ถอดบทเรียนที่ 4 (Clinical reasoning)


เจ้าของเคสที่ 4: อ.เก่ง (เคสฝ่ายจิต)


รายละเอียด

     ผู้ป่วยคือแม่ของอ.เอง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค Schizophrenia (Diagnostic clinical reasoning)  โดยมีอาการกำเริบเป็นช่วงๆ ตั้งแต่อ.อยู่มัธยมศึกษาปีที่ 2 แต่มีอาการหนักตอนที่อ.เรียนปริญญาโทปีที่ 1

     ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า อาการในช่วงแรกคือนอนทั้งวัน ไม่อาบน้ำ (อาบน้ำ 2-3 วันละครั้ง) ต้องฉีดยาเป็นประจำแต่ผู้รับบริการไม่ยอมทำ

     เริ่มการฟื้นฟูด้วยการดูแลรักษาตัวเอง (Self care) ให้ทำกิจกรรมทางสังคม (social participation) ดูแลตัวเองในขั้นที่สูงขึ้น (IADL) ไปทำงาน (Work) กระทั่งสามารถดูแลผู้อื่นได้ (ผู้สูงอายุติดบ้าน) ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 7 ปีตั้งแต่แอดมิทจนกลับมาเป็นปกติ โดยดูพัฒนาการเคสได้จากอาการ (performance) ที่เราสามารถรับรู้ได้

     ระหว่างขั้นตอนการประเมิน มีการชวนผู้รับบริการทำกับข้าว (Interests) เพราะอยากให้ลุกจากเตียงมาทำอะไรบ้าง นอกจากนั้นอ.ยังดูแลแม่ของอ.อย่างใกล้ชิด โดยมีการเข้าหาและพูดคุย (Interactive clinical reasoning) โดยรวมแล้ว ตลอดการบำบัดใช้ pragmatic clinical reasoning ในการดูบริบทรอบข้างและทำการบำบัดไปตามสถานการณ์ มากกว่าการฟื้นฟูตามความเป็นไปของโรค (scientific clinical reasoning)

 

ปัญหา (ตามอาการของโรค)

  • หูแว่ว
  • ประสาทหลอน
  • หลงผิด (คิดว่าลูกเป็นเจ้าชาย)

 

เป้าประสงค์ (Goals)

  • ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

 

สิ่งที่นักกิจกรรมบำบัดทำให้ผู้รับบริการ (Procedural clinical reasoning)

  • ทำการฟื้นฟูโดยการดูแลอย่างใกล้ชิด และมีการชวนผู้รับบริการให้ทำในสิ่งที่สนใจ
  • ติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด  

 

ความสำเร็จ

     ผู้รับบริการไม่เพียงช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ยังสามารถดูแลผู้อื่นได้อีกด้วย

 

โมเดลหรือกรอบอ้างอิงที่ใช้ (Model/FoR)

  • MOHO ให้คุณค่ากับสิ่งที่สนใจ แล้วพาไปมีส่วนร่วม (engagement)
หมายเลขบันทึก: 645219เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2018 01:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2018 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท