AAR การดูงานรพ.เชียงรายฯ ของทีมรพ.อุบล,ทีม BATS, TUC และGAP-CDC


มีปัญหาเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา แต่ ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดก็ช่วยเหลือกันก็แก้ไข ลุล่วงไปได้

AAR การดูงานรพ.เชียงรายฯ ของทีมรพ.อุบล,ทีม BATS, TUC และGAP-CDC ในโครงการพัฒนารูปแบบและขยายการดูแลรักษาเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยการสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลชุมชน

วัตถุประสงค์และความคาดหมายในการมาร่วมกิจกรรมนี้

 

ทีมอุบล

 ·        ดูรูปแบบการพัฒนาระบบการส่งผู้ป่วยเด็กที่รับยาต้านไวรัสระหว่างรพศ.กับรพช.

·        เรียนรู้การส่งเสริมการกินยาต้านไวรัสของเชียงราย

·        ดูการทำกิจกรรมกลุ่ม

·        บทบาทหน้าที่ในคลินิก

·        ข้อดีข้อเสียของระบบการทำงานของเชียงราย

·        การเข้ามาช่วยงานของอาสาสมัครผู้ติดเชื้อฯ

·        การจัดกิจกรรมกลุ่มDay Care การเปิดเผยผลเลือดและการสื่อสาร 

·        การอบรม รพ.ชุมชน.

·        จุดแข็งจุดอ่อนของเชียงราย

 ทีมเชียงราย และ TUC

·        อยากดูว่าการจัดดูงานแบบนี้ ทีมอุบลจะสามารถนำไปใช้ได้หรือเปล่า

·        อยากทราบว่าอุบลทำงานอย่างไรโดยไม่มี NGO

·        อุบลทำงานอย่างไรโดยมีพยาบาลเป็นหัวหน้าทีม 

สิ่งที่เกินความคาดหมาย

 ทีมอุบล

·        ได้เรียนรู้ในวันที่ได้ดูงานในคลินิกเอง และเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเป็นผู้สังเกตการดูงานของรพชุมชน

·        เป็นการทำงานที่ชัดเจนมีทีมกระจายทุกสาขา

·        การจัดดูงานกลุ่มเล็กเกิดกิจกรรมกลุ่มย่อยที่ดูแลกันได้ใกล้ชิด เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการ Training

·        ทีมเชียงรายบทบาทแต่ละคนชัดเจนและสามารถทำงานทดแทนกันได้ ให้ข้อมูลแทนกันได้

·        อาสาสมัครสอนการดูแลเด็กและการกินยาต้านไวรัสได้อย่างเข้าใจง่ายใช้สื่อที่เข้าใจได้ดี

·        ได้ข้อมูลครบสรุปแผนได้ นำเสนอให้แพทย์ได้เลย ไม่ต้องมีการบ้าน·        อาสาสมัครมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร ทำให้เด็กเพลิดเพลินในเรื่องยากๆเช่นกลไกการติดเชื้อ ได้

·        กิจกรรมที่เชียงรายจะเน้นการเปิดเผยผลเลือดกับเด็กที่มารับยาต้านไวรัส

·        ตั้งใจมาดูงาน HIV แต่ได้รูปแบบการดูงานแบบโตโยต้า

 

ทีมเชียงราย

 ·        ทีมอุบลสามารถนำเสนองานได้ดีและเก็บรายละเอียดได้เยอะ สรุปงานได้เกือบเสร็จ

·        ทีมอุบลเก็บรายละเอียดได้ดี

·        อุบลทำงานอย่างมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน

·        ได้ทราบวิธีการที่ให้เด็กเขียนความรู้สึก แล้วเอามาวิเคราะห์ ของอุบล จะนำมาปรับใช้ต่อ

·    การดูงานเสร็จเร็ว ราบรื่น กว่าที่คิดไว้ทุกทีมประสานงานกันได้ดี ทั้งที่คนดูงานมากที่สุดที่เคยมี ( 24 คน)และเป็นการดูงานหลายทีมที่ทับซ้อนหลายชั้น (ทีม รพชุมชน 3 โรง ทีมรพอุบล ทีม TUC, BATS และ GAP-CDC) ได้เตรียมการอย่างละเอียด มีปัญหาเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา แต่ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดก็ช่วยเหลือกันก็แก้ไข ลุล่วงไปได้

 

ทีม TUC

 ·    ทีมเชียงรายช่วยเหลือกัน แต่ละคนทำบทบาท และแสดงความสามารถที่น่าทึ่งเช่น พยาบาลเป็นผู้นำเสนอผู้ป่วยและรายงานการเปลี่ยนแปลงหลังการรักษาต่อทีมในการประชุม  อาสาสมัครของACCESS และศูนย์องค์รวม ให้ความรู้ที่ลึกแก่เด็กขณะทำ Daycare

·        ได้ดู activity ที่ทำกับเด็ก สนุก  ชอบกิจกรรม ลิง 12 ตัว

·        ได้ฟัง Presentation  ทั้งไทยและอังกฤษ ทำให้เข้าใจภาพรวมมากขึ้น

·        ได้เห็นการเช็ค Adherence ,มองภาพชัดเจนขึ้น

·        เห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรมAAR ทำให้ได้ความครบถ้วนสรุปหลังการอบรมได้เลยโดยไม่มีการบ้าน

·        ได้ เห็นการบันทึกข้อมูล ได้เห็น การเก็บ การใช้ indicator

 ต่ำกว่าความคาดหมาย

 

  • นพ ปราโมทย์ รพ อุบลฯ ไม่ได้มา มีญาติป่วยกะทันหัน จะนัดหมายใหม่มาดูเอง
  • อาสาสมัครรพช.ไม่มีรูปแบบไม่ได้ทำกิจกรรมมีแต่ระบายสี
  • ทีม เชียงรายเตรียมจัดเต็มรูปแบบ 5 วัน แต่ได้ใช้ 4 วัน ขาดวันเตรียมความพร้อม 1 วัน ซึ่งได้สรุปให้ฟังโดยย่อแทนแล้ว
  • การจ่ายยา แพทย์เชียงรายไม่ได้จ่ายยาใหม่กรณีเปลี่ยนยา(GPOvir เป็น GPO Z)ให้ ลืมทำตามข้อตกลงเดิม ที่เราจะจ่ายยาให้เด็ก 1 เดือนแล้วค่อยให้ไปรับที่รพชุมชน ต่อ
  • ผู้ป่วยเวียงแก่นไม่ได้มา (วันนัดไม่ตรงกับการดูงาน)
  • ชั่งน้ำหนักเด็กผิด 1 คน ทำให้คำนวณยาผิด แต่ดักจับได้และแก้ไขตอนจ่ายยา แล้ว

สิ่งที่จะทำต่อ จะแก้ไข

 

  • TUC จะขยายสู่การดูงานของอุดรโดยการสนับสนุนของสำนักเอดส์ กรมควบคุมโรค
  • ทีมอุบลขอรูปแบบกลไกการติดเชื้อใน Day Careของเชียงราย ไปทำต่อ
  • ทีมอุบลจะนำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินงานในที่ประชุมที่สำนักเอดส์ ..50
  • ทีมเชียงราย
    • ขอทราบกำหนดการดูงานล่วงหน้าสัก 2 เดือน จะจัดระบบประสานกับรพ.ชุมชนที่จะมาดูงานและนัดหมายผู้ป่วยเด็กให้สอดคล้องกับการดูงานในคราวหน้า
    • มั่นใจว่าจะรับการดูงานของอุดรได้
    • จะปรับปรุงให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการติดเชื้อ
    • จะให้เด็กมีกิจกรรม ระบายความรู้สึกต่างๆ เช่น กลัวอะไร  มีประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร
    • ฝึกให้ศูนย์องค์รวมทำกิจกรรมกับเด็กได้ทั้งเครือข่าย 4 Zone ในเชียงราย
    • ขอรูปแบบกิจกรรมของอุบล(12 กิจกรรม และคำถามที่ใช้กับเด็ก)มาทำที่เชียงราย
    • จะแก้ไข การจ่ายยาในกรณีเปลี่ยนยา และการทำTeleconference  ใน SOPการย้าย การส่งต่อผู้ป่วย ดังนี้
      • กรณีเปลี่ยนยา จะจ่ายยาใหม่ให้ผู้ป่วย 1 เดือน และ นัดให้ไปรับยาที่รพชุมชนต่อในครั้งหน้า (เตรียมในใบบันทึกก่อน)
      • จะจัดระบบ นัดหมาย ทำ Teleconference กับ ทีม รพชุมชน ก่อนที่ผู้ป่วยรพชุมชนนั้นๆจะมา Follow up (16 รพ / 2 ครั้ง =32 ครั้ง ต่อปี)
 
หมายเลขบันทึก: 64805เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2006 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท