ระบบกิจกรรม...บำบัดผู้ติดยา


ขอขอบคุณ ผอ. และคณะทำงานศูนย์บำบัดยาเสพติดเชียงใหม่ ที่ให้ ดร. ป๊อป เป็นที่ปรึกษาในระยะเวลา 2 ปี เพื่อจัดระบบกิจกรรมบำบัดในผู้ติดสารเสพติดและสุรา ซึ่งยังไม่มีวิชาการและวิจัยทางด้านนี้มากนัก

ผมประทับใจในวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารที่ต้องการเห็น "ความชัดเจน" ของงานกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติด และได้เรียนรู้โมเดลที่คิดค้นขึ้นในระดับสากลและประเทศเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเร่งรัด (FAST MODEL) - 4 เดือน - โดยมีกิจกรรมทางเลือกแนว "บังคับบำบัด" (Alternative Activities) และแผนการสอนให้รู้จักตนเองในการใช้ชีวิต (Self-Helps) ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีระเบียบแนว "ชุมชนบำบัด" (Therapeutic Community, TC) และมีการส่งพยาบาลและนักจิตวิทยาคลินิกศึกษาดูงาน Daytop Village, USA

แต่เมื่อถามอย่างนักวิชาการถึง "ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโมเดลและรูปแบบโปรแกรมต่างๆ เช่น ครอบครัวบำบัด นันทนาการบำบัด การสำรวจตนเองและบันทึกกิจกรรมคล้ายสมุดพก เกษตรกรรมแบบพอเพียง หน่วยชุมชนบำบัด คหกรรมบำบัด ฯลฯ แบบสหวิชาชีพ โดยมีการติดตามระยะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ติดสารเสพติดตั้งแต่ถอนพิษยาและเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Stage of Chage) ก็พบว่าบุคลากรทีมีความมุ่งมั่นแต่มีจำนวนไม่เพียงพอในการให้บริการต่อผู้ติดสารเสพติดที่พักในศูนย์ฯ จำนวน 300 คน และอีกหลายรายที่ออกไปอยู่ในชุมชนนอกศูนย์ฯ ไม่ได้ เคยคิดประเมินคุณภาพชีวิตและอื่นๆ แต่ขาดแนวทางการวิจัยอย่างชัดเจน บุคลากรทุกท่านแสดงความเชื่อและความคิดเห็นตามประสบการณ์ว่าวิธีการบำบัดข้างต้นช่วยให้ผู้ติดสารเสพติดเลิกยาได้ แต่ผมไม่ขอถามต่อว่าเลิกได้ชั่วคราวหรือถาวรหลังจากออกจากศูนย์ฯ เท่าที่สำรวจข้อมูลคร่าวๆ ครอบครัวและชุมชมในชีวิตจริงของผู้ติดสารเสพติดมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพน้อยมากและปล่อยให้ศูนย์ฯ รับภาระพัฒนาพฤตินิสัยและความสามารถในการดำเนินชีวิตภายให้กรอบแห่งสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้ของศูนย์ฯ

โจทย์ที่ท้าทายความสามารถของ ดร. ทางกิจกรรมบำบัด อย่างผมคือ อาจารย์คิดว่า กิจกรรมบำบัดจะช่วยผู้ติดสารเสพติดอย่างไร

คำตอบของผมคือ ผมได้ทบทวนข้อมูลวิชาการและเรียนรู้จากความเชี่ยวชาญในกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม ผมขอนำเสนอ Model of Human Occupation (MOHO) ซึ่งกล่าวถึง Volition (เจตจำนงค์ - ความสนใจ ความเชื่อ ความชอบ และความมั่นใจ) ในการสำรวจ แสดงศักยภาพ และประสบความสำเร็จในการมีทักษะความสามารถทำกิจกรรมการดูแลตนเอง การทำงาน และการใช้เวลาว่าง อย่างมีความสุข

ทุกคนในที่ประชุมก็นำเสนอว่า กิจกรรมต่างๆ เป็นทางเลือกแบบบังคับให้ผู้ติดสารเสพติดทุกคนมีความสุขในการทำกิจวัตรประจำวัน แล้วกิจกรรมบำบัดคือกิจกรรมทางเลือกหรือไม่

ผมอธิบายต่อว่า กิจกรรมบำบัด มีความเป็นวิชาชีพสากลของ WFOT และ WHO ในระดับศาสตร์และศิลป์ของการพัฒนาทักษะความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยมีกระบวนการประเมินและบำบัดภายใต้กรอบแนวคิดที่ชัดเจน (Conceptual Framework) ทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning Skills) และใบประกอบวิชาชีพตามกฎหมายสากลและประเทศ

ซึ่งมีหลายกรอบอ้างอิง (Frame of Reference) ได้แก่ หลักการหรือแนวคิดที่มีเหตุและผลเชิงทฤษฏีในมุมมองกว้างๆ เหมือนกัน

และมีหลายรูปแบบ (Model) ได้แก่ กระบวนการตามหลักการหรือแนวคิดที่มีเหตุและผลเชิงทฤษฏีในมุมมองทั้งกว้างและลึก ซึ่งอาจผ่านการปฏิบัติในงานวิจัยนำร่องมาแล้ว เช่น Self-Management Model of Care, Person-Environment-Occupation (PEO) Model, MOHO 

หรือมีการบูรณาการกับแนวคิดเชิงปฏิบัติจากประสบการณ์ของสหวิชาชีพอื่นๆ (Concepts of Professional Approach) เช่น การใช้กิจกรรมศิลปะ ดนตรี เกษตร การปรับพฤติกรรม Self-Helps TC Rehabilitation Teachniques

ผมวิเคราะห์จากการสังเกตและลงมือปฏิบัติร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดรุ่นน้องของศูนย์ฯ จึงขอสรุปภาพรวมเพื่อพัฒนาระบบกิจกรรมบำบัด ดังนี้

  • ฝึกฝนการใช้แบบประเมินมาตราฐานสากลทางกิจกรรมบำบัด เช่น Occupational Questionnaire, Interest Checklist, Volitional Questionnaire หรือทางสหวิชาชีพ เช่น Self-efficacy scale, Depression scale ควบคู่กับการใช้ R2R ในการศึกษาประสิทธิภาพก่อนและหลังใช้ระบบกิจกรรมบำบัดในผู้ติดสารเสพติด (Block Interventions of Individuals) - โครงการนำร่องเผยแพร่ด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 30 คน
  • ฝึกฝนการประเมินโปรแกรม (Program evaluations) โดยพิจารณารูปแบบ เทคนิค สื่อการบำบัด และลำดับขั้นตอนในกระบวนการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดเชิงพลวัต (Dynamic Group Process)
  • ปรับรูปแบบและตารางการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด (ประเมิน และ/หรือ บำบัด) ให้มีความต่อเนื่องจากง่ายไปยาก จากเป้าหมายหลักรวมในแต่ละเดือนตาม MOHO และเป้าหมายหลักย่อยในแต่ละสัปดาห์ และจาก Stage of Change, จำนวน, ความพร้อม, ความสามารถที่คงอยู่ของผู้ติดสารเสพติดในแต่ละตึกของศูนย์ฯ
  • เพิ่มเทคนิคการปรับพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ เน้น Motor & Process Skills ในรูปแบบ Structured Tasks (Circuit training - OT 1 คน ต่อ pt. 10 คน) เพิ่มเป็น Cognitive & Physical Leisure (Circuit training) เพิ่มเป็น Social & Physical Leisure (graded working skills & productive activities) และสุดท้ายที่ Creative Leisure (graded participation in art & music activities) โดยตั้งเป้าหมายระยะยาวเกี่ยวกับ Family/Peer Involvement, Business skills, Balanced lifestyle in actual situations
  • เพิ่มการ Monitoring Performance โดยการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม และสังเกตขณะทำกิจกรรมที่มีรูปแบบชัดเจนในแต่ละสัปดาห์
  • เพิ่มการจัดทำ Activitiy Bank เพื่อเลือกกิจกรรมที่มีเป้าหมายหลักมาพัฒนาทักษะและคุณค่าในการใช้ชีวิตอย่างไม่ว่างและไม่น่าเบื่อ
  • เพิ่มเทคนิคการให้รางวัลที่เหมาะสม เช่น การสะสมคะแนนหรือเวลาเมื่อทำกิจกรรมได้สำเร็จและเพื่อให้ได้รางวัลหรือการทำกิจกรรมที่ชอบพิเศษ
  • เพิ่มการสื่อสารและทำงานกับวิชาชีพอื่นๆ โดยพิจารณากิจกรรมที่ซ้ำซ้อนกันและมีเป้าหมายเหมือนกัน เช่น การอ่านหนังสือในห้องสมุดด้วยตนเองแต่อยู่รวมเป็นกลุ่ม โดยเขียนแสดงความรู้สึกและข้อคิดที่ได้รับและเล่าสู่กันฟังกับนักกิจกรรมบำบัด และ/หรือ พยาบาล
  • เพิ่มกิจกรรมการประเมินและการพูดคุยที่ลดวิชาการหรือความเป็นครูและนักเรียนลง เพื่อให้ผู้ติดสารเสพติดเข้าใจบทบาทและความต้องการในการพัฒนาตนเองไปสู่การดำเนินชีวิตได้จริง ซึ่งผู้บำบัดสามารถเพิ่มเกมส์การเคลื่อนไหว เช่น กีฬา การแตกแถวแล้วกลับมาตั้งแถวเดิมโดยแข่งจับเวลา หรือคำถามปลายเปิด เช่น คุณจะนำข้อคิดนี้ไปใช้ในชีวิตจริง (หลังออกจากศูนย์ฯ) ได้อย่างไร ก่อนเข้ามาที่ศูนย์ฯ เคยมีข้อคิดนี้ในการใช้ชีวิตอย่างไร เป็นต้น

ปล...ผมมีความสุขกับการทำงานที่ใช้ความสามารถเพื่อส่วนรวมเต็มที่ ไม่ได้คาดหวังอะไรเป็นพิเศษ แต่ทำให้เต็มที่ในสภาวะปัจจุบันที่เป็นไปได้ แล้วทบทวนความคาดหวังเมื่อมองรูปธรรมของความสามารถของตนเองต่อความรู้ความเข้าใจที่นักกิจกรรมบำบัดและทีมงานของศูนย์ฯสะท้อนกลับมา ที่สำคัญผมต้องทบทวน "ใจ" ของตนเอง เลยนำภาพที่กลับไปชมวัดอุโมงค์มาฝากพี่น้องชาว G2K ทุกท่านครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 262264เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดี ครับ อาจารย์

P Dr.

 

ผมมาอ่าน.. ความรู้ ที่ไม่ค่อยได้รู้..

ขอบพระคุณ มาก ครับ อาจารย์ กับบันทึก ดี ดี

ศิษย์เก่า...ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คนหนึ่ง

 

 

 

ขอบคุณมากครับคุณแสงแห่งความดี

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ดิฉันเข้ามาอ่าน web นี้เป็นครั้งแรก เนื่องจากตอนนี้กกำลังหาข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ตอนนี้ดิฉันเป็นอาจารย์พยาบาล ที่อุบลราชธานี กำลังศึกษาปริญญาโท เวชปฏิบัติชุมชน กำลังมองว่าจะทำเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครอบครัวเพื่อบำบัดผู้ติดสุรา : ศึกษากรณีข้าราชการทหารชั้นประทวนค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ขอความเห็นอาจารย์ด้วยค่ะ

ขอบคุณครับคุณอภิษฎา

ชื่อโครงงานน่าสนใจ ยินดีให้คำปรึกษา อาจส่ง proposal หรือคำถามที่ชัดเจนมาที่ [email protected]

เรียนอ.ป๊อบ

ดิฉันเป็นพยาบาลจากศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี ได้อ่านบทความของอาจารย์รู้สึกประทับใจค่ะ และขณะนี้ทางผู้บริหารกำลังปรับกิจกรรมบำบัดโดยเน้นไปที่การทำกิจกรรมมากขึ้น และฝึกให้เรียนรู้ชีวิตและทักษะผ่านงานบำบัด ลดการพูดคุยที่เป็นวิชาการเนื่องจากพบสถิติการศึกษาน้อย ขณะนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างแล้วนะคะ หลายๆอย่างที่ปรับมีแนวคิดคล้ายกับอาจารย์ ซึ่งคิดว่าควรจะได้มีการประเมินก่อนและหลังการปรับ ตามที่อาจารย์ได้เสนอว่า อาจใช้ R2R ในการศึกษาประสิทธิภาพก่อนและหลังใช้ระบบกิจกรรมบำบัดในผู้ติดสารเสพติด การ Monitoring Performance โดยการสัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม และสังเกตขณะทำกิจกรรมที่มีรูปแบบชัดเจนในแต่ละสัปดาห์

จึงขอรบกวนอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ หรือตัวอย่างการทำ R2R ตัวอย่างแบบประเมินที่จะใช้ขณะทำกิจกรรม จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ เพื่อจะได้มีงานวิจัยที่ชัดเจนมากขึ้น.....ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

รบกวนคุณสรินฎาส่งรายละเอียดโครงการมาให้ผมดู หรืออาจพูดคุยกันทางอีเมล์ [email protected]

เพื่อผมจะได้ส่งข้อมูลบางส่วนไปให้ศึกษา หรือโทรมือถือ 08-522-40707

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ดีดีคระดร.ป๊อบพี่ช่ามาเยี่ยมแลวนะคระ....สุดยอดจิงจิงแลวจามาติดตามผนงานอีกนะคระ....

ขอบคุณมากครับพี่ช่า เพื่อนร่วมทีมคุณหนู ชิมิ ชิมิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท