จังกมสูตร


       การเดินจงกรมและการนั่งสมะิเป็นการปฎิบัติตามปกติของภิาษุในสมัยพุทธกาลครับ แม้แต่พระจักขุบาลเถระภายหลังจากที่ท่านตาบอดสนิททั้ง ๒ ข้างแล้ว ท่านก็ยังเดินจงกรมอยู่เสมอ

      จุดประสงค์ของการเดินจงกรม ในพระไตปิฎก (ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยลัย..) กล่าวไว้ว่า

      ภิกษุเป็นผุ้หมันประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่อนอยุ่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสทุธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมบามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์โดยการนอนตะแคงข้างชวา เท้าซ้อนเท้า มีติสมชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแ่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไมให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจจฉิมยามแห่งราตรี

         ภิกษุชื่อว่าเป็นผุ้หมั่นประกอบความเพียรเป็นเครืองตื่นอยู่ตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามด้วยประการฉะนี้

        จังกมสูตร

        ว่าด้วยการเดินจงกรม  ๕ ประการนี้ อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ เป็นผู้มีความอดทนต่อการเดินทางไกล ๑ เป็นผู้มีความอดทนต่อการบำเพ็ยเพียร๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน ดื่ม เคียว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมตั้งอยู่ได้นาน

         ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล

         เนื่องจากการเดินจงกรมนั้นเป็นการทำสมาธิแบบเคลื่อนไหว ดังนั้น สมาธิที่ได้จึงตั้งมั่นได้นานกวาสมาธิจากการนั่งหลับตา เพราะจะมีความคุนชินกับสิ่งเราต่างๆ มากกว่า สำหรับรายละเอียดวิธีการเดินจงกรมนั้นไม่มีปรากฎอยุ่ในพระไตรปิฎก จึงยากที่จะบอกได้ว่าในสมยพุทธกาลนั้นเดินอย่างไรกัน แต่จุดประสงค์หลักของการเดินจงกรมก็คือการฝึกสติ สมาธิ และวิปัสสนาปัญญา จุดประสงค์รอง เช่น แก้ง่วง เป็นต้น http://tripitaka-online.blogsp...

       -เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะออกบวช

         ครั้งนั้น เศณษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ด้วยวิธีอย่างไรๆ เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันบุคลที่ยังครองเรือนอยุ่ จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณืโดยส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้ว ทำไม่ได้ง่ายไฉนหนอเราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

        ..เศรษฐีบุตรโสณโฬิวิสะได้รับบรรพชา อุปสมบทในพุทธสำนักแล้ว ก็แลท่านพระโสณะอุปสมบทแล้วไม่นาน ได้พำนักอยุ่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเีพยรเกินขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง ๒ แตก สถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะนั้น

        ... ครั้งนั้น ท่านพระโสณะไปในที่สงัดหลีกเร้นอยุ่ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดาพระสาาวกของพระผุ้มีพระภาค ที่ปราตภความเีพยรอยุ่เราก็เป้นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิจของเราจึงยังไม่หลุ่ดพ้นจากอาสวะทั้งหบลาย เรพาะไม่ถือมั่นเล่า สมบัติในตระกูลของเราก็ยังมีอยุ่เราอาจบริโภคสมบัติและบำเพ็ยกุศล ถ้ากระไร เาพึงสึกเป็นคฤหัสถ์แล้วบริโภคสมบัติลแะบำเพ็ยกุศล

          ครั้งนั้น พระผุ้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านด้วยพระทัยแล้ว..

          .. คราวนั้น พระองค์พร้อมด้วยภิกษุเป้นอันมาก เสด็จเที่ยวจาริกตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางสถานที่เดินจงกรมของท่านพระโสณะ ได้ทอดพระเนตรเห้นสถานที่เดินจงกรมเปื้อนโลหิต ครั้งแล้วจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งถามวว่า ดุกรภิกาุทั้งหลาย สถานที่เดินจงกรมแห่งนี้ของใครหนอ เปื้อนโลหิต เหมือนสถานที่ห่าดค ภิกาุทั้หลายกราบทูลว่าท่านพระโสระปรารภความเีพยรกเกนขนาด เดินจงกรมจนเท้าทั้ง - แตก สถานที่ดินจงกรมแห่งนี้ของท่านจึงเปื้อนโลหิต ดุจสถานที่ฆ่าโค ฉะน้น พระพุทธเจ้าข้า

          ลำดับนนั้น พระผุ้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปทางที่อยุ่ของท่านพระโสรระ ครั้งแ้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่จัดไว้ถวาย แม้ท่านพระโสณะก็ถวายลังคมพระผุ้มีพระภาค แล้วนั่งเผ้าอยู่..

        .. - ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยังเป็นคฤหัสถ์ เธอฉลาดในเสียงสายพิณ มิใช่หรือ

            - อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

            - ดูกรโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คราวใดสายพิณของเธอตึงเกินไป คราวนั้นพิณของเธอมีเสียงหรือใช้การได้บ้าง

           - หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าข้า

           - ดูกรโสณะ เหมือนกันนั่นแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปนัก ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านความเีพยรที่ย่อหย่อนนัก ก้เป็นไปเพ่อเกี่ยจคร้าน เพื่อเหตุนั้นแล เธอจงตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ จงทราบข้อที่อนิทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน 

           ครั้นกลาต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเีพยรแต่พอเหมาะ ทราบข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้งแล้วได้หลีกออกอยุ่แต่ผุ้เียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่่งไป ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งคุรพิเศษอันยอดเยี่ยม เป้นที่สุดพรหมจรรย์

http://tripitaka-online.blogsp...


       

คำสำคัญ (Tags): #จงกรม#จังกมสูตร
หมายเลขบันทึก: 645535เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2018 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2018 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท