ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง


ความรู้เรื่องโรคมะเร็ง

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

โรคมะเร็ง คือโรคของเชลล์ที่มีการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ กลายเป็นก้อนมะเร็ง ซึ่งสามารถบุกรุกทำลายเนื้อเยื่อใกล้เคียง และกระจายไปยังอวัยวะอื่นได้

เนื้องอก คือ ก้อน ตุ่ม ที่โตขึ้นผิดปกติ เกิดจากเชลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้าย หรือมะเร็ง

ขบวนการเกิดโรคมะเร็ง

เมื่อร่างกายได้รับสิ่งก่อมะเร็ง เช่นสารเคมี ไวรัส รังสี สิ่งเหล่านี้จะทำให้เชลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง และในที่สุดเชลล์ปกติก็จะกลายเป็นมะเร็ง ถ้าระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถทำลายเชลล์นั้นได้  เชลล์มะเร็งก็จะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก้อนมะเร็งต่อไป

สาเหตุของโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดโรคมะเร็ง อยู่หลายประการ คือ

  • สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย

1.1 สารเคมีบางชนิดเช่น

- สารเคมีในควันบุหรี่ และเขม่ารถยนต์

- สารพิษจากเชื้อรา

- สารพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์ รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนไหม้เกรียม

- สีย้อมผ้า

- สารเคมีบางชนิดที่เกิดจาก ขบวนการทางอุตสาหกรรม

 1.2 รังสีต่างๆ รวมทั้งรังสีอุตราไวโอเลต ในแสงแดด

 1.3 การติดเชื้อเรื้อรัง เช่น

   - ไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี (Human Pupilloma Virus)หรือ อาจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งของเชลล์ เยื่อบุต่างๆ เช่นมะเร็งปากมดลูก

   - เอบสไตน์ บาร์ ไวรัส (Ebstein Bar Virus) มีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งโพรงหลังจมูก

    - เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลรี(Helicobacter Pylori)มีความสัมพันธ์กับมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1.4 พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ

  2. สาเหตุภายในร่างกาย เช่น

                2.1 กรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ

                2.2 ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน

                2.3 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

                2.4 การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆ เป็นเวลานาน

                2.5 ภาวะทุพโภชนาการ

การวินิจฉัย การวินิจฉัยมีหลายวิธี เช่น

  1. ตรวจร่างกายด้วยตนเอง และโดยแพทย์
  2. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด อุจจาระ และเสมหะ
  3. ตัดเนื้อร้ายที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  4. ตรวจทางรังสี เช่น เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  5. ตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษส่องโดยตรง เช่น การตรวจลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก กระเพาะอาหาร และลำคอ
  6. การตรวจพิเศษอื่นๆ

การรักษา การตรวจพบโรคมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ย่อมเป็นผลดีต่อการรักษา ซึ่งวิธีการรักษานั้นมีดังนี้

  1. การผ่าตัด เป็นการเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
  2. รังสีรักษา เป็นการให้รังสีกำลังสูง เพื่อฆ่าเชลล์มะเร็ง
  3. เคมีบำบัด เป็นการให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเชลล์มะเร็ง
  4. ฮอร์โมนบำบัด เป็นการใช้ฮอร์โมน เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชลล์มะเร็ง
  5. การรักษาแบบผสมผสาน เป็นการรักษาร่วม กันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับระยะ และความรุนแรงของโรค
หมายเลขบันทึก: 647683เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท