วยเรื่องที่มีคนเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น   เรื่องราวการช่วยเหลือทีมฟุตบอลล์หมูป่าอะคาเดมียังไม่จาง

หากเราหมั่นระลึกถึงเรื่องราวดีๆ เช่นนี้   จิตใจของเราจะถูกกล่อมเกลาไปในทางดี ... ทางที่ทำเพื่อผู้อื่น   ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งชีวิตที่ดี   นี่คือ altruism แบบที่สอง 

ผู้เขียนแนะนำว่า เพื่อปลูกฝัง altruism แบบที่สอง   คนเราควรมีเวลาทำจิตให้สงบและมองเข้าไปในตน ว่าตนเองต้องการความสุขและหลีกเลี่ยงความทุกข์อย่างไรบ้าง   และเชื่อมโยงต่อไปว่า เพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ต่างก็มีความต้องการเดียวกัน  เป็นการขยายมุมมองจากมองภายในตนเอง ไปสู่การทำความเข้าใจผู้อื่น

เขาบอกว่า มนุษย์เรามีสัญชาตญาณเชื่อมโยงจิตกับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ   wireless ไม่ได้มีเฉพาะคลื่นวิทยุ ทีวี โทรศัพท์ ฯลฯ นะครับ    ยังมีคลื่นกระแสจิตของเราอยู่ด้วย   แต่เป็นคลื่นคนละแบบ 

ตามคติพุทธ ความทุกข์ที่ใหญ่หลวงที่สุดเกิดจากความโง่ หรือมิจฉาทิฐิ 

"ความเห็นแก่ผู้อื่น" เชื่อมโยงกับ "ความรัก"  หากเรารักผู้อื่น เราก็จะได้รับความรักตอบแทน    ความรักที่ประเสริฐสุด คือ "ความรักไร้เงื่อนไข"    ความเห็นแก่ผู้อื่นที่ประเสริญสุด นำไปสู่การทำเพื่อผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ... มนุษย์ระดับ ๖  ของ Arthur Kohlberg 

 มีผลงานวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสต์ บอกว่า ความคิดมีผลเปลี่ยน ดีเอ็นเอ ในรูปแบบที่เรียกว่า epigenetics   ในเซลล์สมองที่มีการเกิดใหม่ จากกลไก neuroplasticity

มนุษย์เรามีทั้งความเห็นแก่ตัว (ego) และความเห็นแก่ผู้อื่น (altruism) อยู่ภายในตน   หากหมั่นฝึกฝนความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นในทุกกิจกรรมที่ตนทำ   การสนองตอบจากผู้นั้นจะย้อนกลับมาสร้างความสุขใจให้แก่เราโดยไม่รู้ตัว   และมีผลขยายความเห็นแก่ผู้อื่นภายในตน   

เมตตาภาวนา จะช่วยเพิ่มพูนความเห็นแก่ผู้อื่น  ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสุขในมิติที่ละเอียดอ่อน  

คนที่ทำเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง ไม่ต้องการเป็นข่าว  ไม่ต้องการโด่งดัง

หากจะให้สังคมเต็มไปด้วยความเห็นแก่ผู้อื่น   ต้องร่วมกันต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันในสังคม   และต้องยกระดับคุณภาพการศึกษา   โดยบูรณาการจิตตปัญญาศึกษาในการศึกษาทุกระดับ   วิธีการที่ง่ายอย่างหนึ่งคือ โรงเรียนติดคำขวัญประจำสัปดาห์ เช่น "เคารพผู้อื่น"  "เปิดเผย"  "เมตตา"   แล้วใช้เวลาตอนบ่ายวันศุกร์ให้นักเรียนและครูร่วมกันให้ความหมายจากการตีความของตน และยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนในสัปดาห์นั้น 

วิจารณ์ พานิช        

๒๓ กรกฎาคม ๖๑ 


 

หมายเลขบันทึก: 649107เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2018 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2018 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนที่ทำงานและมีประสบการณ์และดูแลเรื่องนั้นมานานมาก มักจะมีสัญชาตญาณที่ถูกต้องเสมอค่ะ

หน้า 3 จากหนังสือ เยียวยากายเขา เยียวยากายเรา เรื่องดีดี ในโรงพยาบาลน่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท