พองยุบ


           หลายคนสงสัยว่าการภาวนา "พองหนอ (rising) และ"ยุบหนอ" (falling)" เปนแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเชนนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิะีปฏิบัติของวิปัสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ "พองหนอและยุบหนอ" สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงและ้วจะก่อให้เกิดสรัทธาและปสาทะ ในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่า ทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไ่เต็มที่มีแต่ความเคลื่อบแคลงสงสัย และมีโอกาสจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ยาก

           การกำหนดในใจว่า "พองหนอ - ยุบหนอ" ..เป็นเพรีงคำภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมร์ปรมัตถ์ ซึ่งเป็นอารมณืของวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดในใจว่า "พองหนอ ยุบหนอ" แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตุ "อาการพอง อาการยุบ" ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตรถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกำหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน

           จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกำหนดอาการพองและอากายุบของท้อง มิใช่การกำหนดลมหายใจเข้า และลมหายใจออกซึ่งอยู่ในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกำหนดวาโยธาติหรือธาตุลมซึ่งอยุ่ในหมวดะาติมนสิการปัพพะ ดังที่รพะพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฎฐานสูตรว่า "ภิกษุพิจารณาดุกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยุ่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม

        การกำหนดพอง-ยุบเป็นธาตุกรรมฐานนั้น ต้องรู้ความเป็นมาว่ามีธาตุอะไรมาเกี่ยวข้องคือ ธาตุ ๔ มีที่มาในมหาสติปัฐานสูตรทางสู่นิพพาน กล่าววา "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกอยางหนึ่งคื อภิกษุพิจารณากายนี้แหละตามที่ตั้งอยุ่ ตามที่ดำรงอยุ่ โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มีอยุ่ในการนี้

        หมวดที่ชื่่อว่า ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาธาตุหรือ จตุธาุววัตถาน คือการกำหนด ธาตุ ๔ หรือธาตุกรรมฐานคือ กรรมฐานที่กำหนดธาติ คำว่า ธาตุ แปลว่า สภาวะ คือ สภาพที่ว่างเปล่าไม่ใช่บุคคลตัวเราของเรา ธาตุในทางธรรมนั้นเป็นาภวธรรม ไม่ใช่สมมุติบัญัติซึ่งใช้สื่อสารกันจนเขาใจกันว่า เป็นก้อนอัตภาพมนุษย์ การพิจารณาธาตนี้มีประโยชน์เพื่อให้ละวางความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน ดดยให้เข้าใจว่ามีเพียงธาตุเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา บุรุษ หรือสตรีิธาตุดังกล่าวไม่ใช่ธาตุทางเคาีร้อยกว่าชนิดในจักรวาล หรือธาตุที่อาจถูกสงเคราะห์ขึ้นด้วยมือของมนุษย์

            โดยการตามรู้สภาวะพองยุบของท้องที่สอนกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น จัดเป็นธาตุกรรมฐาน เพราะสภาวพองยุบเป็นลักษระตึงหย่อนของลมในทองนอกลำไส้ที่เรียกว่ากุจฉิยสยวาโย ความจริงลมหายใจที่สูดเข้าไปในปอดมิได้เคลื่อนไปในท้องดังที่เข้าใจกัน โดยทั่วไปดังนั้น สภาวะพองยุบจึงเป็นลมในท้องที่มีอยุ่เดิม และเป็นอารมณืกรรมฐานอย่างหนึ่งตามหลักกายานุปัสสนา

          ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง ๔ จะปรากฎอาการใหรู้เป็นปัจจุบันธรรมตัวอย่างในอิริยาบทนั่ง ร่างกายของโยคีจะมลักาณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยุ่ได้ในอิริยาบทนี้ด้วยอำนาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถุกอันจนแน่นด้วลม จนมีลักาณะพองและตึง ความแข็งหรือความอ่อน คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรุ้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่่น หรือความร้อน คือธาตุไฟที่ปรากฎออกมาการที่ท้องหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเกาะกุมกันมีรูปร่างเฉาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหน้าท้อง การเกาะกุม เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ำ สวนอาการหรือการเคลื่อนไหว ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณืของธาตุลม..

         บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ เรือง "ศึกษาหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบพอง-ยุบตามแนวทางปฏิบติของพระโสภณมหาเถระ" โดย พระครูปลัดสุนทร สุนฺทโร (แซ่เตียว) 

        

คำสำคัญ (Tags): #พองยุบ
หมายเลขบันทึก: 644857เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท