โจทย์ 1: บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตในชุมชนคืออะไร
- ประเมินแบบคัดกรองความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และดูแนวโน้มที่มีความเสี่ยงหรือปัญหา "ความไม่สมดุลของการใช้ศักยภาพในการดูแลตนเอง การดูแลผู้อื่น และการเป็นพลเมืองดีในการทำงาน การศึกษา การใช้เวลาว่างทำงานจิตอาสา และการมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง
- อ้างอิง Psychosocial Rehabilitation Model เพื่อให้ความรู้เพื่อไปปลุกเร้าให้ชุมชนดูแลตัวเองอย่างมีพลังชีวิต
- อ้างอิง Occupational Model เพื่อให้บุคคลจัดการเวลาให้มีความเหมาะสมโดยคำนึงถึงกิจกรรมที่เป้าหมายและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- ประสานงานและร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพในการใช้กรอบอ้างอิงข้างต้นเพื่อสุขภาพจิตชุมชน เช่น สุขภาพจิตดี คนในชุมชนจะมีแรงขับเคลื่อนสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
โจทย์ 2: นักกิจกรรมบำบัดจะส่งเสริมศักยภาพของชุมชนที่มีผู้ติดยาเสพติดได้อย่างไร
- ประเมินความเสี่ยงดูแนวโน้มการติดยาเสพติด และคุณภาพชีวิตในชุมชนทั้งก่อนและหลังการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันทุกขภาวะทางสุขภาพจิตสังคม
- Person/s (บุุคคล/ชุมชน): จากการประเมินและเมื่อพบแนวโน้มการติดยาเสพติดของแต่ละบุคคล ประเมินความสามารถของคนในชุมชน
- Environment (สิ่งแวดล้อม): มีการทำงานร่วมกันกับสหวิชาชีพโดยมีการทำงานร่วมมือกับตำรวจ/ทหาร และศูนย์บำบัดยาเสพติดโดยมีการฝึกอบรมก่อนการลงชุมชนจริง
- Occupation (กิจกรรมการดำเนินชีวิต): จัดกิจกรรมตามบทบาท เพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งการมีส่วนร่วมกันในชุมชน โดยอ้างอิง Psychosocial Rehabilitation Model เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำโดยหากิจกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมาย และส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนโดยนำคนในชุมชนที่มีความสนใจเหมือนกันเข้าร่วมการทำอาชีพที่มีเป้าหมายเดียวกัน เช่น ให้ความรู้และส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษา การทำกิจกรรมยามว่าง (การเล่นกีฬา กิจกรรมทำร่วมกับครอบครัว กิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี) การสร้างเครือข่าย จิตอาสาเพื่อให้ความรู้ต่อยอดจากนักกิจกรรมบำบัด (การนำผู้ที่เคยติดยาเสพติดแล้วสามารถเลิกได้ มาให้ความรู้ เกิดแรงจูงใจในการหาย และเป็นผู้นำในชุมชนด้วยความภาคภูมิใจ)
- Performance & Participation (ความสามารถและการมีส่วนร่วม): ประเมินและติดตามการพัฒนาทักษะการควบคุมตนเองและการสร้างความสมดุลของการใช้เวลาดูแลตนเอง ศึกษา/ทำงาน ดูแลผู้อื่น และมีส่วนร่วมเป็นพลเมืองดีของชุมชน (Citizenship & Empowerment)
ประเด็นที่ฝากไว้กับสังคมไทยคือ "เมื่อใดเล่าที่คนไทยจะมีหัวใจแห่งจิตอาสาและความเป็นพลเมืองดี ช่วยเหลือผู้อื่นที่ยากไร้ ที่พิการ และที่มีความบกพร่องทางร่างกาย/จิตสังคม เมื่อนั้นการสร้างเครือข่ายสหวิชาชีพทางการแพทย์และทางสังคมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแปลความรู้ที่เป็นสาธารณประโยชน์ด้วยความสุขต่อไป"
ขอบคุณมากครับอ.ดร.จันทวรรณ
มีผู้กล่าวว่า การให้มือ ดีกว่าให้เงิน.. เรามีผูู้ใจบุญ บริจาคเงินและสิ่งของ แต่ผู้ที่อาสาบริจาคแรง และเวลา น่าจะได้รับการ value มากขึ้น ขอคิดต่อค่ะว่าทำอย่างไร สังคมเราจะให้คุณค่าจิตอาสา (เช่น ตอนสัมภาษณ์เรียน สัมภาษณ์ทำงาน)
ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. เป็นเรื่องที่หลายคนควรตระหนักรู้ถึงกระบวนการสร้างคนดีในทุกส่วนงานครับผม
ขอบคุณมากครับอ.ณัฐพัชร์ คุณ Sila Phu-Chaya และคุณทิมดาบ
ขอบคุณมากครับพี่โอ๋ที่รักและเคารพอย่างยิ่ง
อาจารย์ป๊อปเป็นแบบอย่างให้หนู ในการดำรงชีวิตที่จะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดี และเป็นพลเมืองที่ดีได้ในอนาคต ในการทุ่มเท การมีจิตอาสา การช่วยเหลือผู้อื่นมุ่งมั่นกับการเรียน การทำงานทั้งในคลินิก โรงพยาบาล และโดยเฉพาะคนในชุม เราก็ต้องดูบริบทของผู้รับบริการในการเข้าหาผู้รับบริการโดยการติดยาเสพติดในเยาวชน หรือคนทั่วไปก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตร่วมด้วย เราอาจจะเข้าหาผู้รับบริการได้ยากมากขึ้น ในการชักจูงให้มาบำบัดรักษา ฉะนั้น เราควรมีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเราและผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการได้มีความเข้าใจที่ดีต่อเรา ทำให้ผู้รับบริการเกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือกันในการรักษาความเจ็บป่วย โดยใช้การสื่อสารที่ดีเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธภาพ โดยการสื่อสารในการพูด และเราจะต้องมีการติดต่อสื่อสารทำงานร่วมกับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นๆ เราก็สร้างสัมพันธภาพที่ดีผู้ร่วมงานด้วย เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้รับบริการ และเพื่อไม่ให้ผู้รับบริการกลับไปใช้สารเสพติดอีก
ขอบคุณมากครับคุณยอดขวัญ