innovation : zen approach


นวัตกรรมการบริหารจัดการความรู้

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ นวัตกรรมการบริหารจัดการความรู้ การใช้วัฒนธรรมทางศาสนาแบบเซ็น โดยได้เชิญผู้บรรยายซึ่งถือว่าเป็นผู้รู้ ที่มีชื่อเสียงด้านการจัดการความรู้ คือ ซึ่งได้ร่วมเสนอ ร่วมกับ นั่นเอง ปัจจุบันท่านเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ของ ผู้เขียนขอสรุปบทบรรยายอย่างย่อๆ เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจโดยง่ายและนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรต่อไป

นวัตกรรมเป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงและให้ความสำคัญ จนกระทั่งในฉบับครบรอบปี พาดหัวไว้ว่า และได้มีการจัดลำดับบริษัทในอเมริการะหว่างปี 2001-2005 ไว้ โดยได้อันดับหนึ่งทั้ง 5 ปี อย่างไรก็ตามใน 10 อันดับแรกกลับพบว่ามีบริษัทของญี่ปุ่นติดอันดับอยู่ด้วย โดยบางปี ติดอันดับถึง 7 บริษัททีเดียว แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของแนวทางการบริหารงานแบบญี่ปุ่น และในปี 2006 นี้ได้มีตำราทางการบริหารหลายเล่มที่เขียนออกมาในด้านการจัดการนวัตกรรม

นวัตกรรมต้องมีขึ้นเพื่อเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เปลี่ยนแนวคิดในการทำงาน หากแต่ต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีสังคมด้วยเสมอ เช่น ซึ่งเมื่อไปตั้งที่ประเทศญี่ปุ่นได้ตั้งแนวคิดการบริการไว้ว่าจะเป็นสถานที่ที่อบอุ่นและปลอดภัยแห่งที่ 3 ของผู้คน ซึ่งคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบสูบบุหรี่ แต่ ก็ได้ออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในร้าน นั่นดูเหมือนเป็นการลดเป้าหมายลูกค้า แต่กลับทำให้ได้รับความนิยมจากคนญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นาน และที่สำคัญนวัตกรรมไม่ได้มาจากแผนกวิจัยหากแต่มาจากทุกคนและทุกที่ที่เราอยู่ ญี่ปุ่นในปัจจุบันส่งออก

นวัตกรรมที่สำคัญก็คือนวัตกรรมทางด้านวัฒนธรรม บรรดาแฟชั่น เพลง ภาพยนตร์ การ์ตูนไปทั่วโลก ในสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็ได้สะท้อนแนวคิดของเซ็นไว้ด้วย แนวคิดนั้นอาจบรรยายได้สั้นๆ ว่า เมื่อเรานั่งมองก้อนหินก้อนหนึ่ง เราจะรู้จักกับธรรมชาติทั้งหมด นั่นก็คือ การที่เราต้องมองทุกอย่างเป็นองค์รวม นั่นเอง

สังคมในปัจจุบันกำลังปรับตัวจากสังคมอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นสังคมความรู้ ซึ่งมีคำอยู่ 2 คำที่สำคัญ คือ และ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนต้องมี อาจสรุปออกมาเป็นได้ดังนี้


Head

Explicit knowledge

Hand

Tacit knowledge

Word

Numbers

Data

Formula

Sound

Picture

5 senses

Experience

Insight, hunch,Intuition

Emotions, feelings

Ideals, beliefs, value


เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ การหยั่งรู้ การคิดได้เอง รวมไปถึงแนวคิด ความเชื่อและคุณค่าที่คนๆ นั้นให้ความหมายด้วย เราไม่อาจบอก ได้จากคุณวุฒิได้ ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น ผู้ก่อตั้งบริษัท จบเพียงชั้นประถม หากแต่มี ซึ่งมากจากการไปดูรถที่โรงงานผลิตจริง ดูการทดลองขับรถจริงๆ ต่างหาก แม้แต่เองก็ยังใช้การทำสมาธิเป็นส่วนช่วยเพื่อให้เกิดการรวมร่างกายและจิตใจเป็นหนึ่งเดียว และได้นำวิธีนี้มาใช้ในการสอนนักศึกษาของเขาด้วย เพื่อฝึกให้นักศึกษาเกิดนั่นเอง

ส่วนสำคัญก็คือการที่คนเราจะเปลี่ยนสิ่งที่คิดอยู่ในหัวเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย นั่นคือย่อยมันออกมาเป็นคำพูดนั่นเอง การที่เราจะรู้เรี่องอะไร จะต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่มคนเหล่านั้น มีการแลกเปลี่ยนความคิด มีการหาข้อมูลมาร่วมยืนยัน และสรุปกลับไปให้ทุกคนได้เข้าใจกันอีกครั้ง กระบวนการเหล่านี้จึงจะทำให้สิ่งที่คิดนั้นเข้าใจได้ง่ายและความรู้ก็จะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ จากคนๆ เดียว ไปสู่กลุ่ม จากกลุ่มไปสู่องค์กร และไปสู่ชุมชนได้

แนวคิดแบบญี่ปุ่นที่มีต่อความรู้สามารถสรุปได้คือ

1.a company is viewed as a living organism rather than a machine for information processing

2.knowledge is defined as a dynamic process of justifying human belief toward the truth

3.tacit knowledge is emphasized over explicit knowledge, which is seen as the tip of the iceberg

4.self-organizing teams are recognized as playing a key role in facilitating a dynamic and intensive interaction among team members and providing a shared context for everyone

5.middle managers are seen as knowledge engineers who resolve the contradiction between top management and the front line

6.knowledge is acquired from the outside and utilized effectively to amplify the knowledge spiral

ยังได้สรุปแนะนำอีกว่าในการสร้างความรู้จะต้องพิจารณาสิ่งตรงกันข้ามเสมอ


ดังคำกล่าวที่ว่า Tyranny of the “OR” and the genius of the “AND”ในการใช้ความรู้ต่างๆ จะต้องพิจารณาแนวคิดทางทฤษฎี และสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับทฤษฎี สิ่งทีเกิดขึ้นก็คือการสังเคราะห์ความรู้ หลักการทำสำคัญก็คือจะต้องเชื่อมโยงระหว่าง 2 สิ่ง ให้ได้ นั่นคือต้องพิจารณาระหว่าง head and hand

สรุปได้ว่าแนวคิดแบบเซ็นในการบริหารจัดการความรู้ก็คือการสร้างและใช้ความรู้ โดยพิจารณาภาพรวม นวัตกรรมเกิดขึ้นได้ก็จากการมองเห็นภาพรวมนี้ และต้องมีขึ้นเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จากทุกคนและทุกที่ หากแต่การใช้จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมด้วยเสมอ

หมายเลขบันทึก: 64759เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2016 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท