ผลงานเชิงวิเคราะห์ คือ อะไร


           คงมีหลายคนที่ปวดหัว เวลาที่ต้องทำผลงานเชิงวิเคราะห์ มันคืออะไรหนอ ต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง ทำอย่างไร  ดิฉันลองเรียบเรียงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 

          ผลงานเชิงวิเคราะห์ เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบในการขอกำหนดตำแหน่งของผู้ที่ต้องการเลื่อนระดับ โดยระดับที่ต้องใช้ผลงานเชิงวิเคราะห์ ก็มีตั้งแต่ระดับ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ 

          ผลงานเชิงวิเคราะห์ หมายถึง กระบวนการค้นหาและจำแนกแยกแยะองค์ประกอบ หรือรายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ
เพื่อค้นหาว่าสิ่งนั้นเกิดมาจากอะไร และองค์ประกอบเหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร (พิกุล พรพิบูลย์,2561)

          ดังนั้นหากนำมาใช้ในการทำงานเพื่อขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น อาจกล่าวได้ว่า เป็น กระบวนการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ ทักษะที่จำเป็น ผลลัพธ์สภาพแวดล้อมของงานใดงานหนึ่ง จำแนกแยกแยะ เพื่ออธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล แสดงความสัมพันธ์ เพื่อให้ได้เอกสารในการพรรณนาลักษณะงานนั้น ๆ

        ประโยชน์จากการวิเคราะห์งาน

  •    ผู้วิเคราะห์ได้เข้าใจสถานการณ์ปัญหาหน้างานของตนเอง รู้จุดที่จะแก้ปัญหา และแนวทางการพัฒนาตนเอง
  •    หน่วยงานทราบสถานการณ์ปัญหา แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากร วางแผนอัตรากำลัง วางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ       การจัดหาและคัดเลือกคนทำงาน  ใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
  •    ใช้ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นทางวิชาชีพ 

          ดังนั้นถ้าจะเทียบเป็นการวิจัย อาจถือได้ว่า เป็นเสมือนการวิจัยเชิงสำรวจ หรือ วิจัยเชิงพรรณานั่นเอง  ดังนั้นอย่าไปหลงกับการวิจัยแบบ R&D หรือ หรือวิจัยเชิงทดลอง กึ่งทดลองอะไรก็ตาม เพราะเห็นหลายคนเวลาส่งผลงานชอบเขียนปนกันไปหมด

การเขียนข้อเสนอโครงการมีส่วนประกอบ ดังนี้ชื่อหัวข้อ

  1. ความสำคัญและความเป็นมา
  2. วัคถุประสงค์
  3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  4. ขอบเขตของการวิเคราะห์งาน
  5. กรอบแนวคิด/ทฤษฎีที่ใช้ (ควรสอดคล้องกับบริบทการทำงาน วิชาชีพ และสิ่งที่จะวิเคราะห์)
  6. วิธีการที่ใช้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
  7. เอกสารอ้างอิง

            วิธีการรวบรวมข้อมูล มีตั้งแต่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การตอบแบบสอบถาม และการบันทึกประจำวัน ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่อยู่ในบริบทของผู้ที่จะวิเคราะห์            

สถิติที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสถิติขั้นสูงเสมอไป เลือกดูว่าข้อมูลของเราเหมาะกับสถิติแบบใด วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ คืออะไร แบบง่าย ๆ เข่น การแจกแจงความถี่ การวัดค่ากลางของข้อมูล  การวัดการกระจายของข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ก็สามารถอธิบายผลงานเชิงวิเคราะห์ได้ ที่สำคัญ คือ การจำแนกแยกแยะองค์ประกอบในงานที่เราทำให้ได้ลุ่มลึกที่สุด ว่ามีกี่ส่วน แต่ละส่วนมีจุดเน้นอะไร และจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอะไรได้บ้าง นั่นคือ วิเคราะห์ แล้วต้องให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อการแก้ปัญหา และพัฒนางาน ของตนเอง ของหน่วยงาน องค์กรด้วยนะคะ 

สำคัญที่สุด คือ วิเคราะห์ตนเอง เห็นโอกาสพัฒนา เห็นทางสว่างในการแก้ปัญหา

 .....ไปแล้วค่ะ …ไปทำผลงานเชิงวิเคราะห์เหมือนกัน…..วิทยายุทธิ์ ย่อมเกิดกับผู้หมั่นฝึกปรือ….

หมายเลขบันทึก: 648917เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2018 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2018 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งานวิเคราะห์ดีดี ต้องเริ่มที่มองปัญหาหน้างานให้แจ่มชัดก่อนนะคะ อย่าลืม

ค่ะพี่แก้ว ดีใจที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากพี่แก้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท