นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ถอดประสบการณ์ จากผลการทดสอบ O-Net 2560 กาฬสินธุ์


นักเรียนมักจะมี ไอดอล ที่อยากเป็น ทำให้มีความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ

                กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์  หลังจากวิเคราะห์ผลการทดสอบในระดับชาติ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ทำให้มีข้อมูลว่า จังหวัดเรายังมีผลในภาพรวมต่ำกว่าประเทศ (ต่อเนื่อง) การเลือกกลุ่มที่จะมาถอดประสบการณ์กัน จะเลือกไปที่ ระดับประถมศึกษา ที่ปรากฏว่า มีผลการเรียนไม่ต่ำจากประเทศมาก และมีนักเรียนที่มีผลคะแนนเต็ม 100 ในวิชา คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ 16 คน มาจาก 9 โรงเรียน (เอกชน 4 รัฐบาล 5)  

         กลุ่มที่มาประชุมมาจาก 4 กลุ่ม คือ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้สอน  ผู้อำนวยการโรงเรียน และ ตัวแทนจากเขตพื้นที่การศึกษา 

ผู้เขียน ได้ AAR ผลการเข้ากลุ่ม ทุกกลุ่ม มีข้อมูลที่น่าสนใจมาก ขอตีความจากเรื่องเล่า ดังนี้

            1. ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน มีอิสระในการทำงาน การตัดสินใจ (ผลการเรียนเฉลี่ยของ นร.ใน รร.เอกชน จะมีค่า S.D น้อย นั่นคือ เด็กมีความสามารถใกล้เคียงกัน แต่ ของ รร.รัฐบาล ค่อนข้างจะมาก) นโยบายของทางเอกชน จะน้อยกว่ารัฐบาล ทำให้การบริหารจัดการมีการโฟกัสแตกต่างกัน 
            2. ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สร้างบรรยากาศการแข่งขัน ให้กับเด็ก สามารถเลือกครูผูัสอนได้ตรงเอก (แต่ก็ไม่แน่นอนลาออกบ่อยทำให้การบริหารมีอุปสรรคมาก) ขณะที่ฝั่งรัฐบาลเลือกครูไม่ค่อยได้ โรงเรียนขนาดใหญ่ครูจะตรงเอก และ จ้างเพิ่มได้ 
            3. ครูโรงเรียนเอกชน มีการจัดทำหลักสูตรจริง ใช้จริง  สอนตามแผนฯ   ปรับปรุงแก้ไข ในทุกภาคเรียน ซึ่งจะต่างจากโรงเรียนรัฐบาล ที่เกือบทุกคนมีแผนแต่ไม่สามารถใช้สอนจริงตามแผนได้ 

ดิฉันมองว่า .. ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะ นร.สังกัดเอกชน ค่าเฉลี่ยสูงกว่าประเทศ และพัฒนาการเพิ่มขึ้น แต่ของรัฐบาล ต่ำกว่าประเทศและลดลง อาจจะมาจาก ระบบการบริหารของ ผอ.รร.และครูผู้สอน ที่ฝั่งเอกชน สามารถดำเนินการตามแผน เชิงวิชาการที่ออกแบบได้ 

           4. นักเรียนมักจะมี ไอดอล ที่อยากเป็น ทำให้มีความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ และต้องเรียนพิเศษ (จากที่เล่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัว และครู)
           5. ผู้ปกครองนักเรียนมาจากครอบครัวที่อบอุ่น (พ่อแม่ไม่หย่าร้าง) แต่มีเด็ก 1 คน ที่มีฐานะยากจนมาก (เด็กคนนี้ สังกัดรัฐบาล และจะเรียนต่อ ในรร.เดิม ขยายโอกาสฯ)
          6. ผู้ปกครองนักเรียน และ นักเรียน ไม่นิยมเรียนต่อ ในโรงเรียนมัธยมในจังหวัด เพราะไม่เชื่อมั่นในคุณภาพ 

สะท้อนมุม..  มองว่า การที่เด็กคนหนึ่งจะประสบผลสำเร็จ เกิดจาก สิ่งแวดล้อม ที่ถูกหลอมเข้าไปจากทุกฝ่าย 

          7. บทบาทเขตพื้นที่ ทำไปตามนโยบาย และสร้างความตระหนัก ในการสอบเช่น อบรมการวิเคราะห์ข้อสอบ การทำนวัตกรรม ฯลฯ แต่ ตัวแทนจากเขตฯ ก็ สะท้อนว่ามีหลายเรื่องที่ควรทำ เช่น พื้นฐานวิชาของครู ไม่แน่น ไม่ตรงเอก การพัฒนาครู ควรปรับตามบริบทจังหวัด 

 

มีรายละเอียดที่ดิฉันพยายามบันทึกประเด็นจากการ AAR ดังนี้


ผู้อำนวยการโรงเรียน 

  1. ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ และบริหารงานวิชาการเป็นหลัก 
  2. จัดสรรงบประมาณ ดำเนินการเสริมแรง ตามบริบทของโรงเรียน 
  3. บริหารบุคคล คือ จัดครูให้มีความเหมาะสมกับบริบทของตัวเอง 
  4. แยกความสามารถของผู้เรียน 
  5. สร้างความตระหนัก ให้กับ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง
  6. จัดให้มีการทดสอบ เช่น pre-onet เพื่อหาข้อบกพร่อง
  7. นิเทศ ติดตามผล สม่ำเสมอ
  8. วัดผล ประเมินผล และมีการปรับปรุงต่อเนื่อง 
  9. จัดเวทีให้เกิดการแข่งขันทั้งภายในโรเงรียน นอกโรงเรียน  
    ... แต่ละโรงเรียนมีการบริหารจัดการตามบริบท ..

ครูผู้สอน

  1. ใช้เทคนิคหลากหลาย ตามความถนัดของครู สอนเสริม ซ่อม และ ให้งานตามความสามารถเด็ก 
  2. เน้นความรู้พื้นฐานให้แน่น (ป.4-6)   
  3. สอนให้จบก่อนประมาณเดือนมกราคม และ ติวอย่างเข้มข้น  ในช่วงเวลาที่เหลือ (มี 2 ท่านไม่ติว สอนไปปกติจนถึงเวลาสอบ) 
  4. ครูต้องเอาใจใส่ สร้างความตระหนัก ผ่อนคลาย  
  5. นักเรียนที่มีผลการเรียนดี ส่วนใหญ่จะเรียนพิเศษ และ เข้าถึงครู 
  6. นโยบายของผู้บริหารมีส่วนสำคัญ เช่น ขวัญกำลังใจ งบประมาณ การจัดตารางติว ฯลฯ 
  7. หลักสูตร แผนการสอนไม่ได้ใชจริง เนื่องจาก  ถูกเบียดในเรื่องกิจกรรม การสอนยึดเนื้อหา (ยกเว้นเอกชนสอนตามแผน) 

ผู้ปกครอง 

  1. อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ ต้ังเป้าหมายชัดเจน 
  2. ส่งเสริมการเรียนพิเศษ 
  3. ครอบครัวมีความพร้อมส่งเสริมเต็มที่ 
  4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมาธิ และ ผ่อนคลาย 
  5. เด็กๆ จะชอบการ์ตูนในเชิงวิทยาศาสตร์
  6. สร้างบรรยากาศการแข่งขัน การท้าทาย ในด้านการสอบตามที่ต่าง 
  7. สิ่งที่ต้องการจาก หน่วยงาน ประชุมผู้ปกครองสม่ำเสมอ ลดการพูดนโยบายของ ผอ.ช่วงประชุมผู้ปกครอง  ให้การสนับสนุนด้านกำลังทรัพย์ และแจ้งการแข่งขัน ตามสมควร ปรับการสอนของครูในโรงเรียนสอน ที่ไม่สนุก และ ไม่น่าสนใจ 

นักเรียน

  1. มีต้วแบบที่ดี เช่น ผอ.โรงเรียน พี่ชาย  
  2. รับผิดชอบ ขยัน ไม่สะเพร่า 
  3. เข้าสู่สนามแข่งขันเรื่อยๆ 
  4. เรียนรู้ด้วยตนเอง จาก คลิป ยูทูป สารคดี ฯลฯ 
  5. ผู้ปกครองสนับสนุน 
  6. โรงเรียนไม่ค่อยมีสื่อวัสดุ  อุปกรณ์ ไม่ค่อยได้ทดลองในวิชาวิทยาศาสตร์ 
  7. ห้องสมุดหนังสือ เก่า ไม่น่าสนใจ 

ทีม AAR หลังการทำงาน 

กลุ่มผู้ปกครอง เด็กทุกคนได้รับการเรียนพิเศษ (ยกเว้นเด็กม่วงกุลอยู่กับยาย) ส่งเสริมบรรยากาศการแข่งขัน ท้าทาย เด็กจบป.6 
เรียนต่อจังหวัดใกล้เคียง จุฬาภรณ์มุกดาหาร สาธิต มข. มมส. ร้อยเอ็ดวิทยาลัย บดินทร์เดชา .
ไม่เชื่อมั่น สถาบันในจังหวัด แต่ อยากให้ จังหวัดของเรา มีโรงเรียน ที่มีคุณภาพ เหมือนจังหวัดใกล้เคียง 


กลุ่มเด็ก ท่าน ดร.กิตตพศ พลพิลา ดำเนินรายการ .เด็กๆ มีไอดอล ที่ต้องการจะเป็น เช่น คนในครอบครัว หมู่บ้าน ครู เรียนรู้ด้วยตัวเอง เรียนพิเศษ ขยัน ทำข้อสอบไม่สะเพร่า ในโรงเรียนครูสอนง่าย บางครั้งน่าเบื่อ ห้องสมุดไม่มีสื่อน่าสนใจ 


ทีม ศน.ศธจ. จะสรุปเขียนรายงานเป็นการศึกษาข้อมูล ขอบพระคุณผู้มีส่วนร่วม ทุกท่าน 

20 เมษายน 2560 

หมายเลขบันทึก: 646626เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2018 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2018 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท