๗๗๖. การพัฒนาท้องถิ่น...เพื่อลงสู่ชุมชน


การพัฒนาท้องถิ่น...เพื่อลงสู่ชุมชน

จากพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗...ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสิรมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู นั้น

สำหรับปัจจุบัน มหาวิทยาลัยกำลังเผชิญกับการที่นักศึกษาลดลง...ซึ่งสืบเนื่องมาจากการคุมกำเนิดจากการได้ผลของกระทรวงสาธารณสุข...จากสมัยเมื่อ ๑๔ ปีที่ผ่านมา ฉันเคยปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ...ทำให้ฉันทราบถึงปัญหานี้มาบ้างพอสมควร ในสมัยนั้นเริ่มมีผลกระทบต่อโรงเรียนขนาดเล็กและก็กระทบมาเรื่อย ๆ...มา ณ ปัจจุบัน กระทบถึงมหาวิทยาลัยเกือบทุกมหาวิทยาลัย สำหรับ มรภ.พิบูลสงคราม ก็เริ่มเป็นปีที่ ๒ ที่นักศึกษาเริ่มลดลง...การที่นักศึกษาเริ่มลดลง ทำให้เห็นถึงรายได้ของมหาวิทยาลัยก็จะเริ่มลดลงเช่นกัน...จะมีผลต่อการจ้างบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย...แต่ทำอย่างไร จึงจะทำให้มหาวิทยาลัยและบุคลากรทุกคนภายในมหาวิทยาลัยอยู่รอดได้ นั่นคือ วิธีที่ทั้งมหาวิทยาลัยต้องมาทบทวนและมีการวิเคราะห์ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป...เพราะหากไม่คิดให้เป็นระบบ ในอนาคตมหาวิทยาลัยเล็ก ๆ จะถูกปิดไปโดยปริยาย เฉกเช่นเดียวกับที่ได้อ่านข่าวจากต่างประเทศ แม้ขนาดเป็นประเทศใหญ่ ๆ มหาวิทยาลัยยังถูกปิดไปหลายแห่ง และจะมีผลกระทบอีกเรื่อย ๆ ที่จะต้องมีการยุบมหาวิทยาลัย...ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคนในมหาวิทยาลัยจะต้องมาร่วมกันคิดและหาทาง วิธีที่จะนำพาให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดได้อย่างไร

จากที่ฉันทำงานรับราชการมานาน จึงพอมองออกเป็นภาพรวมของมหาวิทยาลัยว่า...ต้องมีการปรับกระบวนการคิดของคนภายในมหาวิทยาลัยใหม่ เนื่องจากมีบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย มี ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภทสายวิชาการและประเภทสนับสนุนวิชาการ...สำหรับอัตราส่วนของบุคลากรนั้น คิดจาก สายวิชาการ ๑ คน ต่อ สายสนับสนุนวิชาการ ๐.๘ คน...ดังนั้น สายสนับสนุนจะมีเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับสายวิชาการเป็นแกนหลัก...การที่สายวิชาการจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการเปิดสอนในหลักสูตรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และหลักสูตรนั้นก็ต้องเป็นที่ต้องการของนักศึกษา มีนักศึกษาเรียนมากพอสมควร...ในการวิเคราะห์อัตรากำลังต้องมีการวิเคราะห์กันอย่างรอบคอบ ไม่คิดเบี่ยงเบนตามความเป็นจริง...ต้องคำนึงการใช้ประโยชน์ของบุคลากรด้วยว่า "คุ้มค่า" ต่อการจ้างหรือไม่...สามารถใช้คนแบบประยุกต์หรือบูรณาการกันได้หรือไม่...เข้าใจหรือยังว่า...ทำไมภาครัฐจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งปัจจุบันก็เหลือเพียงไม่กี่แห่ง ที่ยังไม่ออกนอกระบบ...การออกนอกระบบ หากเราวางระบบดี ๆ ในทุก ๆ เรื่อง มหาวิทยาลัยก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ฯลฯ

สำหรับอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือ ในเมื่อนักศึกษาลดลง...ทำเช่นไร จึงจะมีรายได้เพิ่มขึ้น...สำหรับมหาวิทยาลัยที่ฉันได้ปฏิบัติงานอยู่ กองที่ฉันเองรับผิดชอบ นั่นคือ กองบริหารงานบุคคล กำลังคิดหลักสูตรในเรื่องของการพัฒนาคน...คนในที่นี้ ไม่ใช่นักศึกษา แต่หมายถึง คนที่ทำงานแล้ว กำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะในชุมชนที่มหาวิทยาลัยของฉันรับผิดชอบ...เหตุผลเพราะ ถึงแม้ว่าคนทำงานอยู่ แต่เขาจะต้องมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น ให้มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาขึ้น...เพราะปัจจุบันภาครัฐมุ่งเน้นมาที่เรื่อง "คน" เป็นหลัก...จึงเป็นหน้าที่ของกองบริหารงานบุคคล ของ มรภ.พิบูลสงคราม จึงต้องทำหน้าที่ในการพัฒนาคนในวัยทำงานและผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นี่คือ หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะช่วยพัฒนาท้องถิ่น ตรงตามที่ รมต.ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คิดและกล่าวไว้ เมื่อ ๒ วันก่อน...ฉันคิดว่า นี่คือ การเริ่มต้นในการพัฒนาท้องถิ่น ทำให้เห็นว่า...กว่าจะเห็นถึงการพัฒนาคนกันอย่างจริงจัง ก็ใช้เวลานานนับเกือบ ๑๔ ปี เลยทีเดียว...การพัฒนาต้องใช้เวลา จะขับเคลื่อนไปกับกาลเวลา...ฉันเป็นเพียงแค่เริ่มต้นที่ทำให้เกิดหลักสูตรในการพัฒนาคนเท่านั้น...เพราะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ ฉันก็เคยทำหน้าที่ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการทั่วประเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มาเกือบ ๕๐๐ คน...ซึ่งในอนาคต อาจต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและมีบทบาทในการเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับคนทำงานและผู้สูงวัยในการใช้ชีวิตได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

หน้าที่ของกองบริหารงานบุคคล จึงมีหน้าที่ในการพัฒนาคนในวัยทำงานและให้กับผู้สูงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมกับมีมาตรฐานความสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล...ซึ่งในการวิเคราะห์ภาระงานในปัจจุบันนี้ ฉันได้นำเรื่องการจัดตั้งศูนย์พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร เข้าไว้ในภาระงานที่กองจะต้องรับผิดชอบเข้าไว้ด้วย...นี่คือ ภาระงานในเรื่องของการพัฒนาคนที่จะต้องเกิดขึ้น เพื่อเป็นแหล่งความรู้และช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไป...และสามารถตอบโจทย์ พรบ.ราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้อีกทางหนึ่ง ในการลงสู่ชุมชน นอกจากงานวิจัยและการเรียนการสอน

สิ่งสำคัญในการพัฒนามนุษย์ คือ มนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้ โดยต้องเรียนรู้จนตาย...นี่คือ การเรียนรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

...

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๒๒ เมษายน ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 646633เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2018 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2018 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท