กิจกรรมบำบัดกับงานฟื้นฟู


หลายคนยังไม่เข้าใจว่านักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างไรในงานฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สากล บันทึกขอสรุปรวบยอดให้พี่น้องที่สนใจเรียนรู้กัน

ก่อนอื่นลองศึกษาคำว่า Rehabilitation หรือ การฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้เข้าใจว่าแยกได้หลายประเภท เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารเสพติด (Drug Rehabilitation), การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (จิตเวช) (Psychosocial (Psychiatric) Rehabilitation), การฟื้นฟูสมรรถภาพการรู้คิด/ความคิดความเข้าใจ (ประสาทจิตวิทยา) (Cognitive (Neuropsychological) Rehabilitation), การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Rehabilitation) ฯลฯ

แต่เมื่อมาศึกษา Rehabilitation จาก WHO พบว่า เน้นกระบวนการพัฒนาผู้ที่มีความพิการให้เพิ่มและคงระดับที่เหมาะสมของการทำหน้าที่ทางร่างกาย ความรู้สึก สติปัญญา จิตใจ และสังคม ด้วยเครื่องมือต่างๆ ตามความต้องการใช้ชีวิตที่อิสระ (พึงพาตนเอง, Independence) และที่สามารถทบทวนความคิดเพื่อการจัดการชีวิตตนเอง(Self-determination)

ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทที่หลากหลายในงานฟื้นฟูสมรรถภาพข้างต้นด้วยการประเมินเชิงปริมาณ (Evaluation) และเชิงคุณภาพกับปริมาณ (Assessment)  การบำบัดฟื้นฟู การส่งเสริมป้องกัน การให้เหตุผลทางคลินิก รูปแบบการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา (Active Learning) ในกิจกรรมบำบัดศึกษา (Occupational Therapy Education) การวิจัยพัฒนา และการแปลความรู้ (Knowledge Translation) ถึงและขอบเขตและกระบวนการ (Domain and Process) ที่เกิดสุขภาวะ/ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) จากความสามารถ/ทักษะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Performance) ได้แก่ การดูแลตนเอง การทำกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือ การทำงาน การทำกิจกรรมยามว่าง การเล่น การนอนหลับ การพักผ่อน และการเข้าสังคม ด้วยองค์ประกอบความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupatinal Performance Component) ได้แก่ ทักษะทางร่างกาย ทักษะทางจิตสังคม ทักษะทางการเรียนรู้ ทักษะการพัฒนาเด็ก และทักษะชีวิตตลอดทุกช่วงวัย

สำหรับ ดร.ป๊อป ก็ทำความเข้าใจบทบาทข้างต้นอยู่นาน และอยากให้คนไทยทราบถึงความเชี่ยวชาญของนักกิจกรรมบำบัดในระดับสากลมากขึ้นได้ที่ Wikipedia Occupational Therapy   หรือ วิกีพีเดีย กิจกรรมบำบัด

สำหรับในงานฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมข้างต้นนั้น ปัจจุบันได้ต่อยอดกับรูปแบบการฟื้นตัว (Recovery Model) ซึ่ง ดร.ป๊อป ขอให้ชื่อที่ง่ายขึ้นว่า การสานพลังชีวิต ซึ่งคลิกอ่านที่ E-book กิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต และตัวอย่างโปรแกรมสานพลังชีวิต จนถึงมาตราฐานนักกิจกรรมบำบัดสุขภาพจิตหรือจิตสังคมของออสเตรเลีย ได้ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 463470เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีครับอาจารย์ป้อป

ขอบคุณมากนะครับสำหรับการอธิบายความหมายของ "การฟื้นฟูสมรรถภาพ" ซึ่งทำให้เข้าใจถึงบทบาทของทีมสุขภาพว่า ในบทบาทของตัวเองจะสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้รับบริการได้อย่างไร

แต่เดิมเราคิดว่าบทบาทของการฟื้นฟูก็คือ การช่วยให้เขา "living with illness/disability" แต่หลังจากที่รับอิทธิพลของ recovery model แล้วการฟื้นฟูจะเป็นการช่วยให้บุคคล "living beyond illness/disability" ซึ่งกินความหมายค่อนข้างลึกซึ้งและกว้าง

แน่นอนครับ บทบาทของพวกเราย่อมเปลี่ยนไปตามแนวคิดที่ใช้ในการดูแล โดยเฉพาะ recovery model คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อให้ทีมสุขภาพเข้าใจ และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับ recovery model แทนการยึดติดกับ medical model อย่างที่เป็นอยู่

เห็นด้วยกับคุณ Recovery อย่างยิ่งและคงต้องใช้เวลาในการปรับและแปลความรู้ในทีม Rehab สู่ทีม Recovery ในไทยอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท