managers ไม่ใช่ leaders จริงหรือ


ผมมีโอกาสได้รับเชิญจาก คณะสาธารณสุขมหาวิทยาลัย ฮาวาร์ด (T H Chan Harvard school of public health) ให้ไปเป็น Menschel senior leadership fellows อยู่ 9 สัปดาห์ ในช่วงเดือน สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา

 

นอกจากจะต้องไปจัด course พิเศษสั้นๆ (หัวข้อตามใจตัวเอง แต่ต้องผ่านการอนุมัติ จากกรมการหลักสูตรของคณะฯ) ยังต้องไปคุยเรื่อง leadership จากประสบการณ์ และมุมมองของตัวเอง กับ นักศึกษา และอาจารย์ของคณะอีกหลายวาระ ที่เป็นทางการหน่อยก็มีการบันทึก online https://www.hsph.harvard.edu/v...

 

ไม่เคยคิดว่าตัวเอง เป็น leaders แถมเคยตั้งคำถามกับคำว่า leadership มาเป็นระยะๆ โอกาสครั้งนี้กลายเป็นช่วงเวลาทำความเข้าใจกับเรื่องของภาวะผู้นำได้อย่างน่าสนใจ และเห็นว่าน่าแบ่งปัน ในสภาวะที่สังคมไทยดูจะโหยหาผู้นำที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็ในส่วนที่เรียกว่า ผู้นำทางการเมือง

 

 ลองถามตัวเองดูว่า เรารู้จักสิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ มานานแค่ไหน ได้คำตอบว่า ไม่นานมานี้เอง ถ้าไม่นับ เรื่องราวที่ได้เรียนรู้ จากการอ่านหนังสือประวัติบุคคลสำคัญของโลก ในสมัยเป็นนักเรียนประถมปลาย (สมัยนั้นคือ ป 5 ถึงป 7) โดยเล่มแรกที่อ่านตอน ป 5 แปลโดยคุณ อาสา ขอจิตเมตต์ นักแปลผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น

 

เมื่อครั้งที่จบมาทำงานเป็นผู้อำนวยการ โรงพยาบาลอำเภอ เริ่มจากที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มาต่อที่ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา พยายามเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าการบริหารงาน บริหารองค์กร รู้จักสิ่งที่เรียกว่า manager หรือผู้จัดการ

 

ไม่เคยรู้ว่า manager กับ leaders นั้นต่างกันอยู่หลายเรื่อง

 

จนกระทั่ง ในช่วงปลายทศวรรษ 90 ไปเป็นผู้อำนวยารสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พยายามส่งเสริมให้เกิด ผู้จัดการงานวิจัย (research manager) จนได้โอกาสไปคุยแลกเปลี่ยนกับ Prof Vic Neufeld ที่เป็นอาจารย์สอนระบาดวิทยาคลินิค ที่ U of Toronto Canada (Vic เป็น อจ ของ อาจารย์ด้านระบาดวิทยาของ อาจารย์ด้านระบาดวิทยารุ่นแรกของไทยเราหลายคน ที่ไปจบมาจาก แคนาดา โดยทุนของ ร็อคกี้เฟลเลอร์)

 

หลังจากแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ว่า การเป็น research manager ต้องทำอะไร และควรมีความรู้ ความสามารถด้านใด อย่างไร เช่น ต้องชวนคนมาร่วมกันตั้งโจทย์  ต้องสามารถนำผลงานวิจัยไปเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้งานกลุ่มต่างๆ ต้องเข้าใจและสามารพัฒนาศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสนับสนุนการวิจัย ของประเทศ ฯลฯ

 

Vic บอก เขาคิดว่า ควรทำหลักสูตรที่เรียกว่า leadership development in health research มากกว่า หลักสูตร research management เพราะคนที่จะต้องทำสิ่งต่างๆที่คุยกันไป น่าจะเรียกว่า leaders มากกว่า managers กำลังงงอยู่ว่าต่างกันยังไง ก็ได้เรียนรู้จาก อาจารย์ไทยอีกท่านหนึ่ง ที่อยู่ในวงพูดคุยสะท้อนว่า เรียก manager น่ะดีแล้ว เพราะคำว่า leader อาจไม่เหมาะกับบางบริบท ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไปถึงขั้นถูกปฎิเสธได้

 

นั่นเป็นครั้งแรก ที่ได้มีโอกาสได้ยินและทำให้เกิดคำถามว่า แล้วมันต่างกันตรงไหน ทำไมคำหนึ่งจึงไปก่อปฎิกรืยาในทางลบได้ ในบางบริบท

 

คำตอบที่ชัดเจนขึ้นมาปรากฎในเวลาห่างออกไปหลายปี ด้วยข้อสรุปง่ายๆว่า

 

managers keep the routine going well แต่ leaders see the needs to break the routine and lead the change

 

อาจเป็นข้อสรุปชี้ความแตกต่างที่สุดโต่งไปหน่อย  อาจทำให้ผู้ที่มีตำแหน่ง manager ทั้งหลายไม่พอใจได้

 

แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้แปลว่า คนเป็น manager จะเป็น leaders ไม่ได้ หรือไม่จำเป็นต้องมี leadership

 

เพราะอย่างน้อย manager ทุกคน มีภาระกิจ ที่จะต้องแสดง leadership และสร้างการเปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ

 

อย่างน้อยที่สุดก็ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวทีมงาน (ให้เกิดแรงจูงใจ และความสามารถในการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย)

 

มากกว่านั้น ก็เป็นความสามารถที่จะต้องหาทางปรับเปลี่ยนการทำงาน ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ในทางกลับกัน มีคนแอบเมาท์ว่า leaders ต่างหากที่น่าเป็นห่วง

 

ในขณะที่ manager ที่ดี ต้องมี leadership อย่างน้อยก็เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับย่อยๆดังที่กล่าวมา

 

leaders มักมีแต่ leadership แต่ไม่มี managerial skills ที่จะลงไปดูแล แก้ไข สิ่งที่เป็นรายละเอียด ที่ managers มักจะทำได้เป็นทักษะปกติอยู่แล้ว

 

เห็นโลกมากขึ้น ทำความเข้าใจกับการถกเถียงเรื่องคำเหล่านี้มากขึ้น ก็สรุปกับตัวเองว่า

 

สองอย่างนี้คือ managerial skills กับ leadership เป็นพฤติกรรม (ความสามารถ) ที่ควรมีในทุกผู้ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคน ล้วนต้องอยู่กับ ความท้าทายสองอย่างตลอดช่วงชีวิต

 

สิ่งแรกคือ การทำงานให้สำเร็จในบริบทที่ต้องมีคนทำงานมากกว่า ตัวเอง ซึ่งก็คือการมี managerial skills

สิ่งที่สองคือ การพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแปลว่า ต้องมี leadership

 

ส่วนจะมีชื่อตำแหน่งว่าอย่างไร หรือแม้กระทั่งไม่มีตำแหน่งอะไรเป็นทางการ ก็ใช่ว่า จะไม่ต้องมี managerial skills หรือปฎิเสธการมี leadership ได้

 

ถึงจะมีชื่อตำแหน่งเป็น manager ก็ไม่อาจปฎิเสธการต้องมี leadership ได้แน่ๆ

 

การไป ติดป้าย ว่าคนนี้เป็น ผู้จัดการ คนโน้นเป็น ผู้นำ เป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ด้วยเหตุผลสารพัด

 

แต่ที่สำคัญคือ ช่วยให้ตัวเอง ไม่ตกหลุมการมองโลก เพราะไปติดกับคำ และตำแหน่ง แล้วบอกตัวเองว่า

 

ฉันไม่ได้มีตำแหน่ง หรือหน้าที่ เป็นทั้งผู้จัดการ หรือ ผู้นำ  สิ่งที่ควรทำคือ รอคนอื่นมาบอก มานำ ไม่งั้นจะกลายเป็นการไม่เจียมตัว ไปทำงานหรือทำตัวเกินหน้าที่ เกินความสามารถ

 

แล้วก็รอ หรือมองหา ผู้นำที่ดี มาชวนให้เราไปทำเรื่องดีๆ มานำพาให้เราไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

 

ต้องบอกตัวเองใหม่ว่า

  ทุกคนเป็นผู้นำ (ได้) และต้องพัฒนาภาวะผู้นำให้กับตนเอง (ให้ได้)

ดีกว่านั้นคือ ทำให้เกิดภาวะผู้นำในผู้อื่นได้ด้วย อย่างที่มีคนแบ่งภาวะผู้นำไว้ 5 ระดับ

โดยระดับสูงสุดเรียกว่า pinnacle leadership

หมายเลขบันทึก: 647343เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2018 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ทุกคนเป็นผู้นำ (ได้) และต้องพัฒนาภาวะผู้นำให้กับตนเอง (ให้ได้) 

ขอบพระคุณอาจารย์ที่มาเขียนข้อคิดดีดีให้ได้ศึกษาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท