กิจกรรมบำบัดยาเสพติด


หลายท่านยังไม่รู้ว่า นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาททำอะไรในการฟื้นฟูผู้ป่วยติดยาเสพติดระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ คำตอบคือ นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์รายบุคคลว่า รู้เหตุแห่งนิสัยที่ดีขึ้นและแย่ลงของตนเองหลังติดยาเสพติดไหม ถ้ารู้แล้วทำให้สมองส่วนการรับรู้สึกนึกคิดแย่ลงอย่างไร จะหากิจกรรมอะไรมาสร้างเส้นทางการเรียนรู้ใหม่ในสมอง สร้างนิสัยใหม่ให้แสดงบทบาทในชีวิตที่หลากหลายได้ดีมีสุขอย่างไรจะได้เพิ่มคุณค่าและความเป็นพลเมืองดีในระยะยาว...ขอบพระคุณโอกาสสนทนาสหวิชาชีพที่มีจิตมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้ป่วยติดยาเสพติดที่มีและไม่มีความบกพร่องทางจิตสังคมอย่างมากมายในไทย ปล.ขอบพระคุณพี่น้องนักกิจกรรมบำบัดที่มาอบรมเป็น Case Manager ทุกรุ่น โดยเฉพาะดรีมทีมต้นแบบหัวใจงาม อ.พรเพ็ญ น้องขวัญ น้องชมพู่ และอ.ป๊อป ดีต่อใจและขอบพระคุณคลิปจากน้องขวัญครับ

ขออนุญาตถอดบทเรียนความรู้เรื่อง บทบาทหน้าที่นักกิจกรรมบำบัดในผู้ติดสารเสพติด ในรูปตัวย่อ 4P โดยได้รับความรู้จากอ.พรเพ็ญกับพี่น้องรุ่น 1-2 ดังนี้
1. Personalization จัดกิจกรรมประเมินให้เคสรู้ตัวว่าถนัด ชอบ สนใจ  อะไรบ้าง เริ่มต้นทำกิจกรรมได้ไหม ต้องกระตุ้นให้คิด ลำดับการรู้คิด จดจำขั้นตอน จดจ่อ มีสมาธิ แก้ปัญหาที่ท้าทาย สื่อสารเหตุผล ระมัดระวัง ดูแลตัวเองให้ปลอดภัย ดูแลใส่ใจผู้อื่น รับผิดชอบ สร้างนิสัยใหม่ๆที่ดี มีความมั่นใจ ภูมิใจ ได้โดยไม่มีนักกิจกรรมบำบัดหรือไม่ อย่างไร Personal causation, Interest Checklist, & Executive Function
2. Prioritization กระตุ้นให้เคสตื่นตัว แสดงความต้องการที่จำเป็นและจัดลำดับความสำคัญในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีคุณค่าตามการสร้างนิสัยใหม่ การฝึกนิสัยที่ดีซ้ำๆ การฝึกความคิดความเข้าใจที่อิสระในสถานการณ์ชีวิตจริง และการสื่อสารสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนที่เคสรักและศรัทธาให้เป็นต้นแบบทักษะชีวิตอย่างผ่อนคลายสบายใจ จนเกิด Brain Pathway ใหม่ ผ่านกิจกรรมการรับความรู้สึกที่หลากหลาย หรือ Multisensory มีการเคลื่อนไหวบูรณาการการรับรู้เคลื่อนไหวที่ไม่ซ้ำซากจำเจผ่านการวิเคราะห์กิจกรรมจากง่ายไปยาก Grading Activity Analysis & Sensorimotor integration จนถึงการฟื้นฟูทักษะการรับรู้ที่สำคัญในการเพิ่มทักษะการดูแลตนเอง การทำงานบ้านที่ใช้พลังงานพอเหมาะ และการรู้จักคิดและเข้าใจสุขภาพของตนเองและดูแลครอบครัวได้ Perceptual & Cognitive Training
3. Preparation การวิเคราะห์และออกแบบขั้นตอนการทำงานที่เคสอยากกลับไปทำจริงๆและทักษะพื้นฐานของการจัดการเวลา-การเงิน-การยับยั้งชั่งใจ-การพักผ่อนหย่อนใจ-การเป็นพลเมืองดี (Return to Work Program & Self Management Skills)
4. Participation เพิ่มความพร้อมในการกลับไปทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันกับกลุ่มเพื่อนใหม่ ครอบครัวที่มีทัศนคติบวก และชุมชนที่เข้มแข็งพร้อมสนับสนุนสิ่งแวดล้อมที้เคสประกอบอาชีพได้สมดุลกับการนอนหลับพักผ่อน การใช้เวลาดูแลตัวเอง-ทำงานบ้าน-ดูแลครอบครัว-มีกิจกรรมยามว่างเข้าสังคม (Social Emotional Learning with Family-Peer-Community) ส่งเสริม Well Being Performance ที่เคสมีโอกาสแสดงความสุขความสามารถด้วยตัวเอง Client Centered Approach and Therapeutic Relationship Environment

ในกรณีศึกษาแรกจากการอบรม เป็นเคสระบบสมัครใจ ในทางกิจกรรมบำบัด บ่งชี้ถึง เคสกำลังรู้ตัวว่า อยากสร้างนิสัยใหม่อะไร ต้องการพัฒนาทักษะชีวิตอะไร 

ในระยะแรกหลังจากเคสมีระดับการรู้สึกตัวที่มีจิตสงบ แม้จะง่วงๆซึมๆ แต่พอที่จะกระตุ้นสื่อสารได้  นักกิจกรรมบำบัดจึงประเมิน Personalization ควบคู่กับ Prioritization โดยวิเคราะห์จากการสร้างปฏิสัมพันธ์พูดคุยและสังเกตศักยภาพของเคสและผู้ที่เป็นแรงจูงใจหลักคือ คุณแม่ ได้แก่ 

  1. Personal Causation การรู้ตัวถึงเหตุแห่งพฤติกรรมที่เป็นบวกและลบ ทั้งก่อนและหลังการใช้ยาเสพติด รวมทั้งพิจารณาว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องทำเพื่อเพิ่มคุณค่า หรือ ทำให้ชีวิตที่เหลืออยู่ได้ทำอะไรที่สำคัญต่อชีวิตบ้าง นักกิจกรรมบำบัดสอบถามความมั่นใจในสมรรถนะ/ศักยภาพแห่งตนได้ผ่านสเกล 1-7 หรือ 0-10 ถ้าเคสตอบ 1-3/7 ให้ถามต่อว่า แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้เต็ม 7 หรือ 0-6/10 แล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้เต็ม 10
  2. Meaning & Purpose (Positive Psychology) การตั้งเป้าหมายในชีวิตด้วยตนเองในระยะยาว เช่น 3-6 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ ประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้นด้วยตนเอง จากนั้นมาริเริ่มวางแผนตั้งเป้าหมายชีวิตใน 3-6 เดือนจนถึงระยะยาวคือ 6-12 เดือน จนถึง 1-15 ปี (Timeline Therapy)
  3. Interest Checklist การสำรวจผ่านการลงมือกระทำกิจกรรมที่มีรูปแบบอิสระและเกิดกระบวนการรับความรู้สึกที่ชอบหลากหลาย (Multisensory Environment & Sensory Preference Exploration) 
  4. Occupational Self-Assessment การใช้แบบประเมินเพื่อทบทวนกระบวนการคิดทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยตนเอง

จากนั้นให้นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์และสังเคราะห์งาน ขั้นตอนการทำงาน ต่อยอดเป็นหนึ่งกิจกรรม ที่มีเป้าหมายและความหมายในการเพิ่มความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมประเมินกระบวนการรับรู้สึกนึกคิดและเข้าใจ รวมทั้งการบริหารจัดการของสมองขณะเริ่ม กำลังทำ และสิ้นสุดทำกิจกรรมใดๆ (ระลึกจำทันที ควบคุมพฤติกรรม และคิดอย่างยืดหยุ่น) ซึ่งสะท้อนระดับการรู้คิดหรือความคิดความเข้าใจในระดับของ Allen's Functional Cognitive Levels ได้อีกมิติหนึ่งด้วย

ในระยะสอง นักกิจกรรมบำบัดทำงานร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยา เพื่อประเมินความก้าวหน้าของเคสร่วมกัน โดยเน้น Preparation & Participation ในสิ่งแวดล้อมจริง (ถ้าเป็นไปได้) หรือในทางกิจกรรมบำบัดเน้นกระตุ้นแสดงบทบาทแก้ปัญหาสถานการณ์ชีวิต เรียก Social Emotional Learning by Doing Role Play (SEL) จนถึงการวิเคราะห์ขั้นตอนต่างๆ ที่เป็นลำดับด้วยการเสริมพลังใจ (Sequencing & Empowerment) และฝึกการรู้คิดที่ยืดหยุ่นมีทางออกหลากหลายและมีความหวัง (Flexibility & Hopeful Choices) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการปรับรูปแบบการฟื้นฟูทางการแพทย์สู่การฟื้นคืนสุขภาวะ (Recovery Rehabilitation) โดยที่รูปแบบลดความเป็นการสอนจากบุคลากรทางการแพทย์ลงมาเป็นอิสระและชักชวนให้เคสคิดเองกับเพื่อนๆ ที่กำลังก้าวข้ามประสบการณ์ชีวิตติดสารเสพติดไปด้วยกัน (Unstructured Group Therapy with Freedom) คลิกชื่นชมตัวอย่างที่นี่ในกิจกรรมสมาคมสายใยครอบครัว และ คลิกช่วงแรกที่ได้มีโอกาสร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดศูนย์ยาเสพติดเชียงใหม่ (ชื่อเดิม)

คือ เตรียมความพร้อมในการกลับไปที่บทบาทของลูกดูแลแม่ บทบาทของการบวชพระและจำวัด บทบาทของการสึกจากพระแล้วกลับไปที่ทำงานพ่อครัวจัดโต๊ะจีน แต่ที่สำคัญ นักกิจกรรมบำบัดจะวิเคราะห์กิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบ (Grading Activities/Occupational Analysis) ในการใช้ชีวิตแสดงความสามารถดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น คลิกเรียนรู้กิจกรรมบำบัดในการกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนหลังติดสารเสพติด

ทั้งนี้สหวิชาชีพร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแง่ "ทำอย่างไรจะปรับสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบตัวเคสให้เกิดทักษะการสื่อสารจิตสังคมที่รู้จักยับยั้งชั่งใจในการไม่ใช้สารเสพติด เช่น เปลี่ยนกลุ่มเพื่อนใหม่" 

ในกรณีศึกษาที่สองชายไทย มีความยากขึ้นกว่าเคสแรก เพราะมีปมปัญหาพ่อแม่เลิกกัน และสะสมประสบการณ์ชีวิต (ในทางกิจกรรมบำบัด จะเรียก พฤตินิสัย หรือ การบ่มเพาะนิสัย Habituation) ที่แม่ตามใจและปกป้องมากและขาดต้นแบบการเรียนรู้จากพ่อ ส่งผลให้เคสแสดงบทบาทที่ขัดแย้ง ไม่มีโอกาสได้ใช้ศักยภาพที่ดี (ฉลาดหัวไว พูดจาเก่งมีอารมณ์ขัน เข้ากับคนง่าย) เพราะเกิดการรู้คิดที่ผิดพลาด (Cognitive Distortion) ได้แก่ ทำผิดระเบียบเล่นการพนันเพราะไม่ทำให้ใครเดือนร้อน ส่งผลกระทบให้อารมณ์หงุดหงิดง่ายจนถึงการระบายแรงขับผ่านการมีเพศสัมพันธ์และการเสพยาตามเพื่อน

หลังจากที่แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ได้ตรวจประเมินทางการแพทย์แล้ว และนักสังคมสงเคราะห์ ได้ตรวจประเมินความพร้อมของครอบครัวและแหล่งสนับสนุนทางสังคมเบื้องต้น นักกิจกรรมบำบัดรอรับ Consult ในรายที่ซับซ้อนเช่นนี้ ก็เริ่มประเมินว่า "เคสมีการรู้คิดที่เหมาะสมในเหตุของพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเอง (Personalization) เช่น กิจกรรมอะไรที่อยากทำและถ้าทำแล้วจะทำให้ชีวิตมีความสุข คุณค่าของตัวเองอยู่ที่ใด และทำกิจกรรมอะไรแล้วทำให้เรามีคุณค่าเพิ่มขึ้น ที่เคสชอบความท้าทาย (Cognitive Challenging/Cog FUN) อยากทำกิจกรรมสร้างสรรค์อะไร (Creativity) เพื่อฝึกสมองใหม่ ให้จำได้ดี คิดได้คล่อง อารมณ์ดี ร่างกายแข็งแรง พร้อมทำความดี เช่น Diversional Circuit Training Activities คลิกเรียนรู้ที่นี่

จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดจะชวนเคส ลองเลือกแล้วจัดลำดับว่าทำแล้วได้ประโยชน์เรียงลำดับจากมากไปน้อย สัก 5 กิจกรรม (Prioritization - Grading Activity Preference) รวมทั้งควรให้โอกาสได้พักและปรับการออกแรงอย่างเหมาะสมตามการสงวนพลังงานเพราะเคสติดสารเสพติดจะมีความเหนื่อยล้าทางสมองง่าย (Cognitive Fatigue with Energy Conservation Program) ในกรณีที่สมองล้าเร็วและไม่จดจ่อทำกิจกรรมได้สมวัย นักกิจกรรมบำบัดอาจจะประเมินทักษะความคิดความเข้าใจพื้นฐาน เช่น Orientation, Sequencing, Planning & Judgement (Decision Making & Problem Solving) สู่การบริหารจัดการจากสมองส่วนหน้าหรือ Executive Function เช่น Working Memory, Emotional Coping (Self-Control & Behavioral Inhibition/Self-Limitation) และ Flexible Thinking ร่วมด้วยขณะเริ่ม ระหว่าง และหลังทำกลุ่มกิจกรรมใดๆ ที่ชอบความท้าทาย สนุกกับเพื่อนๆ ที่สร้างความคิดบวกได้ เป็นต้น"  

แต่เคสไม่มาตามนัดหมายการบำบัดฟื้นฟู เพราะมีการทำร้ายมารดา ส่งเข้าระบบบังคับบำบัดแบบควบคุมตัวเข้มงวดในค่ายวิวัฒน์พลเมือง/ธัญญารักษ์ กลับมาต่อที่รพช. แต่ก็ยังขาดนัดเช่นเดิม "ตรงนี้นักกิจกรรมบำบัดควรพิจารณาสืบค้นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการตั้งเป้าหมายของการคงไว้ซึ่งความสามารถในการดูแลตัวเองอย่างไรถึงจะเหมาะสม?"

 เช่นเดียวกับในกรณีศึกษาสุดท้ายระบบต้องโทษ/ออกจากเรือนจำ/ซับซ้อน

สำหรับในเคสนี้ ถ้าเป็นระบบสากล นักกิจกรรมบำบัดจะอยู่ในทีมสหวิชาชีพระบบบำบัดฟื้นฟูพิเศษในเรือนจำ ทำหน้าที่ตามบริบทของกฎและระเบียบของเรือนจำ ซึ่งจะได้ประสิทธิผลกว่าการไปเยี่ยมเคสจากทีมสหวิชาชีพทางการแพทย์เป็นครั้งคราว คลิกอ่านที่นี่ 

แต่ถ้ามีการเข้ามาครั้งแรกก่อนไประบบบำบัดฟื้นฟูพิเศษในเรือนจำข้างต้น นักกิจกรรมบำบัดรอรับ Consult โดยตั้งเป้าหมายแบบ Structured Self-Management Program ประกอบด้วย Symptom & Emotional Management (เน้น Maintain Basic Cognitive Process Skills) เพราะมีปัญหาสูญเสียการรับรู้ความเป็นจริง มีหูแว่ว กลัว ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย ส่งผลกระทบต่อความสามารถของร่างกายและจิตใจแบบยุ่งยากซับซ้อน ในทางกลับกันนักกิจกรรมบำบัดควรฝึกเจริญสติสัมปชัญญะผ่านกระบวนการที่ตรงจริตและทางเลือกของ Energy Medicine เช่น Emotional Freedom Tapping (EFT) หรือ Sound Healing Therapy หรือ Spontaneous Happiness มิให้สะสมความเครียดและสงวนพลังงานในการบำบัดฟื้นฟูเคสเช่นนี้ 

สำหรับความก้าวหน้าในอีกองค์ประกอบของ Self-Management Program ที่สำคัญและนักกิจกรรมบำบัดควรประเมิน Transitional Role & Responsibility Management ซึ่งรอรับ Consult ในกรณีที่เคสนี้มีความต้องการแท้จริงในการฝึกความพร้อมในการทำกิจกรรมตามบทบาทต่างๆ และมีบริบทเชื่อมโยงระหว่างเรือนจำกับชุมชน ซึ่งควรประสานงานกับทีมสหวิชาชีพในด้าน Supported Employment ทั้งนี้ความก้าวหน้าของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเฉพาะเจาะจงนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้และระดับการรู้คิด/ความคิดความเข้าใจว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไรในระยะยาวจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตที่ "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" หากมีเวลาเรื่องนี้ เชิญชวนกัลยาณมิตรรับชมคลิปนี้ เพื่อเป็นสัจธรรมที่ว่า "ไม่มีอะไรที่เราจะทำได้หมดทุกอย่าง...ทักษะปัญญาเมตตาโดยเฉพาะการเริ่มอุเบกขา" 

ด้วยความขอบพระคุณและขอส่งพลังใจให้ทุกท่านมีจิตมุ่งมั่นทำความดีอย่างพอดีครับผม

หมายเลขบันทึก: 647115เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2018 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับอาจารย์

-"ทำความดีอย่างพอดี"

-หัวใจของความพอดี คือ"ความพอใจ"ในใจตน นะขอรับ

-มิต้องเลียนแบบใคร หากแต่เราพอใจในสิ่งที่เราเป็น ไม่เบียดเบียนใครก็เพียงใจนะครับ

-ขอส่งความสุขมาให้ทีมงานนักกิจกรรมบำบัดด้วยนะครับ

-ด้วยความระลึกถึงอาจารย์อยู่เสมอครับ..

ขอบพระคุณและส่งกำลังใจด้วยความนับถือเสมอครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท