อริยสัจ ๔


          หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้กล่าวถึง การพิจารณาเห็นอริยสัจ ๔ ไว้โดยละเอีย ดังต่อไปนี้ 

         อริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโะธสัจ และมรรคสัจ คือ ทุกข์ เป็นผล สมุทัย เป็นเหตุ นิโรธ เป็นผล มรรค เป็นเหตุ

         ทุกข์) มีลักษณะสัณฐานกลม ดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ในดวงกลมของทุกข์นั้น มีหุ้มซ้อนกันเป็นขั้นๆ อยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น ชั้น ๑ , จำขั้น ๑, คิด ชั้น ๑, รู้ ชั้น ๑, ขยายเป็นส่วยหยาบออกมา คือเป็นกาย ชั้น ๑, หัวใจชั้น ๑, ดวงวิญญาณ ชั้น ๑, ของกายมนุษย์ ทุกข์ซ้อนอยู่ชั้นในของอัญญาตาวินทรีย์ คือ พระอรหัตตผล เข้าไปในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม

           ทุกขสัจนั้นมีอีก ๔ ชั้น คือ ชาติทุกข์ ๑, ชราทุกข์ ๑, พยาธิทุกข์ ๑, มรณทุกข์ ๑, ทุกข์ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นทุกข์ทางกาย ๒ คือ, ชาติทุกข์ กับ ชราทุกข์ เรียกว่า กายิกทุกข์ เพราะทุกเป็นไปทางกาย ทุกข์ทางใจ ๒ คือ พยาธิทุกข์ กับมรณทุกข์ เรียกว่า เจตสิกทุกข์เพราะทุกข์เป็นไปทางใจ

           สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ มีลักษณะสัณฐานกลม ดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ในดวงกลมของสมุทัยนั้น มีหุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น ชั้น ๑, จำ ชั้น ๑, คิดชั้น ๑, รู้ชั้น ๑, ขยายเป็นส่วนหยาบออกมาก็คือเป็นกาย ชั้น ๑, หัวใจ ชั้น ๑, ดวงจิต ชั้น ๑, ดวงวิญญาณ ชั้น ๑ ของกายทุิพย์ สมุทัยจซ้อยอยู่ชั้นในของทุกข์เข้าไป

            นิโรธ เป็นตัวผลของมรรค มีลักษณะสัณฐานกลมใสสะอาดอริสุทธิ์ ในดวงกลมของนิโรธนั้น มีหุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น ชั้น๑, จำ ชั้น ๑, คิด ชั้น ๑, รู้ ชั้น ๑,ขยายเป็นส่วนหยาบออกมาก็คือ เป็นกาย ชั้น ๑, หัวใจ ชั้น ๑, ดวงจิต ชั้น ๑ , ดวงวิญญาณ ชั้น ๑ ทุกข์กับสมุทัยทั้ง ๒ นี้ มีอยู่ในกายทั้ง ๔ กาย คือ ทุกข์ส่วนหยาบมีอยู่ในกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดมีอยู่ในกายทิพย์ สมุทัยส่วนหยาบอยู่ในกายปฐมวิญญาณหยาบ สมุทัยส่วนละเอียดเป็นกายปฐมวิญญาณละเอียดเพราะเหตุนั้น กายทั้ง ๔ นี้ จึงได้ตกอยู่ใน อนิจจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เรียกว่า เป็นกายโลกิละ ยังตกอยุ่ในโลก ยังไมเป้ฯกายโลกุตตระ ข้ามพ้นโลกไปได้

            มรรค ทางดำเนิดแห่งความดับทุกข์ มีลักษณะสัณฐานกลม ใสสะอาดบริสุทธิ์กว่านิโรธ ดวงกลมสุกใสของมรรนั้น มีหุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ ๔ ชั้น คือ เห็นชั้น ๑, จำชั้น ๑, คิดชั้น ๑,รู้ชั้น ๑,ขยายเป็นส่วนหยาบออกมาก็คื อเป็นกาย ชั้น ๑, หัวใจขั้น ๑, ดวงจิต ขั้น,ดวงวิญญาณ ชั้น ๑ (ซึ่งขยายออกมาเป็นญาณรัตนะ ) ของกายธรรมใกายมรรคซ้อนอยู่ชั้นในของนิโรธเข้าไป ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม คือ กายเป็นพุทธรัตนะ หัวใจเป็นธรรมรัตนะ ดวงจิตเป็นสังฆรัตนะ ดวงวิญญาณ เป็นญาณรัตนะ

           กายทั้ง ๕ นี้ ซ้อนกันมาแต่เดิมตามแนวของอริยสัจ ๔ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ ทุกข์เป็นกายมนุษย์ ซ้อนอยู่ชั้นนอก สมุทัยส่วนหยาบเป็นกายทิพย์ ซ้อนอยู่ชั้นใน สมุทัยส่วนละเอียด เป็นกายปฐมวิญญาณหยาบละเอียด ซ้อนอยู่ชั้นในของกายทิพย์เข้าไปอีก สมุทัยส่วนละเอียดดับก็เป็นตัวนิโรธ มรรคเป็นกายธรรมกาย ซ้อนอยู่ชั้นในของปฐมวิญญาณละเอียดเข้าไปอีก กายทั้ง๕ ซ้อนกันมาแต่ต้นเดิมในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตามแนวลำดับของอริยสัจจ ๔ ภายในแล้ว เพราะเหตุนั้น กายหยาบภายนอกจึงได้ซ้อนกันมาตามแบบกายละเอียดภายในนั้น กายหยาบภายนอกจึงได้ซ้อนกันตามแบบกายละเอียดภายในนั้น

          ทุกข์ กายมนุษย์ทั้งก้อนเป็นทุกข์ทั้ง ๓ สภาน คือ ฐานที่ ๑ เบื้องต้น กายมนุษย์แรกปฏิสนธิเป็นกำเนิดธาติธรรมเดิม เล็กเท่าหยาดนำมันงาอันใดที่ติดปลายขนจามรี อันบุรุษผุ้มีกำลังสลัดเสียแล้ว ๗ ครั้ง ก็เกิดขึ้นด้วยก้อนทุกข์ ๔ ขั้น ฐานที่ ๓ เบื้องปลาย กายมนุษย์ที่เจริญขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิแล้วมา ก็เจริญขึ้นด้วยก้อนทุกข์ทั้ง ๔ คือ กายก็เป็นทุกข์ ใจก็เป็นทุกข์ดวงจิตก็เป็นทุกข์ ดวงวิญญาณก็เป็นทุกข์

          สมุทัย กายทิพย์เป็นตัวเหตุให้เกิดทุกข์ฝ่ายเดียว ให้เกิดทุกข์ใน ๓ สถาน ฐานที่ ๑ เบื้องต้น กายทิพย์เกิด้วยดวงกลมของมุทัย ซึ่งเป็นตัวเหตุให้ทุกข์เกิด ซ้อนอยู่ในกลางทุกข์ ดวงกลมของสมุทัยนั้นซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ กายชั้น ๑, เหนื้อหัวใจชั้น ๑, ดวงจิต ชั้น ๑ , ดวงวิญญาณ ชั้น ๑, ฐานที่ ๒ ท่ามกลาง กายทิพย์แรกปฏิสนธิเป็นกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เป็นตัวเหตุให้ทุกข์เกิด ฐานที่ ๓ เบื้องปลาย กายทิพย์ที่เจริญขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิแล้วมา ก็เป็นตัวเหตุให้ทุกข์เกิดเรือยมาเป็นลำดับ แล้วก็เจริญโตขึ้นด้วยก้อนสมุทัยทั้ง ๔ คือ กายก็เป็นสมุทัย เนื้อหัวใจก็เป็นสมุทัย ดวงจิตก็เป็นสมุทัย ดวงวิญญาณก็เป็นสมุทัย

           นิโรธ เป็นกายปฐมวิญญาณหยาบ เป็นเหตุของกายทิพย์ กายทิพย์เป็นผล กายปฐมวิญญาณหยาบเป็นเหตุ ให้เกิดผลในที่ ๓ สถาน คือ ฐานที่ ๑ เบื้องต้น กายปฐมวิญญาณหยาบเกิดขึ้นด้วยดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ของนิโรธ ซึ่งเป็นตัวเหตุให้เกิดผล คือสมุทัยกายทิพย์ ซ้อนอยู่ในดวงกลมของสมุทัย ดวงกลมใสของนิโรธนั้นซ้อนอยู่ ๔ ขั้น คือ กาย ชั้น ๑ เนื้อหัวใจ ชั้น ๑, ดวงจิต ชั้น ๑, ดวงวิญญาณชั้น ๑, ฐานที่ ๒ ท่ามกลางกายปฐมวิญญาณหยาบแรกปฏิสันธิเป็นกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เป็นตัวเหตุให้เกิดสมุทัยกายทิพย์ ฐานที่ ๓ เบื้องปลาย กายปฐมวิญญาณหยาบเจริญขึ้นตั้งแต่ปฎิสันธิมาแล้ว ก็เป็นตัวเหตุให้เกิดสมุหทัยกายทิพย์เรื่อยมา แล้วก็เจริญขึ้นด้วยก้อนนิโรธทั้ง ถ คือ กายก็เป็นนิโรธ เนื้อหัวใจก็เป็นนิโรธ ดวงจิตก็เป็นนิโรธ ดวงวิญญาณก็เป็นนิโรธ 

          แล้วพิจารณากายเหล่านั้นเป็นพระไตรลักษณ์ คือ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายปฐมวิญญาณละเอียด ทั้ง ๔ กายนี้ตกอยู่ในภาวะ อนิจฺจํ ทุกข์ํ อนตฺตา เพราะเป็นโลกิยะ ยังตกอยู่ในกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองขุ่นมัย ยังวนเวียนอยุ่ในโลก ยังไม่พ้นโลกไปได้ จึงเป็นกายที่ตกอยู่ในความเป็น อนิจฺจํ ทุกข์ อนัตฺตา

          สวน กายธรรม และกายละเอียดๆๆๆ ยิ่งๆ ขึ้นในทุกๆ กายนั้น เป็นกายโลกุตระได้พ้นจากโลกไปแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องเศ้าหมองขุ่นมัว เป็นกายบิรสุทธิ์ใสสะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองขุ่นมัว เป็นกายบิรสุทธิ์ใสสะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองคือกิเลสจึงเป็นกายที่ตกอยู่ในความเป็น นิจฺจํ สุขํ อนฺตา ข้ามพ้นจากโลก เที่ยงแท้ 

         กายมนุษย์เป็นทุกข์นั้นเพราะอะไร ก็เพราะอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่ าเป็นเรา จึงเรียกว่า รูปูปาทานนักขันโธ เวทนูปาทานนักขันโธ สัญญาปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณปาทานักขันโธ นั้นก็คือ ในรูป ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ในเวทนา ก็มี เห็น จำ คิด รู้ ในสัญญา ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ในสังขาร ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ในวิญญาณ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ อุปาทานเป็นตัวทุกข์ หรือ ขันธ์ ๕ เป็น ตัวทุกข์ หรือว่า เห็น จำ คิด รู้ เป็นตัวทุกข์

             เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้แหละเป็นตัวทุกข์ อธิบายคือว่า เห็นจำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี้เป็นตัวทุกข์ ซ้อนหุ้มอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนหุ้มอยู่ชั้นใน รักษาชั้นนอกไว้ให้เจริญ ตั้งอยุ่ในกลางขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เป็นดุจดังว่าบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย ส่วนเห็น จำ คิด รู้ เป็นดุจดังว่าบุคคลผู้อาศัยบ้านเรือนอยู่ อุปาทานเป็นผุ้ยึดมั่นถือมัี่นในชันธ์ ๕ กล่าวคือ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย กล่าวคือขันธ์ ๕ เรือนที่อยุ่อาศัยนั้นว่า เป็นเรา เป็นของแห่งเรา ก็ถ้าบ้านเรือนที่อยู่อาศัยกล่าวคือขันธ์ ๕ นี้เป็นอย่างใดขึ้นแล้ว บุคคลผู้อาศัย คือ เห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็จำเป็นต้องได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย กล่าวคือ เกิดทุกข์ขึ้นทันทีเพราะอุปาทานผุ้ยึดถือว่าบ้านเรือนของเรา จึงได้เกิดทุกข์ขึ้น แต่ทุกข์ที่เกิดขึ้นนี่ ก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ยังไม่ได้ก็ได้แต่รู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น...

          "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

คำสำคัญ (Tags): #อริยสัจ ๔
หมายเลขบันทึก: 648895เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท