นิเทศนิสิตฝึกงาน ฟิสิกส์ ประจำปี ๒๕๖๐ (๒)


วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ช่วงบ่าย ผมและ อ.ไพรัตน์ เดินทางไปนิเทศนิสิตฝึกงานต่ออีกหนึ่งแห่ง คือ โรงโรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม ต.ท่าขอนขาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม (พื้นที่ติดกับ มมส. ม.ใหม่นี้เอง) 

จุดเด่นของหลักสูตร วท.บ. ฟิสิกส์ (พ.ศ. ๒๕๕๖)

หลักสูตรก่อนปี ๒๕๕๖ วท.บ. ยังไม่มีการฝึกงาน  การปรับให้มีทั้งการฝึกงานและการทำซีเนียร์โปรเจ็ค (Senior Project) เป็นเรื่องที่ผู้ปรับปรุงถกเถียงกันอยู่นาน  มาวันนี้น่าจะได้พิสูจน์แล้วว่า การตัดสินใจให้มีทั้งสองอยู่ในหลักสูตรนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้อง   เพราะ

  • การฝึกงาน ทำให้นิสิตได้เห็นปัญหาจริง ได้สัมผัสกับความต้องการและลักษณะหน้างานจริงๆ  เป็นการพิสูจน์ด้วยตนเองว่า ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของตนในอนาคตนั้น ถูกต้องหรือไม่ 
  • การฝึกงานน่าจะเป็นการค้นหาปัญหาและพัฒนาโจทย์สำหรับนำมาศึกษาและหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบในรายวิชาซีเนียร์โปรเจ็ค
  • การฝึกงานทำให้นิสิตได้เรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) หรือ เรียนรู้บูรณาการกับการทำงานจริง (Work Integrated Learning) ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้นิสิตได้รับประสบการณ์ (Experience) จริงๆ .... นี่คือการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ใกล้เคียงกับการเรียนรู้จากของจริง ได้ประสบการณ์จริง (Authentic Experience) 
  • การฝึกงาน เป็นสนามพัฒนา "จริยะทักษะ" (Soft Skills) ด้วย ในขณะที่นิสิตได้ทดลองนำความรู้และทักษะเกี่ยวกับสาขาวิชา ที่เรียกว่า "สมรรถนะทักษะ" (Hard Skills)  ไปด้วย 
  • การไปฝึกงานของนิสิตที่มีทักษะและความสามารถเพียงพอนั้น สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรหรือชุมชนที่เป็นแหล่งฝึกงาน  จึงเป็นการทำงานร่วมกันของมหาวิทยาลัยชุมชนหรือสังคม ได้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  และหากเกิดผลกระทบต่อแหล่งฝึกงานอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ  การฝึกงานของนิสิตก็ถือได้ว่า เป็น Social Engagement หรือ Public Engagement ที่ดีอย่างหนึ่ง  (เรียกว่า มหาวิทยาลัยหุ้นส่วนสังคม)
หลังจากไปนิเทศการฝึกงานของนายกัมพล จักรนารายณ์ ที่โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคมวันนี้  ผมค่อนข้างมั่นใจว่า สิ่งที่ผมได้กล่าวมาทั้ง ๕ ประการนั้น ไม่เกินความจริงมากนัก 


สิ่งที่ได้ทำในการมาฝึกงาน
  • ได้ออกแบบและสร้างปฏิบัติการทดลอง ซึ่งเป็นความต้องการของโรงเรียน 
  • ได้เป็นผู้ช่วยซ้อมฟุตบอลให้น้องๆ 
  • เป็นพี่ช่วยสอนเสริมทักษะคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ให้น้องๆ 
  • บางครั้งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนย่อเกีย่วกับปฏิบัติการ (ฺBrief Lab) ให้น้องๆ ก่อนเริ่มใช้เครื่องมือที่ตนเองพัฒนาขึ้น 
สิ่งที่ควรชื่นชม
  • กัมพล สามารถเซ็ตแลป (สร้างปฏิบัติการทดลอง) ได้ถึง ๗ ปฏิบัติการ ในเวลาเพียงเดือนเศษ  ต้องขอชมเชยในความพยายามและความทุ่มเท เสียสละ  
  • อาจารย์พี่เลี้ยง (อ.อภิชาติ ภูหัวดอน) พอใจและชื่นชมมาก  ในนามของภาควิชาฯ และคณะฯ ก็ภูมิใจด้วย นี่คือความสำเร็จประการหนึ่ง 
  • การเสียสละเวลา ช่วยสอนเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม  

สิ่งที่อยากฝากน้องๆ ที่จะมาฝึกงาน 

  • น้องๆ ที่มาฝึกงาน ต้องอดทน  
  • ต้องปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ และพี่ๆ ร่วมงานให้ได้  
หมายเลขบันทึก: 648891เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2018 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท