ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน


ห้องสมุดจะนำาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุมาเป็นสื่อการเรียนรู้อย่างไรไม่ผิดลิขสิทธิ์

บันทึกฉบับก่อนได้กล่าวว่า คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ที่จัดทำโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา นั้น จะเห็นว่าการนำงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้นั้นเปิดโอกาสให้กับการเรียนการสอนค่อนข้างมาก  แล้วห้องสมุดหล่ะ...เป็นแค่หน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนเท่านั้น ไม่เห็นระบุไว้ ทั้งที่เป็นแหล่งที่ได้ใช้งานภาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุค่อนข้างมาก

สอบถามวิทยากรที่มาบรรยาย....ท่านตอบว่า เื่อความปลอดภัยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ให้ถือเกณฑ์การเรียนการสอนในคู่มือเล่มนี้เป็นหลักก็แล้วกัน

 

อ้าวมาดูกันว่า ปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์จะอนุญาตให้ทำซ้ำ คัดลอกในลักษณะใด และเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะเป็นธรรม ไม่ขัดกับหลักการ Fair Use  (คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม หน้า 11-12)

  • ภาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุ เช่น  วิดีทัศน์ ดีวีดี เลเซอร์ดิสก์ และซีดีรอมสารานุกรม เป็นต้น มีข้อกำหนดดังนี้

1.1              การนำออกฉาย ผู้สอนนำออกให้ผู้เรียนในชั้นเรียนชมได้ไม่จำกัดความยาวและจำนวนครั้ง ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

ก.       สำเนางานที่นำออกฉายต้องเป็นสำเนาที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง

ข.       เป็นการนำออกฉายในชั้นเรียนโดยไม่แสวงหากำไร และ

ค.       เป็นการนำออกฉายเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนโดยตรง

1.2              การทำสำเนา

ก.       ผู้สอนทำสำเนาทั้งเรื่องที่จำเป็นต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการสอน ณ ขณะนั้นได้ หากได้พยายามใช้วิธีการและมีระยะเวลาอันสมควรแล้ว แต่ไม่สามารถจัดซื้อจัดหาสำเนาภาพยนตร์หรือโสตทัศนวัสดุที่ถูกลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายได้

ข.       ผู้เรียนทำสำเนาภาพยนตร์หรือโสตทัศนวัสดุเพื่อใช้ในการศึกษาได้ไม่เกินร้อยละ 10 หรือ 3 นาที ของแต่ละผลงาน (แล้วแต่ว่าจำนวนใดน้อยกว่ากัน) ทั้งนี้ภาพยนตร์หรือโสตทัศนวัสดุที่ใช้จัดทำสำเนานั้นต้องมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย

  • รณีงานแพร่เสียงแพร่ภาพ  ี่จะพบบ่อยในการบันทึกรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ที่น่าสนใจเป็นประโยชน์ไว้ ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน มีข้อกำหนดดังนี้

                ผู้สอนทำสำเนาและฉายงานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรือเทปบันทึกภาพงานเพื่อการเรียนการสอนได้ โดยสถาบันการศึกษาใช้เทปบันทึกภาพงานดังกล่าวได้ในระยะหนึ่งปีการศึกษา หรือสามภาคเรียน

ดังนั้น ตามที่วิทยากร  ศ. อรพรรณ พนัสพัฒนา กว่าให้ห้องสมุดอิงตามเกณฑ์นี้ ห้องสมุดที่รับบริจาคแผ่น CD มาจากผู้ใช้บริการ ก็ต้องระวังเรื่องแผ่นผีซีดีเถื่อนนะคะ เพราะไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ อีกกรณีคือการทำสำเนาและให้ยืมแผ่นสำเนา อาจต้องปรับเปลี่ยนให้ยืมแผ่นมาสเตอร์แทนซะแล้ว

นอกจากนี้ในหน้า 14 ของคู่มือฉบับนี้ ได้พูดถึงการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ว่า ในการนำงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในการเรียนการสอนต้องแสดงความรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยต้องแจ้งให้ทราบชื่อของลิขสิทธิ์ หรือผู้สร้างสรรค์ และ/หรือแหล่งที่มาด้วย

  • ารแสดงการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์และโสตทัศนวัสดุ

ชื่อผู้สร้างสรรค์........................................................................................................................................

ภาพจากภาพยนตร์หรือโสตทัศนวัสดุเรื่อง.........................................................................................

ปีที่ผลิต......................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 262257เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ :)

สวัสดีค่ะ คุณ Wasawat Deemarn

ได้เอกสารมาจากการเข้าร่วมสัมมนาเลยบอกต่อค่ะ

เพราะว่า...ห้องสมุดในฐานะหนึ่งก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

อีกฐานะหนึ่งคือ ผู้รวบรวมเผยแพร่...

เลยต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้มากขึ้น

ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุและภาพยนตร์ ของห้องสมุดก็ยังเป็นปัญหาที่หาข้อสรุปไม่ได้ อีกนานว่าจะทำอย่างไร คนทำงานห้องสมุดก็ลำบาก (เอ๊ะ!หรือว่าสบาย จะได้ไม่ต้องทำ 555)

อันนี้คงต้องศึการาวมกัน และกำหนดเป็นนโยบาย

เราต้อง "พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง"

ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลยตุ่น เค๊ากำลังเรียนพอดี เดี๋ยวจะบอกน้องๆ เข้าอ่านด้วยนะ จะได้เป็นประโยชน์ แก่รุ่นน้องร่วมวิชาชีพจ้า ตุ่น

ตุ่นมีหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ว่าเกี่ยวกับ หลักการใช้งานสิ่งของมีลิขสิทธิ์อย่างเป็นธรรม (Fair Used)

มาเอาไปอ่านได้นะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับ ดีจังได้ข้อมูลเพิ่มเติม ครับ

ดีใจจังค่ะ

ที่เรื่องเล่า-บอกต่อเหล่านี้

เป็นประโยชน์ต่อผู้มาเยี่ยมเยือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท