อิริยาบท "เดิน"


           อิริยาบท เดิน เป็นอิริยาบทเคลื่อนไหว แต่การเคลื่อนไหวนั้นต้องอยู่ที่เท้า หมายถึง อาการก้าวไปหรืออาการเหวี่ยงไปของเท้าแตะละก้าวๆ ถ้าไหวที่ส่วนอื่นนอกจากเท้าแล้วไม่ใช่อิริยาบถเดิน ลักษะของการเดินนั้น กายส่วนบนกับลกายส่วนล่างตั้งตรง แล้วเท้าข้าหนึ่งยืน ตั้งตรงยันกายไว้ เท้าอีกข้างหนึ่งก้าวไปหรือเหวี่ยงไปข้างหน้า เรียกว่า นัยกายไว้ข้างหนึ่งและเหวี่ยงไปข้างหนึ่ง ผลัดเปลี่ยนกันอยู่อย่างนี้ ฉะนั้น การเดินจึงอยู่ที่อาการก้าวไปหรือการเวี่ยงไปของเท้าแต่ละก้าวแต่ละครั้ง ถ้าท่านไม่เข้าใจว่าการเดินอยู่ตรงไหนท่านก็จะกำหนดการเดินไม่ถูก การปฏิบัติของท่านจะไม่ได้ผล และวิปัสสนาก็เกิดไม่ได้

           การเดินจงกรมไม่ใช้การเดินตั้งแต่ระยะที่ ๑ ถึงระยะที่ ๖ ในคราวเดียวกัน เพราะกำลังของอินทรีย์ ยังไม่พัฒนา ดังนั้นจึงเร่ิมเดินจงกรม ๑ ระยะก่อน

           จงกรม ๑ ระยะ : ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ

           ก่อนเดินก่อนเดินให้กำหนดต้นจิตว่า "อยากเดินหนอ อยากเดินหนอ อยากเดินหนอ" ให้ยกเท้าขวาขึ้นช้าๆ แล้วเคลื่อนไปข้างหน้า แล้ววางเท้าลงกับพื้นช้าๆ โดยวางให้เต็มเท้า พร้อมกับตั้งสติกำหนด ตั้งแต่ยกเท้าก้าวไปจนถึงวางเท้าลงกับพื้นว่า "ขวาย่างหนอ"  เท้าซ้ายก็กำหนดเช่นเดียวกัน  ทุกครั้งและทุกก้าวให้กำหนดติดต่อเนื่องกันไป โดยมิให้หยุดพักเท้าค้างไว้ และไม่กำหนดแยก เดินจงกรมและกำหนดกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ เพื่อให้จิตมั่นอยู่กับการเดิน จนกว่าจะครบตามเวลาที่ตั้งใจไว้ เช่น ๓๐,๔๐,๕๐นาทีหรือ ๑ ชั่วโมงการเดินจงกรมและการมีสติกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอดังนี้ 

           การเดินต้องให้เป็นปัจจุบัน กำหนดกับเท้าที่ก้าวไปต้องเป็นไปพร้อมกัน  เมื่อมีอารมร์อื่นแทรกเข้ามา และเป็นอารมณ์ที่ชัดเจน จนจิตหลุดจากอาการเคลื่อนไหวของเท้าให้หยุดเดินจงกรมแล้วเอาสติไปกำหนดรู้อาการที่จิตคิดกำหนดว่า คิดหนอๆๆ เมื่อจิตหยุดคิด ให้กลับมากำหนดต่อ ถ้าได้ยินเสียงต่างๆ เป็นเสียงที่ชัดเจน จนจิตเราไม่อยู่กับอาการเดินแล้วให้หยุดเดิน ไปกำหนดรู้อาการที่ได้ยินนั้น ๆ กำหนดว่า ได้ยินหนอๆๆ เมื่ออาการได้ยินหายไปหรือเบาลงแล้ว ให้กลับมากำหนดอาการเดินต่อไป  ถ้ารู้สึกเมื่อย ปวดให้หยุดเดิน กำหนดรู้อาการปวดหรือเมื่อยแขน กำหนดว่า ปวดหนอๆๆ เมื่อยหนอๆๆ ตามความรู้สึกในขณะนั้น เมื่ออาการปวดเมื่อยหายไป หรือเบาลงให้กลับมากำหนดอาการเดินต่อไป ...เมื่อมีอารมณ์ใดแทรกเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นอาการคัน อาการเผลอ อาการอยาก หรือการปวดเมื่อย อยากขยับปรับเปลี่ยน ให้หยุดเดิน กำหนดอาการนั้น ตามวิธีของอิริยาบยย่อย แล้ว เมื่ออาการนั้นๆ หายไปหรือเบาลง ให้กลับมากำหนดเดินต่อไป เมื่อเดินมาสุดทางแล้ว ก้าวสุดท้าย ให้ยืนเท้าเคียงกัน กำหนด ยืนหนอๆๆ ขณะรู้สึกอย่างกลับตัว กำหนดว่า อยากกลับหนอๆๆ

            การปฏิบัติขณะกลับตัว คือ ให้หยุดเดิน วางเท้าเคยงกัน แล้วให้กำหนดว่า "ยืนหนอๆๆ ในการกลับตัว ผุ้ปฏิบัติจะกลัยทางขวา หรือทางซ้ายก็ได้ 

           ตัวอย่างการกลับตัวทางขวา ให้ตั้งสติไว้ทีทเ้าวขา ดดยยกเท้าขวาขึ้นให้ห่างจากพื้นเล็กน้อย แล้วค่อยๆ หมุนเท้าขวาแยกออกจากเท้าซ้ายช้าๆ ให้สังเกตเท้าที่กำลงหมุนไปพร้อมกับกำหนดว่า "กลับหนอ"  และเท้าซ้ายก็มีวิธีกำหนดเช่นเดียวกับเท้าขวา ดยยกเท้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย แล้วหมุนไปตามเท้าขวา พร้อมกับกำหนดว่า "กลับหนอ" คู่ที่ ๑ การกลับคู่ที่ ๒ และ ๓ จนกว่าจะกลับตงกับทางเดิน ในกายานะปัสสนา สติปัฎฐาน แห่งสติปัฎฐานสูตร ที่ว่า "เป็นผุ้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอในการก้าวกลับหลัง"  ปฎิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ อย่างนี้เรียกว่า "การก้าวกลับหลัง 

- คู่มือปฏิบัติวิปัสสนากัมมฐาน (สายพอง-ยุบ)

หมายเลขบันทึก: 645221เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2018 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2018 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท